กระจูดเป็นพืช ตระกูลเดียวกับ กก เป็นวัชพืชที่เจริญเติบโตง่าย และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว พบมากแถบภาคตะวันออก และภาคใต้ของประเทศไทย ลำต้นของกระจูดมีลักษณะกลมกลวง มีข้อปล้องภายในคล้ายลำไผ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1/85/16 นิ้ว ความสูงประมาณ 13 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเผ่าพันธุ์และสภาพแวดล้อม
ชื่อไทย : กกกระจูด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lepironia articalata
ชื่อวงศ์ : CYPERACEAE
ลักษณะทั่วไป :
กกกระจูด เป็นพืชน้ำจำพวกกกชนิดหนึ่ง แหล่งที่มาพบมากอยู่ทางหมู่เกาะมาดากัสการ์ มาริเซียส ลังกา สุมาตราและแหลมมลายู ในประเทศไทยจะมีทางภาคใต้และภาคตะวันออก ปลูกตามหนองบึง หรือบริเวณที่มีน้ำขัง หรือที่เป็นดินโคลนชื้นแฉะหรือที่เรียกว่า พรุ ลำต้นกระจูดคล้ายกับต้นกกที่ใช้ทอเสื่อ แต่กกกระจูดจะมีลำต้นกลมกว่าสีเขียวอ่อน และข้างในกลวง เมื่อโตเต็มที่จะสูงประมาณ 2 เมตร ออกดอกเป็นกระจุกแน่นคล้ายดอกกระเทียมที่ข้างลำต้นใกล้ยอดกระจุกหนึ่ง แต่มีช่อดอกปลายลำต้นอีกหนึ่งช่อซึ่งมีใบเล็กประกอบช่อด้วย ก่อนนำกกกระจูดมาสานต้องนำมาทุบให้แบนเสียก่อน
กระจูดเป็นพืชน้ำล้มลุก ลำต้นอยู่ใต้ดิน เป็นเถายาวเลื้อยแตกแขนงออกไปเรื่อย ๆ เรียกว่า ไหล ลำต้นที่งอกเหนือพื้นดินเป็นลำต้นเทียมมีสีขาว ลักษณะชะลูด สูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นกลมจะมีขนาดแท่งดินสอ ภายในกลวงมีเยื่ออ่อนยุ่นเป็นแผ่นบางคั่นเป็นข้อๆ เป็นระยะ โคนลำหุ้มด้วยกาบ 2-3 ส่วนบนสุดของต้นเทียม ออกดอกแน่น ลักษณะเป็นกระจุก มีสีน้ำตาล เมื่อแห้งจะเหนียวทนเก็บไว้ได้นาน
ต้นกระจูดมี 2 ชนิด คือ จูดใหญ่ และจูดหนู จูดใหญ่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก ส่วนจูดหนูมีลำต้นเล็กและสั้น ความเหนียวน้อยกว่ากระจูดใหญ่ โดยทั่วไปราษฎรทางภาคใต้ใช้กระจูดในการสานเสื่อ ทำใบเรือ ทำเชือกผูดมัด และทำกระสอบบรรจุสินค้าเกษตรและสิ่งของอื่น ๆ กรรมวิธีสานเสื่อจูดนั้นจะแตกต่างจากการสานเสื่อทั่วไป คือ ชาวบ้านจะนำต้นกระจูดมาคลุกดินขาวก่อนตากแดดให้แห้งแล้วจึงทุบต้นกระจูดให้แบนเพื่อให้มีความนิ่ม หากต้องการให้มีสีสันก็นำไปย้อมสีก่อนนำมาสาน.
ประโยชน์ :
นิยมนำมาตากแห้งใช้ทอเสื่อและทำผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่น กระเป๋า เครื่องใช้ต่างๆ
ต้นกระจูด เมื่อถอนไปใช้แล้ว ก็จะแตกต้นใหม่ขึ้นมาแทนที่หมุนเวียนกัน ทให้ใช้ประโยชน์ได้ตลอดทั้งปี ก่อนที่จะนำกระจูดไปสานเสื่อหรือทำผลิตภัณฑ์ใด ๆ นั้น จะต้องนำไปฝึ่งแดดให้แห้งสนิท แล้วจึงทุบให้แบนด้วยสากตำข้าวหรือบดด้วยล้อขนาดใหญ่ หากต้องการให้มีสันสันก็ต้องนำไปย้อมสีก่อนนำมาสาน ปัจจุบันผลิตภัณฑ์กระจูดมีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปจะนิยมเอาลำต้นกระจูดมาสานเสื่อปูรองนั่งที่เรียกกันว่า ‘เสื่อกระจูด’ หรือ ‘สาดกระจูด’ การสานเสื่อกระจูดโดยทั่วไปนิยมสานลวดลาย มาตรฐาน คือ ลายขัดสอง หรือลายขัดสาม นอกจากนั้นก็มีการพัฒนาดัดแปลงลวดลายการสานออกไปอีก เช่น ลายลูกแก้ว ลายดาวล้อมเดือน ลายดอกจัทนทร์ ลายก้านต่อดอก ลายโคม ลายแก้วเนื่อง ลายแก้วบ้านดอน ลายตัวหนังสือ เป็นต้น นอกจากนั้นยังสายกระเป๋าเครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ทำใบเรือ ทำเชือกผูกมัด และที่ใช้กันมากคือ ทำกระสอบหุ้มห่อวัตถุต่าง ๆ กระสอบกระจูนี้ถือกันว่ามีคุณภาพดีกว่ากระสอบที่ทำจากต้นกกหรือพืชชนิดอื่น ๆ นิยมใช้กระสอบจูกใส่เกลือ ข้าวเหลือก ข้าวสาร ถ่านไม้ และอื่น ๆ อีกมาก นอกจากนี้ยังได้มีการสนกระจูดเป็นสินค้าที่ระลึกอื่น ๆ อีกมากมาย อาทิ กระเป๋าถือ ซองใส่นามบัตร ฯลฯ
