กระทุงหมาบ้ามีชื่อท้องถิ่นที่เรียกกันได้อีกว่า ผักฮ้วนหมู หรือผักฮ้วน เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งและมีอายุหลายปี ลำต้นกลมสีน้ำตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแกมดำเมื่อแก่ ลำต้นมีรอยแตกและมีจุดสีขาวอยู่ที่ผิวของลำต้น ตามลำต้นและใบ ถ้าหักจะมียางสีขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dargea volubilis Benth.ex Hook.
วงศ์ : ASCLEPIADACEAE
ชื่ออื่น ๆ : ผักฮ้วนหมู เครือเขาหมู(ภาคเหนือ); กระทุงหมาบ้า คันชุน สุนัขบ้า(ภาคกลาง); มวนหูกวาง(เพชรบุรี); เถาวัน(ปักษ์ใต้)
ลักษณะ
การขยายพันธุ์ : กระทุงหมาบ้าเป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นตามบริเวณชายป่า ขยายพันธุ์ด้วยปักชำ
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ ผล ราก เถา
นิยมนำส่วนของยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อน มาเป็นผักรับประทานกับอาหารรสจัด ที่ชาวเหนือและชาวอีสานนิยมรับประทานกันเป็นส่วนใหญ่ ผักฮ้วนหมูจะออกยอด่อเนื่องตลอดปี ในช่วงฤดูหนาวจะผลัดใบ และช่วงหน้าร้อนหรือหน้าแล้งจะผลิใบใหม่ ชาวบ้านชอบรับประทานผักฮ้วนหมูในช่วงหน้าแล้ง เพราะรสอร่อยกว่าหน้าฝน ชาวบ้านเล่าว่า หน้าฝนผักฮ้วนหมูจะขมมาก แต่หน้าแล้งจะมีรสขมออกหวาน
นอกจากนี้ยอดอ่อนยังสามารถรับประทานเป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริกหรอืตำมะม่วง จะทำให้รสชาติอร่อย ยอดอ่อน ใบอ่อนและดอกอ่อนนำมาต้มหรือลวกให้สุกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือแจ่ว ป่นของชาวอีสาน สำหรับชาวเหนือนำผักฮ้วนหมูมาแกงกับปลาแห้ง
สรรพคุณของสมุนไพร
ลำต้น ลำต้นกระทุงหมาบ้าแก้โรคตา แก้หวัด ทำให้จาม เป็นสมุนไพรใช้รักษาพิษงูกัด
ใบ แก้แผลที่ถูกน้ำร้อนลวกแก้บวม แก้ฝี วิธีใช้โดยการนำใบสด มาตำให้ละเอียดแล้ใช้ทา
ราก ทำให้อาเจียน ขับพิษร้อน กระทุ้งพิษ พิษฝี พิษไข้หัว ไข้กาฬแก้ปัสสาวะพิการ แก้พิษน้ำดีกำเริบ ช่วยให้นอนหลับ
ผล เป็นยารักษาโรคให้สัตว์
เถา เป็นยาเย็นขับปัสสาวะ
ประโยชน์ด้านอื่น ๆ :
ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน นำมาต้มหรือลวกให้สุกเป็นผักร่วมกับน้ำพริก และนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงกับปลาแห้ง ผักกระทุงหมาบ้า มีรสขมอมหวานมัน ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกายช่วยเจริญอาหาร
ถิ่นที่อยู่ : กระทุงหมาบ้าเป็นพรรณไม้ที่มีขึ้นตามบริเวณป่าดิบ หรือป่าราบ ทั่วไปในประเทศไทย
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน