กรดน้ำขึ้นได้ดีในทุกภาค มักขึ้นบริเวณข้างทางที่รกร้างทั่วไป ได้รับความนิยมเพราะมีสรรพคุณทางยา อย่างใบแก้เรื้อน ขับพยาธิ ต้นแก้ลำไส้อักเสบ ผื่นคัน พิษไข้ ดอกแก้พิษฝี ผลแก้เหงือกบวม ปวดเมื่อย รากขับปัสสาวะ ปวดศีรษะ เป็นต้น
ชื่อสามัญ Sweet Broonweed,Macao Tea
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scriparia dulcis Linn.
วงศ์ SCROPHULARIACEAE
ชื่ออื่น กรดน้ำ กระต่ายจามใหญ่ กัญชาป่า มะไฟเดือนห้า (กรุงเทพฯ), ขัดมอนเทศ (ตรัง), ขัดมอนเล็ก หนวดแมว (ภาคกลาง), ข้างไลดุ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ตานซาน (ปัตตานี), เทียนนา (จันทบุรี), ปีกแมงวัน ผักปีกแมลงวัน (กาญจนบุรี), หญ้าจ้าดตู้ด หญ้าหัวแมงฮุน (ภาคเหนือ), หญ้าพ่ำสามวัน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), หูปลาช่อนตัวผู้ (ตราด), ต้อไม้ลัด (สิงห์บุรี), หญ้าขัดหิน ยูกวาดแม่หม้าย (ภาคเหนือ)
ลักษณะ
กรดน้ำ เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหลี่ยม ขอบใบจักเหมือนฟันเลื่อย ใบเล็กสีเขียวปลายใบแหลม ดอกสีขาวเป็นกระจุกออกตามซอกใบ ผลรูปทรงกลมพอแก่จะแตกออกมีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมาก
กรดน้ำเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูง 25 – 80 ซม. ใบเดี่ยวรูปไข่ เล็กยาว 2-5 ซม. สีเขียวเข้ม ขอบหยักฟันเลื่อย ออกตรงข้ามกัน เป็นเกลียวรอบกิ่ง ดอกเดี่ยวเล็ก สีขาว กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ผลกลม เมื่อแห้งจะแตกออกขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ใบและลำต้นมีสาร amellin ซึ่งในอินเดียใช้แก้โรคเบาหวานได้ ในฟิลิปปินส์ดื่มน้ำต้มจากรากแก้ไข้และขัดเบา น้ำชงจากใบใช้ดื่มแก้อาการผิดปรกติของระบบลำไส้ ในมาเลเซียใช้แก้ไอ
สรรพคุณสมุนไพร
สรรพคุณตามตำรายาไทย
ตำรับยา :
เด็กที่เป็นไข้ให้ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 15 กรัม นำมาต้มใส่น้ำ ใส่น้ำตาลพอมีรสชาติ แล้วกรองเอาน้ำกิน
เป็นผื่นคัน ให้ใช้ลำต้นที่สดตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาทาที่เป็น
ขาบวมเนื่องจากเป็นโรคเหน็บชา ใช้ลำต้นที่สดขนาด 30 กรัม แล้วเอากินทุกเช้า-เย็นหลังอาหาร
เป็นหัด ให้ใช้ลำต้นที่สด ต้มแล้วกรองเอาน้ำกินติดต่อกัน 3 วัน
ลำไส้อักเสบ ปวดท้อง ปัสสาวะขัด ใช้ลำต้นขนาด 15-30 กรัม ต้มให้เดือดแล้วเอาน้ำกิน
มีอาการเจ็บคอ ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 120 กรัมตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำผึ้ง รับประทาน
ไอ ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 30-60 กรัม ต้มให้เดือดแล้วเอาน้ำรับประทาน
ข้อมูลทางคลีนิค :
ให้คนป่วยที่เป็นโรคเบาหวานทานอะเมลลิน (amellin)(สารที่สกัดจากลำต้นกรดน้ำที่สดในขนาด 15-20 มิลลิเมตรต่อวัน) ในระยะเวลา 30 วันจะช่วยลดน้ำตาลในโลหิตและปัสสาวะปฏิกิริยาในการลดจะลดลงที่ละน้อยคุณภาพ ของยาห่างจาก อินซูลิน(insulin)ทั้งนี้เพราะยานี้ไม่ทำให้ปริมาณน้ำตาลในโลหิตลดต่ำกว่า เดิมอะเมลลินจะช่วยลดธาตุเหล็กในเซรุ่มช่วยเพิ่มสภาพด่างในร่างกายของคนไข้ ที่เป็นโรคเบาหวานเพิ่มระดับในเม็ดโลหิตแดง และอะซีโตนโตนบอดีส์(acetone bodies) ในโลหิตจึงช่วยรักษาคนที่เป็นโรคเบาหวานที่มีอัลบูมิน(albumin) คีโตน(ketone)ในปัสสาวะ และที่มีอาการโลหิตจาง จากนั้นยังช่วยลดไขมันในบาดแผลให้หายเร็ว
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา :
น้ำที่คั้นหรือสารที่ได้จากการสกัดจากราก (สารเคมีในรากกรดน้ำมี tannin,d-mannitol, hexacosanol และ B-sitosterol) และจากลำต้น(สารเคมีในลำต้นกรดน้ำมี:dulciol, dulcioic acid, iffaiionic acid, sitosterol, betulinic acid,friedilin, amellin, scoparol, benzoxazolinone, glutinol, -amtrin,tritriacontane, dulcioloneและอัลคาลอยด็)นั้นเมื่อนำมาทดสอบกับสัตว์มีผลต่อร่างกายของมัน เช่นลดการเกร็งตัว การเคลื่อนไหวลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ของกระต่ายกระตุ้นหัวใจของคางคก และมีผลเล็กน้อยในการกระตุ้นมดลูกของหนูขาวแต่จะไม่มีผลต่อกล้ามเนื้อลาย หน้าท้องคางคก และลำไส้เล็กส่วนปลาย(ileum)ของหนูตะเภาแต่เมื่อนำมาฉีดเข้าในหลอดเลือดของ แมวแล้วจะลดความดันเลือดให้ลดลงลดการหายใจ สารที่สกัดจากแอลกอฮอล์จะไม่มีพิษเลยแต่สารที่สกัดจากน้ำจะมีพิษต่อหนูถีบ จักร
ป้ายคำ : สมุนไพร