กระถางแก้มลิง หรือ กระถางอุ้มน้ำ คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดการใช้น้ำของเกษตรกรในช่วงฤดูร้อน กระถางแก้มลิงนี้ สามารถลดการใช้น้ำได้นานถึง 1-2 สัปดาห์ ทำให้เกษตรกรไม่ต้องกังวลเรื่องการรดน้ำต้นไม้
ตัวกระถางฯ ยังถูกออกแบบให้สามารถรองรับน้ำได้ในปริมาณมากด้วย ซึ่งหากฝนตกหนัก น้ำจะสามารถระบายออกตรงรูระบายน้ำข้างกระถางได้ ทำให้น้ำไม่ท่วมต้นไม้ในกระถาง
ครั้งแรกที่ประดิษฐ์กระถางนี้ขึ้นมา เราอิงจากหลักกลไกทางธรรมชาติ โดยนึกถึงระดับน้ำใต้ดิน ซึ่งจะเห็นได้ว่าในบางพื้นที่ไม่ว่าจะแล้งมากขนาดไหน แต่ต้นไม้ก็สามารถยืนต้นอยู่ได้โดยไม่ตาย เพราะบริเวณนั้นมีแหล่งน้ำใต้ดิน เราจึงนำกลไกเหล่านี้มาทำเลียนแบบธรรมชาติ ทำให้เกิดระดับน้ำใต้ดินในกระถางต้นไม้ โดยการเจาะรูข้าง ๆ กระถาง นอกจากนี้ยังมีหินภูเขาไฟที่ใส่ในกระถางเพื่อช่วยดูดซับน้ำ ป้องกันรากเน่า และทำให้รากต้นไม้ชอนไชได้ดีอีกด้วย
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม คือ
ขั้นตอนการทำมีดังนี้
กระถางแก้มลิงถือเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปลูกพืชได้หลายชนิด ซึ่งอาศัยหลักการของน้ำใต้ดิน โดยนำกระถางเปล่าที่ออกแบบให้มีช่องด้านข้างเป็นช่องซึ่งเจาะไว้สูงจากพื้นประมาณ 10 ซม. เพื่อใช้ระบายน้ำออก แล้วนำกระถางที่มีขนาดเล็กกว่าคว่ำลงไปในกระถางใบแรก พร้อมทั้งติดท่อขนาดสูงกว่ากระถางใบแรกนั้นไว้ใส่น้ำหรือดูดน้ำออก จากนั้นใส่หินปิดก้นกระถางใบที่คว่ำเพื่อไม่ให้วัสดุปลูกร่วงลงไปในก้นกระถางใบใหม่ แล้วจึงใส่วัสดุปลูกลงไปจนมิดกระถางใบใน หินนี้อาจเลือกเป็นหินก่อสร้างหรือหินภูเขาไฟ ขนาดไม่ใหญ่มาก แล้วตามด้วยดินปลูกเล็กน้อย นำกิ่งพันธุ์ลงปลูกจากนั้นจึงใส่ดินที่เหลือลงไปจนเต็มขอบกระถาง จากนั้นหาไม้มาค้ำและมัดกิ่งเพื่อป้องกันกิ่งพันธุ์โยกอันอาจทำให้รากขาด สุดท้ายเอาน้ำใส่ทางท่อน้ำจนน้ำไหลออกทางรูระบายน้ำ เสร็จแล้วรดน้ำที่โคนต้น เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ นับเป็นวิธีการปลูกอย่างง่าย ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน เมื่อผิวดินแห้งดินที่แทรกอยู่ระหว่างหินซึ่งแช่น้ำอยู่จะดูดความชื้นจากน้ำทางด้านล่างขึ้นมาใช้
กระถางแก้มลิง ถือเป็นนวัตกรรมที่ได้รับความสนใจอย่างมากในหมู่เกษตรกรและคนทั่วไปที่สนใจการปลูกพืช เพราะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์ ชีวิตคนเมือง ได้อย่างตรงจุด เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะการปลูกพืชโดยใช้กระถางแก้มลิง สามารถปลูกได้ในพื้นที่จำกัดและประยุกต์ใช้กับการปลูกพืชได้หลายชนิด นอกจากนี้ยังดูแลง่าย เพียงรดน้ำครั้งเดียวก็ทำให้ต้นไม้อยู่ได้เกือบเดือน โดยไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อย
