กระเจี๊ยบเขียวมีสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการคือ มีคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน โฟเลท แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี ๑ วิตามินบี ๒ ไนอาซิน วิตามินซี อยู่ปริมาณพอสมควร แต่บทบาททางสุขภาพที่สำคัญของกระเจี๊ยบเขียวเกิดจาการที่กระเจี๊ยบเขียวมี กลูตาไทโอน (glutathione) ซึ่งถือว่าเป็นราชาของสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านมะเร็งได้ เป็นอย่างดี และยังร่ำรวยใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำ ซึ่งเป็นส่วนของพืชผักที่ร่างกายย่อยไม่ได้และเส้นใยที่ละลายน้ำได้ เพคทิน (pectin) และเมือก (mucilage) ซึ่งเกิดจากสารประกอบ acetylated acidic polysaccharide และกรดกาแลคทูโลนิค (galactulonic acid) ดังนั้น การกินกระเจี๊ยบเขียวจึงช่วยระบบขับถ่าย ระบบดูดซึมสารอาหาร ลดความเสี่ยงโรคแผลในกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลดน้ำตาลและไขมันในเลือด ดังรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป
ชื่อสามัญ Okra, Gumbo, Ladys finger, Quimbamto (อัฟริกา) กระต้าด (แถบจังหวัดสมุทรสาคร, สมุทรปราการ) มะเขือมอญ (ภาคกลาง) มะเขือมื่น (ภาคเหนือ) ถั่วเละ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmochus esculentus L. Moench
สกุล Malvaceae (Mallow family)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชผักยืนต้น อายุประมาณ 1 ปี มีความสูง 40 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร ลำต้น มีขนสั้น ๆ มีหลายสี แตกต่างตามพันธุ์ ใบมีลักษณะกว้างเป็นแฉกคล้ายใบละหุ่ง แต่ก้านใบจะสั้นกว่า ดอกมีสีเหลือง โคนดอกด้านในสีม่วง เมื่อบานคล้ายดอกผ้าย มีเกสรตัวผู้ตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ฝักมีรูปเรียวยาว ปลายฝักแหลม มีทั้งชนิดฝักกลมและฝักเหลี่ยม ซึ่งมีเหลี่ยม 5-10 เหลี่ยม ขึ้นกับพันธุ์ในแต่ละฝักมีเมล็ด 80-200 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมรีขนาดเดียวกับถั่วเขียว เมล็ดอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่มีสีเทา ฝักแก่สีฝักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และจะแตกออกตามแนวรอยสันเหลี่ยมทำให้เห็นเมล็ดที่อยู่ข้างใน
การใช้ประโยชน์
รับประทานผลอ่อนเป็นผัก ทั้งรับประทานผลสด ผลที่ผ่านการปรุงให้สุก ด้วยการต้ม ผัด ต้มซุปหรือปรุงเป็นน้ำปรุงรส สามารถนำผลมาตากแห้งเพื่อเก็บไว้รับประทานได้ ส่วนต่างๆ ของลำต้นมีสารเมือกซึ่งสามารถนำไปใช้ในการผลิตยา เส้นใยจากลำต้นสามารถทำเชือกได้ เมล็ดมีโปรตีนและไขมันมาก
คุณค่าทางอาหาร
ส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 90 กรัม โปรตีน 2 กรัม เส้นใย 1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม พลังงาน 145 กิโลจูล อุดมด้วยแร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด เทียบเท่ามะเขือเทศและมะเขือม่วง มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบ 70-90 มิลลิกรัม
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและคลอเลสเตอรอลสูง
เส้นใยที่ละลายน้ำในกระเจี๊ยบเขียวจะช่วยลดการดูดซึมของคลอเลสเตอรอลและ น้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย และช่วยทำให้ถ่ายอุจจาระได้คล่อง จึงเป็นการช่วยกำจัดไขมันปริมาณสูงที่จับกับน้ำดีอยู่ เป็นผลให้ลดไขมันและคลอเลสเตอรอลได้ คล้ายกับการกินยาลดคลอเลสเตอรอลและไขมันชื่อ สแตติน
ผักสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
สารเมือกหรือเส้นใยที่ละลายน้ำได้ในฝักกระเจี๊ยบเขียว เมื่อลงสู่ลำไส้ใหญ่จะช่วยให้การเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ (พรีไบโอติกแบคทีเรีย) แบคทีเรียที่มีประโยชน์นี้จะช่วยลดปริมาณพิษที่ผลิตโดยบรรดาแบคทีเรียที่ไม่ มีประโยชน์ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
นอกจากนี้สรรพคุณต้านมะเร็งของกระเจี๊ยบเขียวยังเกิดจากสารกลูตาไทโอน สารชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมสารอนุมูลอิสระในร่างกาย การสร้างสารซ่อมแซมเซลล์ และทำปฏิกิริยาขจัดสารพิษที่เกิดในร่างกาย ปัจจุบันยังมีความนิยมที่ใช้สารนี้เพื่อให้ผิวขาวขึ้น (เพราะสารกลูตาไทโอนสามารถกดการทำงานของของเอนไซม์ที่ผลิตเม็ดสีได้ชั่ว คราว)
รักษาโรคพยาธิตัวจี๊ด
ผู้เขียนรู้จักการใช้กระเจี๊ยบเขียวรักษาพยาธิตัวจี๊ดมาตั้งแต่เมื่อครั้ง ยังเป็นเด็ก ราวๆ สี่สิบปีก่อน ญาติที่เป็นโรคนี้มักจะนำกระเจี๊ยบเขียวมาต้มกินเป็นผักติดต่อกันหลายๆ วัน ความรู้นี้เป็นความรู้ที่หมอยาพื้นบ้านไทยทุกภาครู้เหมือนๆ กัน ใช้เหมือนๆ กัน แสดงว่ากระเจี๊ยบเขียวต้องได้รับความนิยมทั้งคนกินและคนรักษา จึงสืบต่อความรู้กันมานาน
โรคพยาธิตัวจี๊ดเกิดจากพยาธิตัวกลมในสกุล Gnathostoma คนเกิดโรคจากการได้รับตัวอ่อนของพยาธิซึ่งอยู่ในเนื้อดิบของกุ้ง ไร เนื้อปลา หมู ไก่ เป็ด กบ เมื่อคนได้รับตัวอ่อนพยาธิเข้าไปถึงระยะหนึ่ง ตัวอ่อนจะไชไปตามบริเวณต่างๆ เช่น ไชไปตามเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังก็เกิดอาการบวมเคลื่อนที่ หรือเข้าสมองก็เกิดสมองอักเสบ เป็นต้น ขณะนี้ยังไม่มียาที่ได้รับการยอมรับว่ารักษาโรคพยาธิตัวจี๊ดได้ผลดี แต่ถ้าไปพบแพทย์ ส่วนใหญ่แพทย์จะจ่ายยาฆ่าพยาธิติดต่อกันนาน ๒๑ วัน มีผู้ป่วยหลายรายที่แพทย์ช่วยทำให้ถ่ายพยาธิออกมาได้ ถ้าป่วยเป็นโรคนี้ก็ควรที่จะไปพบแพทย์และกินกระเจี๊ยบเขียวเป็นผักติดต่อกัน สัก ๒ อาทิตย์ ในประเทศไทยมีรายงานการทดลองพบว่า สารสกัดจากกระเจี๊ยบเขียวด้วยแอลกอฮอล์สามารถลดจำนวนพยาธิตัวจี๊ดในหนูถีบ จักรได้
รักษาโรคกระเพาะ เยื่อบุกระเพาะและลำไส้อักเสบ
สรรพคุณเด่นที่สำคัญในการใช้เป็นยารักษาโรคของกระเจี๊ยบเขียวคือการใช้เป็น ยารักษาโรคกระเพาะและโรคลำไส้อักเสบ ซึ่งโรคนี้ทำให้เกิดอาการท้องผูกกับท้องเสียสลับกัน และยังช่วยรักษาอาการปวดท้องจากแผลในกระเพาะอาหารและแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น ปี ๒๕๔๗ มีรายงานการศึกษาพบว่า สารประกอบไกลโคซิลเลท (Glycosylated Compounds ซึ่งประกอบด้วย polysaccharides and glycoproteins) ในกระเจี๊ยบเขียว มีฤทธิ์ยับยั้งความสามารถของเชื้อแบคที่เรีย Helicobacter pylori ในการเกาะเยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร เจ้าเชื้อแบคที่เรียตัวนี้เองเป็นเหตุสำคัญของการเกิดแผลในกระเพาะ สารไกลโคซิลเลทจะมีฤทธิ์ลดลงเมื่อถูกความร้อน
ยาบำรุงข้อกระดูกของชุมชนมุสลิมภาคใต้
เล่ากันว่าชุมชนมุสลิมในสามจังหวัดสมัยก่อน นิยมกินผักที่เป็นเมือกเพื่อเพิ่มไขมัน หรือเมือกในข้อกระดูก โดยเชื่อว่าจะทำให้หัวเข่า ข้อต่อกระดูก มีน้ำเมือกทำให้ไม่เจ็บ เสมือนเป็นน้ำหล่อเลี้ยงให้กับคนแก่ที่เข้าสู่วัยชรา ดังนั้นคนแก่จะชอบกินผักกูด กระเจี๊ยบเขียวที่มีเมือกนั่นเอง
ยารักษาอาการท้องผูก ช่วยกำจัดสารพิษออกจากลำไส้
กระเจี๊ยบเขียวประกอบด้วยเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำและละลายน้ำ จึงมีคุณสมบัติช่วยในการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเส้นใยที่ละลายน้ำได้จะมีคุณสมบัติในการดูดซับสารพิษแล้วขับถ่ายออก ไปทางอุจจาระ จึงไม่เหลือสารพิษตกค้างในลำไส้ ดังนั้นการรับประทานผลกระเจี๊ยบเขียวเป็นประจำจะช่วยให้ขับถ่ายได้คล่อง สบายท้อง สมองผ่องใส เพราะมีงานวิจัยมาแล้วว่าถ้าผนังลำไส้สะอาดสมองจะผ่องใส
รักษาแผลและผิวหนังอักเสบ
ยางจากผลสดกระเจี๊ยบเขียวจะช่วยรักษาแผลสด เมื่อถูกของมีคมบาดให้ใช้ยางจากฝักกระเจี๊ยบทาแผล แผลจะหายไวและไม่เป็นแผลเป็น ส่วนผลอ่อนของกระเจี๊ยบเขียวมีเมือกลื่นทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นไม่แห้ง ชาวบ้านบางพื้นที่นำผลอ่อนของกระเจี๊ยบเขียวมาพอกผิวหนังที่รู้สึกแสบร้อน
กระเจี๊ยบ ผักรสชาติสากลที่ทุกคนกินได้
