ต้นกก เป็นไม้ล้มลุก พบแพร่พันธุ์กระจายอยู่ทั่วโลก มีอยู่ประมาณ 4,000 ชนิด เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ ในหนอง คลอง บึง นาลุ่มที่มีน้ำขัง รวมถึงในดินโคลนหรือดินเหนียว หลายประเทศ จัดประเภทต้นกกเป็นวัชพืช
ชื่อสามัญ Umbrella plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyperus involucratus Rottb.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cyperus alternifolius L. subsp. flabelliformis (Rottb.) Kuk.
ชื่อวงศ์ : CYPERACEAE
ชื่ออื่นๆ : กกต้นกลม, กกขนาก, หญ้าลังดา, กกดอกแดง,กกลังกา
ลักษณะทั่วไป : เป็นพืชล้มลุกอายุหลายฤดู มีลำต้นใต้ดิน เจริญเติบโตเป็นกอ ลำต้นเหนือดินมีลักษณะเป็นก้านแข็งกลม สูงประมาณ 1.2-2.4 เมตร ใบมีขนาดสั้นแผ่เป็นกาบหุ้มส่วนโคนของลำต้น ดอกออกเป็นช่อกลมสีน้ำตาลแดงที่ปลายยอด มีใบประดับที่ปลายลำต้นเป็นเส้นกลมเล็กยาว 12-24 ซม. ห้อยโน้มลง 50-100 เส้น
ต้นกก มีรูปร่างคล้ายกับต้นหญ้ามาก โดยเฉพาะส่วนใบ จนแยกกันไม่ออก จนหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าคือต้นหญ้า แต่ลักษณะที่แตกต่างกันคือส่วนของลำต้นกก จะตันกว่า และมีลักษณะคล้ายรูป 3 เหลี่ยม เห็นเป็น 3 มุมชัดเจน และต้นกกบางชนิด จะมีลักษณะคล้ายกับมีผนังกั้นแบ่งเป็นห้องๆ นอกจากนี้ ยังมีจุดเด่นคือ จะไม่แตกกิ่งก้านเหมือนกับต้นพืชชนิดอื่นๆ แต่จะเรียงตัว แล้วอัดกันแน่นอยู่รอบโคนต้น ที่สำคัญต้นกกมีเส้นใยที่เหนียวทนทาน สามารถนำไปใช้ทอเป็นเสื่อ หรือกระเป๋า ได้อีกด้วย
กกนั้นมีรูปร่างลักษณะและนิเวศวิทยาเหมือนหญ้ามาก มีลักษณะที่แตกต่างจากหญ้าคือ กกมักมีลำต้นตัน (solid) และเป็นสามเหลี่ยมหรือสามมุม (three-amgled) บางชนิดมีผนังกั้นแบ่งเป็นห้องๆ (septate) มีกาบใบอยู่ชิดกันมาก และที่สำคัญคือเกือบไม่มีลิ้นใบ (ligule) บางชนิดไม่มีเลย ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของกกคือ ดอกแต่ละดอกจะมี glume ห่อหุ้มหรือรองรับเพียงอันเดียว กกมีไหล (rhizome) เลื้อยไปใต้ดินและจากไหลก็จะแตกเป็นลำต้นเรียกว่า culm ที่ตัน (solid) โผล่พ้นขึ้นมาเหนือดิน และเมื่อผ่าลำต้นดูตามขวาง (cross-section) จะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมหรือสามมุมดังได้กล่าวมาแล้ว ลำต้นกกจะไม่แตกกิ่งเหมือนพืชชนิดอื่น ใบของกกเหมือนกับใบของหญ้า แต่จะเรียงตัวอัดกันแน่นเป็นสามมุมหรือสามตำแหน่งรอบโคนต้นและมีกาบ (sheath) ห่อหุ้มลำต้นและไม่มีลิ้นใบ (ligule)
ช่อดอกกกจะเกิดที่ปลายลำต้นเป็นหลายแบบ เช่น panicle, umbel หรือ spike และมีดอกขนาดเล็กเป็นทั้งดอกที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์เพศ โดยมีดอกรวมเรียกว่า spikelet ซึ่งประกอบด้วยดอกย่อย (floret) หนึ่งหรือหลายดอก แต่ละดอกมี glume หรือริ้วประดับ (bract) รองรับ ส่วนกลีบดอกหรือ perianth นั้นไม่มีหรืออาจมีแต่เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นเกล็ด (scale) หรือขนแข็งเล็กๆ (bristle) ในดอกกกจะมีเกสรเพศผู้ (filament) แยกกันอยู่ ส่วนเกสรเพศเมียจะมีก้านแยกเป็นสอง-สามแฉก หรือบางครั้งแยกเป็นสอง-สามเส้น และมีรังไข่อยู่เหนือกลีบดอก (supreior) ภายในมีห้องเดียวและมีหนึ่งเมล็ด
สรรพคุณ : ลำต้น ทำลายดีอันผูกไว้ซึ่งพิษ ขับน้ำดีให้ตกลำไส้ ใบ ฆ่าแม่พยาธิ ซึ่งเป็นตัวนำเชื้อโรคทั้งหมด ดอก แก้โรคในปาก เช่นปากเปื่อย หรือปากซีด ราก เป็นยาแก้ช้ำภายใน ขับเลือดเสียออกจากร่ากาย หัว เป็นยาแก้เสมหะเฟื่อง แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ และ ทำให้อยากอาหาร
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น, ใบ, ดอก, ราก, หัว
ประโยชน์
หลายชนิดใช้เป็นอาหารเช่น Eleocharis toberosa และ Scirpus toberosus และหลายชนิดใช้สานเสื่อทำกระจาด กระเช้า หมวก เช่น Scirpus mucronatus, Lepironia mucronata, Carex brizoides
การขยายพันธุ์ : กกลังกา เป็นพันธุ์ไม้มักจะขึ้นตามบริเวณที่ ๆ เป็นโคลนหรือน้ำ เช่นข้างแม่น้ำ ลำคลอง สระ หรือบ่อน้ำ มีการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ
การปลูกต้นกก
การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูก
การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวกก จะต้องตัดเมื่อกกไม่อ่อนหรือแก่เกินไป จะได้กกที่มีความทน มีคุณภาพดี ถ้ากกแก่ หรืออ่อนจนเกินไป เมื่อนำไปทอเสื่อจะทำให้เส้นกกขาด เสื่อที่ทอได้จะไม่สวย กกจะสวยงาม และโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 60-70 วัน การตัดกกให้สังเกตจากสีของดอกกก กกอ่อนดอกจะเป็นสีขาวหรือสีเหลือง กกแก่จะเป็นสีน้ำตาลแก่หรือสีเกือบดำและตามลำต้นจะมีจุดผุด่างดำ กกที่เหมาะสำหรับทอเสื่อควรตัดขณะที่ดอกมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาล ดอกกำลังบานเต็มที่ ส่วนมากจะใช้เคียวเกี่ยว จะตัดลำต้นจนติดกับพื้นดินให้เหลือตอสั้นที่สุด ขณะเก็บเกี่ยวนั้น นิยมกำจัดวัชพืชไปด้วย เพื่อใช้หน่อกกโตขึ้นมาได้อีก เมื่อตัดกกเรียบร้อยแล้วก็ตัดส่วนใบทิ้งไป
การคัดกก
วัดขนาดของลำต้นกกก่อนทำการตัด ขนาดที่ใช้อาจเป็น 5 คืบ 6 , 7 , 8 , 9 , 10 คืบ ตามแต่ขนาดของเสื่อที่จะทอ กกที่มีความยาวเต็มที่หรือยิ่งได้ความยาวเท่าไหร่ก็ยิ่งดี หลังจากคัดเลือกแล้วจึงตัดปลายของกกทิ้งเมื่อตัดกกเรียบร้อยแล้วก็ตัดส่วนใบทิ้งไปแล้วนำไปแยกขนาดตามความยาวของลำต้นกกก่อนทำการตัดขนาดที่ใช้อาจเป็น 5 , 6 , 7 , 8 , 9 , 10 คืบ ตามแต่ขนาดของเสื่อที่จะทอ กกที่มีความยาวเต็มที่หรือยิ่งได้ความยาวเท่าไหร่ก็ยิ่งดี หลังจากคัดเลือกแล้วจึงตัดปลายของกกทิ้ง
การจักหรือการซอยต้นกก
การผ่าแบ่งต้นต้นกกให้เป็นเส้น เรียกว่า การจัก เครื่องมือที่ใช้ในการจัก คือ มีด เล็กๆบางๆ ปลายแหลม มีความคมพอประมาณแต่ไม่ต้องคมมากเพราะความคมของใบมีด ขณะกรีดอาจตัดเส้นกกขาดได้ ทำให้เส้นกกไม่สวย ขนาดของเส้นกกที่นิยมใช้กันคือ 1 ลำต้น ต่อ 3-4 เส้น แต่ถ้าเส้นกกมีขนาดเล็กจะใช้ขนาด 2-3 เส้น จะจักเอาเฉพาะเปลือกข้างนอกให้มีเนื้อข้างในติดเล็กน้อย แต่พยายามอย่าให้ถูกน้ำค้างหรือน้ำฝน เมื่อตากแดดแล้วกกจะเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล ก็พร้อมที่จะนำไปย้อมสีให้สวยงามตามต้องการ
การตากแดด
เมื่อจักเรียบร้อยแล้วก็มาถึงขั้นตอนในการตากแดดให้แห้งที่จะสามารถนำไปทอได้
การตากกกในลักษณะต่าง ๆ กัน บางรายใช้กกตากเกลี่ยกระจายไปบนราวไม้ไผ่ในแนวนอน
หรือบางรายตากตามสถานที่ ๆ เป็นลานกว้าง หรือที่ ๆ มีความกว้างใหญ่พอที่จะเกลี่ยกกกับพื้น
ให้ถูกแดดได้อย่างทั่วถึง ควรเลือกสถานที่โล่งแจ้ง ไม่มีแสงแดดรำไรเพราะจะทำให้กกไม่ถูกแดด
อย่างทั่วถึง จะเกลี่ยกกให้กระจายทั่ว ๆ ให้ถูกแดดอย่างทั่วถึง ถ้าแดดแรง ตากประมาณ 4 – 5
วันก็ใช้ได้ ตากจนกกเปลี่ยนสีออกเหลือง แห้งสนิท เมื่อตากแดดแห้งดีแล้วก็นำมารวบไว้ตามขนาด
มัดเป็นกำ ๆ เก็บรวบรวมไว้ พร้อมที่จะนำไปย้อม
การทอเสื่อกก
ขั้นตอนการผลิต
ขั้นตอนที่ 1 การสอยต้นกก
ขั้นตอนที่ 2 การย้อมสี
ขั้นตอนที่ 3 การทอเสื่อกกลายมัดหมี่ ลายถักเปียและลายบา
ขั้นตอนที่ 4 การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกลายต่าง ๆ
ป้ายคำ : จักสาน