อ.นภพล รัตนสุนทร อาจารย์ประจำวิทยาลัยเทคนิคนครนายก ผู้คิดค้นการใช้กระถางแก้มลิงปลูกพืช ได้พัฒนากระถางแก้มลิงรูปแบบใหม่ โดยดัดแปลงต่อยอดจากกระถางแก้มลิงต้นแบบ เพื่อลบจุดด้อยที่มีปัญหา ทำให้กระถางแก้มลิงโฉมใหม่ ใช้งานได้สะดวกมากขึ้น ทั้งนี้ กระถางแก้มลิงรูปแบบเดิม จะนำกระถางเปล่าเจาะรูด้านข้าง เพื่อระบายน้ำและนำกระถางที่มีขนาดเล็กกว่าคว่ำไปในกระถางใบแรก โดยมีท่อเชื่อมต่อเข้าไปในกระถางที่คว่ำอยู่สำหรับใส่น้ำและดูดน้ำออก จากนั้นใส่หินให้ปิดก้นกระถางใบคว่ำพร้อมใส่ดินปลูกพืชปกติ แต่สำหรับ กระถางแก้มลิงรูปแบบใหม่ จะเจาะรูของกระถางให้ใหญ่ขึ้นและเว้าเข้าไปด้านในเล็กน้อย ไม่ใช้ท่อปัก แต่เปลี่ยนมาให้น้ำจากรูที่เจาะไว้ด้านข้างแทน เพื่อลดปัญหาดินอุดตัน ทั้งยังสามารถมองเห็นระดับน้ำในกระถางแก้มลิง มีประโยชน์ในการควบคุมระดับน้ำ ส่วนด้านในจะมีที่ภาชนะเก็บน้ำหรือเราเรียกว่า แก้มลิง เป็นภาชนะทรงคว่ำไว้ด้านล่างเพื่อกักเก็บน้ำ หินที่ใส่ลงไปมีหน้าที่ชะลอการซึมของน้ำ เมื่อใส่ดินทับลงไปและรดน้ำ ดินจะแทรกตัวลงไปตามซอกหินทำหน้าที่ดูดซับน้ำจากอุโมงค์แก้มลิง เมื่อดินด้านบนขาดน้ำดินข้างล่างจะดูดความชื้นขึ้นมาทำให้ดินไม่แห้ง เมื่อต้นไม้โตขึ้น รากของต้นไม้จะยาวลงไปดูดความชื้นจากน้ำด้านล่าง เสมือนการปลูกต้นไม้ริมแม่น้ำ ทำให้ต้นไม้ไม่ขาดน้ำ หลายคนอาจคิดว่าอุโมงค์น้ำในกระถาง จะทำให้รากเน่าตายได้ แต่ความจริงแล้วการปลูกต้นไม้ลักษณะนี้ ต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้โดยที่รากไม่เน่า สาเหตุเพราะต้นไม้เกิดการปรับตัวในระยะยาว ต่างจากกรณีน้ำท่วมซึ่งต้นไม้จะไม่มีเวลาปรับตัวทำให้รากเน่าตายในที่สุด ที่มาที่ไปของการคิดค้นกระถางแก้มลิง อ.นภพล เล่าว่า การปลูกพืชในกระถางต้นไม้ จำเป็นต้องรดน้ำเป็นประจำ หากไม่มีเวลาหรือลืม ต้นไม้จะเหี่ยวตายได้ ทำให้เกิดความคิดขึ้นมาว่า ทำอย่างไรที่จะทำให้การรดน้ำต้นไม้เป็นเรื่องง่าย หลังจากสังเกตต้นไม้ตามชายทุ่งหรือริมแม่น้ำในหน้าแล้งพบว่าต้นไม้บริเวณดังกล่าวสามารถเจริญเติบโตได้ ทำให้นึกถึงหลักการของน้ำใต้ดิน และเกิดเป็นระบบน้ำใต้ดินในกระถางต้นไม้ที่สามารถทำเองได้ง่ายๆที่บ้าน
ปัจจุบันกระถางแก้มลิงเคลือบดินเผา ขนาดกว้าง8นิ้ว ราคา100บาท, ขนาด16นิ้ว และขนาด22นิ้ว สามารถติดต่อได้ที่สวนเกษตรชีวภาพ สวนพอดี บริเวณข้างวัดหนองทองทราย ต.ดงละคร อ.เมือง จ.นครนายก หรือติดต่อที่ อ.นภพล รัตนสุนทร คลินิกเทคโนโลยีวิทยาลัยเทคนิคนครนายก
ป้ายคำ : ระบบน้ำ