การจักสานกระจูด จังหวัดนครศรีธรรมราช
วัสดุ
วัสดุที่ใช้ในการจักสานกระจูดประกอบด้วย
การใช้องค์ความรู้
การจักสานกระจูด แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การเตรียมต้นกระจูดและการจักสาน
(1. ) การเตรียมกระจุด มีขั้นตอนและวิธีการเตรียมกระจูด ดังนี้
1.1 การเลือกต้นกระจูด เลือกต้นที่ไม่แก่จัด ไม่อ่อนเกิน เลือกลำต้นยาว เพราะยำไปจักสานได้ปริมาณมากว่าลำต้นสั้น เมื่อเลือกได้ต้นตามต้องการแล้ว ถอนกระจูด โดยใช้มือสองข้างโอบกระจูดเข้าหาตัวผู้ถอดแล้วดึงขึ้นเรื่อย ๆ ห้ามกระตุกเพราะจะทำให้ลำตันขาดและแตกง่าย แล้วนำลำต้นมามัดเป็นกำ หนึ่งกำมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ฟุต การมัดจะต้องคัดแยกกระจูดหรือเรียกว่า โช๊ะจูด ให้กระจูดมีขนาดความยาวเท่ากัน
1.2 การคลุกกระจูด เมื่อมัดกระจูดตามขนาด เป็นกำแล้วนำไปคลุกกับดินโคลนสีขาวเพื่อทำให้กระจูดมีสีขาวนวล ใช้เท้าเยียบเพื่อให้โคนเข้าถึงทุกส่วน แล้วนำไปผึ่งแดดประมาณ 2 – 3 วันโดยการนำกระจูดมากระจายออกเป็นแนวนอน เรียกว่า ตากแบบรายเห ซึ่งทำให้กระจูดแห้งเร็ว ถ้ากระจูดขนาดสั้น จะนิยมตากเป็นรายจอบ ซึ่งเป็นแนวตั้ง
1.3การรีดกระจูดนำกระจูดที่ตากแห้งแล้ว มาตากน้ำค้าง 1 คืน เพื่อให้กระจูดลื่น ในสมัยก่อนจะตำกระจูดด้วยสากไม้ ปัจจุบันใช้ลูกกลิ้งคอนกรีตทับจนกระจูดเรียบ หรือบางคนใช้เครื่องจักรรีดยางแผ่นลูกกลิ้งเรียบ มารีดกระจูดทำให้รีดกระจูดได้รวดเร็วกว่าวิธีอื่น
1.4 การย้อมสีกระจูด เพื่อให้กระจูดได้สีตามสีต้องการ โดยนำกระจูดที่รีดแล้วมาย้อมสี ใช้พาชนะปากกว้างต้มน้ำให้เดือด เติมสีและเกลือ พอเดือด นำกระจูดมาพับจุ่มแช่น้ำสี 2 – 3 นาที แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง
(2.) วิธีการจักสานกระจูด มีขั้นตอนดังนี้คือ
2.1 การวางเรียงต้นกระจูดที่รีดแล้ว จะต้องให้ปลายกับโคนต้น วางสลับกันเพราะถ้าไม่สลับจะทำให้ผลิตภัณฑ์เสียรูปทรงได้
2.2 การวางลวดลาย ผู้จักสานจะต้องวางเรียงต้นกระจูดสีฟื้น และสีอื่น ๆ ตามที่คิดไว้ ลวดลายที่ใช้ในการจักสานจะทำให้เสื่อกระจูดสวยงามและบ่งบอกถึงภูมิมิปัญญาของผู้จักวสาน การวางตอกกระจูดจึงวางตามลวดลาย เช่น ลายสอง ลายสาม สายสี่ ลายลูกแก้ว ลายดอกพิกุล เป็นต้น แต่ลายที่นิยมมากที่สุดคือ ลายสอง
2.3 การสาน เริ่มต้นสานจากริม คือ จากปลายตอกด้านใดด้านหนึ่งไปจนสุดอีกด้าน ตามลวดลายที่ผู้สานต้องการ แต่ผลิตภัณฑ์กระสอบนั่งจะเริ่มจักสานจากกึ่งกลางของตอก ผู้จักสานส่วนใหญ่จะใช้ท่านั่งขัดสมาธิ หรือนั่งชันเข่าข้างเดียว
2.4 การตกแต่ง หลังจากเสร็จแล้ว จะต้องเก็บหรือพับริม และตัดหนวดปลายตอกที่เหลือออก จะพับริม 2 แบบคือพับกลับและแบบช่อริม โดยพับปลายตอกเข้าหาผืนเสื่อ แล้วสานตามลายสานเดิมประมาณ 4 นิ้ว แล้วตัดปลายตอกที่เหลือออก
องค์ความรู้
ป้ายคำ : จักสาน