กระเจี๊ยบเขียวกินได้ทั้งฝักอ่อน ยอด และราก ในต่างประเทศมีการกินใบกระเจี๊ยบสดเป็นผักสลัด หรือปรุงสุก ส่วนที่นิยมรับประทานคือผลอ่อน ทั้งในรูปแบบของผักสด ต้ม นึ่ง ทอด (ชุบแป้งเทมปุระทอดกินกับซีอิ้ว) ย่าง แกง ผัด ดอง หรือหั่นเป็นแว่นตากแห้งเก็บได้ หรือบดเป็นแป้งก็ได้ ตาดอกและดอกอ่อนรับประทานได้ รากก็กินได้แต่ค่อนข้างเหนียว เมล็ดแก่เรียก grana moschata มีกลิ่นหอมอยู่ในเปลือกหุ้มเมล็ด ให้กลิ่นเมื่อได้รับความร้อนหรือถูกขยี้ เมล็ดคั่วแล้วบดใช้แทนกาแฟในกลุ่มคนดำทางใต้ของสหรัฐอเมริกาแถบมลรัฐเซาต์แค โรไลน่า แป้งจากเมล็ดแก่บดใช้ทำขนมปังหรือเต้าหู้ได้ คนไทยลวกฝักอ่อนจิ้มน้ำพริก หรือใส่ในแกงส้ม แต่ไม่ควรใช้ความร้อนนานเกิน เพราะจะทำลายกลูตาไทโอน (glutathione)
ใบกระเจี๊ยบเขียวยังใช้เลี้ยงวัว ในประเทศอินเดียใช้เมล็ดกระเจี๊ยบเขียวไล่ผีเสื้อเจาะผ้า และบดผสมนมทาผิวหนังแก้คัน นอกจากนั้นแล้วเมล็ดยังให้น้ำมันที่บริโภคได้ร้อยละ ๒๒ อีกด้วย
คนไทยส่วนใหญ่นิยมนำ กระเจี๊ยบเขียวมาจิ้มน้ำพริก นอกจากนี้ยังนำมาทำอาหารได้อีกหลายอย่าง ซึ่งเฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา และคณะ ได้รวบรวมอาหารจากกระเจี๊ยบเขียว อาทิเช่น ยำกระเจี๊ยบเขียว แกงกะหรี่ปลาใส่กระเจี๊ยบเขียว ผัดเมล็ดกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียวชุบแป้งทอด แกงส้มกระเจี๊ยบเขียว แกงเลียงกระเจี๊ยบเขียว แกงจืดกระเจี๊ยบเขียวยัดไส้ ห่อหมกกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียวผัดผงกะหรี่ กระเจี๊ยบเขียวผัดขิงอ่อน สลัดกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบต้มกะทิปลาสลิด ชากระเจี๊ยบเขียว
สภาพแวดล้อม
กระเจี๊ยบเขียวเป็นผักที่ปลูกได้ตลอดปีในประเทศไทย อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกและเติบโตคือ 20-30 องศาเซลเซียส กระเจี๊ยบเขียวขึ้นได้ที่อุณหภูมิต่ำสุด 18 องศาเซลเซียส ซึ่งในอุณหภูมิต่ำจะเจริญเติบโตช้าลง และถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส จะไม่เจริญเติบโตเลย กระเจี๊ยบเขียวเติบโตได้ดี ในดินเกือบทุกชนิด แต่ไม่ชอบดินที่มีน้ำขังแฉะหรือระบายน้ำยากและดินที่เป็นกรดจัด พีเอสควรอยู่ระหว่าง 6.0-6.8
พันธุ์และแหล่งพันธุ์
กระเจี๊ยบเขียวมีพันธุ์ต่าง ๆ มากมายซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งความสูงของต้น ความยาวของฝักและสีฝัก พันธุ์พื้นเมืองเดิมจะมีเหลี่ยมบนฝักมากประมาณ 7-10 เหลี่ยม พันธุ์กระเจี๊ยบเขียวที่ใช้ปลูกเพื่อการส่งออกฝักสด และแช่แข็ง จะต้องเป็นพันธุ์ที่มีฝัก 5 เหลี่ยม สีฝักเขียวเข้ม มีเส้นใยน้อย ลำต้นเตี้ย ผิวฝักมีขนละเอียด ฝักดกให้ผลผลิตสูง ซึ่งพันธุ์ที่ใช้ปัจจุบันได้แก่4. พันธุ์ที่เกษตรกรเก็บพันธุ์เอง ซึ่งต้องทำอย่างถูกวิธีจะมีผลต่อคุณภาพฝักมาก อย่างไรก็ตามพันธุ์ที่จะใช้ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อกำหนดเป็นประการสำคัญ ซึ่งผู้ปลูกต้องทำการตกลงกับผู้ซื้อก่อนปลูก1. พันธุ์ของประเทศไทยปรับปรุงโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลักษณะฝักมีสีเขียวปานกลาง ฝักเมื่อตัดตามขวางเป็นรูปห้าเหลี่ยม ต้นแข็งแรง ผลผลิตสูง ราคาเมล็ดพันธุ์ 50-80 บาทต่อกิโลกรัม พันธุ์เหล่านี้ผู้ส่งออกและแปรรูปสามารถนำไปทดสอบตลาดได้ โดยเฉพาะตลาดยุโรป หรืออื่น ๆ2. พันธุ์ลูกผสมชั่วที่หนึ่ง จากประเทศญี่ปุ่น เป็นพันธุ์ที่มีคุณสมบัติฝักอ่อนที่ตลาดญี่ปุ่นนิยมมาก ลักษณะฝักสีเขียวเข้มมาก ปลายฝักไม่มีจงอยยาว เมื่อตัดตามขวางของฝักเป็นรูป 5 เหลี่ยม ซึ่งมีเหลี่ยมเห็นได้ชัดเจน ต้นแข็งแรง ผลผลิตสูง ราคาเมล็ดพันธุ์แพงมากประมาณ 2,000-5,000 บาทต่อกิโลกรัม3. พันธุ์ผสมเปิดจากต่างประเทศ ได้แก่ เคลมสัน สปายน์เลส ซึ่งฝักกลมป้อมและพันธุ์ดวอร์ฟกรีน สปายน์เลส ซึ่งมีฝักเรียวยาว เป็นพันธุ์ที่มี 8 เหลี่ยม สีเขียวปานกลางใช้ในการแปรรูปบรรจุกระป๋อง
ฤดูปลูก
กระเจี๊ยบเขียวสามารถปลูกได้ตลอดปีในประเทศไทย แต่การปลูกเพื่อส่งออกต่างประเทศ จะปลูกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงพฤษภาคมเท่านั้น เนื่องจากตลาดหลักคือประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถปลูกได้ในช่วงนี้ ญี่ปุ่นจะปลูกกระเจี๊ยบเขียวทางตอนใต้ของประเทศและจะหยุดปลูกในช่วงฤดูหนาวและเริ่มปลูกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ซึ่งผลผลิตจะออกราวเดือนพฤษภาคม การจะเริ่มปลูกเมื่อใดเกษตรกรต้องคำนึงถึงตลาดรับซื้อ ซึ่งจะต้องกำหนดแผนร่วมกันโดยมากจะหยอดเมล็ดราวเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เพื่อเก็บเกี่ยวประมาณตุลาคมถึงเมษายน หรือตามผู้ซื้อต้องการ
ระยะปลูกและเมล็ดพันธุ์ที่ใช้
การปลูกอาจทำได้ทั้งแบบร่องสวนและแบบไร่ โดยทั่วไปใช้ระยะระหว่างต้นและแถว 50 x 50 เซนติเมตร ปลูกจำนวน 1-2 ต้นต่อหลุมอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ = 1 กิโลกรัมเมล็ดกระเจี๊ยบเขียว 100 เมล็ดหนัก 6-7 กรัมเมล็ดหนัก 1 กิโลกรัม = 16,666-14,285 เมล็ด
การเตรียมแปลงปลูกและการปลูก
กระเจี๊ยบเขียวเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ชอบความชื้นมากเกินไป ในกรณีที่ระดับน้ำใต้ดินสูงหรือปลูกในฤดูฝนต้องยกร่องสูง การเตรียมดินมีความสำคัญมาก เนื่องจากระยะเวลาเก็บเกี่ยว ผลผลิตนานถึง 6 เดือน ดินปลูกต้องร่วนซุยไม่แน่น การพรวนดินต้องลึก ใส่อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก มูลเป็ด มูลไก่ ฯลฯ และควรใส่ปูนขาว เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินให้เหมาะสมก่อนปลูกควรคลุกเมล็ด เพื่อป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ เช่น โรคฝักจุดหรือฝักลายโดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเอาเมล็ดพันธุ์มาผึ่งให้แห้งพอหมาดคลุกด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดโรคในกลุ่มของเบนโนมิลและไทแรม เช่น เบนเลทที อัตรา 10 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือสาวในกลุ่มไทอะเบนดาโซน เช่น พรอนโต อัตรา 120 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัมการเตรียมแปลงปลูกและการปลูกแบบไร่คือปลูกในสภาพพื้นที่ซึ่งเคยปลูกอ้อยหรือปลูกข้าวโพดอ่อนไม่มีร่องน้ำ ดินร่วนปนทรายมีการระบายน้ำดี การเตรียมแปลงใช้แทรกเตอร์ขนาดใหญ่ 1-2 ครั้ง แล้วยกร่องไถดิน ตากดิน 3-5 วัน ไถครั้งที่ 2 พรวนดิน แล้วยกร่องด้วยแทรกเตอร์ ยกร่องกว้าง 75 เซนติเมตร (ให้น้ำแบบร่อง) ใช้จอบปรับร่องให้เสมอเพื่อน้ำจะได้เข้าแปลงได้ดี ใช้จอบตีหลุมซึ่งหลุมปลูกจะอยู่ต่ำกว่าขอบแปลงประมาณ 1 คืบ ปลูกแถวคู่ ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ เตรียมหลุมปลูก 8,480 หลุม
การให้น้ำ
กระเจี๊ยบเขียวชอบความชื้นปานกลาง ในช่วงฤดูหนาวและร้อนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้แห้ง โดยเฉพาะในช่วงออกดอก และติดฝักปริมาณการติดฝักจะขึ้นกับการปฏิบัติดูแลรักษาเป็นหลัก มากกว่าขึ้นกับพันธุ์โดยเฉพาะการให้น้ำในช่วงนี้ควรหมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การเจริญเติบของต้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ฝักมีคุณภาพดี และมีปริมาณฝักที่ได้สูง ถ้าขาดน้ำผลผลิตจะต่ำ ฝักเล็กคดงอ ไม่ได้คุณภาพ
การให้ปุ๋ย
เนื่องจากระยะเวลาในการปลูกยาวนานมาก ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงต้องให้เพียงพอจึงจะทำให้ฝักตกและคุณภาพดี ในพื้นที่ที่มีอินทรีย์วัตถุสูง มีความอุดมสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะแปลงที่เคยปลูกผักกินใบมาก่อน ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพราะกระเจี๊ยบเขียวมีพลังดูดซับปุ๋ยสูงมากไวต่อการทำปฏิกิริยากับปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนต้องระมัดระวังมาก ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ต้นเผือใบ ฝักโตเร็วเกินไป เป็นโรคและช้ำง่าย การใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง อาจใช้ในช่วงแรกก่อนติดฝักและหลังจากตัดต้นเพื่อเร่งการแตกกิ่งแขนง อัตราใส่ปุ๋ยโดยปกติ 20 วันต่อครั้ง ปริมาณปุ๋ย 10-25 กิโลกรัมต่อไร่ต่อครั้ง ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งใช้ปุ๋ยประมาณ 75-100 กิโลกรัมต่อไร่ต่อฤดูปลูก ทั้งนี้ขึ้นกับความยาวนานของการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย
อายุการเก็บเกี่ยว
กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชที่โตเร็ว เมื่ออายุได้ 40 วัน จะเริ่มออกดอก หลังดอกบาน 5 วัน ฝักจะยาว 4-9 เซนติเมตร ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตฝักสดได้ มีขนาดและคุณภาพฝักดี คือ ฝักกระเจี๊ยบมีความอ่อนนุ่มมีรสชาด และเนื้อสัมผัสที่ผู้บริโภคพอใจ อ่อน ไม่มีเส้นใยตรงตามที่ตลาดต้องการ ฝักกระเจี๊ยบเขียวโตเร็วมากโดยเฉพาะอากาศร้อนจะเติบโตวันละ 2-3 เซนติเมตร เกษตรกรจึงต้องเก็บเกี่ยวทุกวัน และไม่ควรปล่อยทิ้งฝักที่สามารถตัดได้ให้หลงเหลืออยู่บนต้น เพราะต้นจะต้องส่งอาหารมาเลี้ยง ทำให้ผลผลิตต่ำ เกษตรกรจะสามารถเก็บฝักที่มีคุณภาพดีได้ประมาณ 1 ฝ -2 เดือน ฝักที่แตกยอดจะเริ่มหมดและไม่แข็งแรง สังเกตจะมีกิ่งแขนงออกจากต้น 2-3 กิ่ง ควรตัดต้นทิ้ง เพื่อให้แตกแขนงใหม่ซึ่งสามารถเก็บผลผลิตได้อีกประมาณ 2 เดือน ผลผลิตที่ได้เฉลี่ยตลอดฤดูปลูก 30 กิโลกรัมต่อไร่ต่อวัน หรือประมาณ 3,000-5,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อฤดูปลูก (ก.ย.-พ.ค.) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและความยาวนานในการเก็บผลผลิต
การเด็ดใบ
ในแปลงที่กระเจี๊ยบเขียวเจริญและมีใบมากเกินไป ทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงฝักด้านล่าง ฝักจะมีสีซีด ซึ่งตลาดไม่ต้องการ ควรตัดใบทิ้งบ้างเพื่อให้ต้นโปร่งการเด็ดใบทิ้งจะได้ผลมากในกรณีที่ปลูกแบบแน่นขนัด เพราะช่วยให้อากาศไหลเวียนดีขึ้น ป้องกันการเกิดโรค แมลงรบกวนและง่ายต่อการปฏิบัติการต่าง ๆ ด้วย การตัดใบอาจทำได้โดยสะดวก โดยระหว่างเก็บเกี่ยวให้ตัดใบทิ้งทีละใบพร้อม ๆ กับการตัดฝักทุกครั้ง จนกระทั่งเหลือใบใต้บริเวณที่จะติดผลไว้ต้นละ 2-3 ใบ อย่างไรก็ตามการเด็ดใบมากเกินไป จะมีผลเสียต่อการเจริญเติบโต และทำให้ฝักพองโต การเด็ดใบจึงขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย
การตัดต้น
เมื่อเก็บเกี่ยวได้ 1 1/2 เดือน ผลผลิตจะเริ่มลดลง ควรตัดต้นทิ้งให้แตกกิ่งด้านข้าง ซึ่งจะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี และมีปริมาณมากกว่าเดิม การตัดต้นต้องตัดให้เหลือตาสำหรับแตกกิ่งแขนงด้านข้างหลังจากตัดแล้ว 6-7 ตา ซึ่งมักจะตัดให้เหลือตอสูงประมาณ 50-70 เซนติเมตร จากพื้นดิน หลังจากตัดต้นแล้วควรใส่ปุ๋ยและดูแลรักษาอย่างดี เพื่อให้แตกแขนง การใส่ปุ๋ยในช่วงนี้จำเป็นมากเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นแก่ชรา สามารถปลูกระยะยาวได้
วิธีการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
ฝักกระเจี๊ยบเขียว จะเกิดการเหี่ยวหรือชอกช้ำได้ง่าย เนื่องจากเก็บเกี่ยวในระยะฝักอ่อน มีอัตราการตายใจสูง การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติต่าง ๆ หลังจากเก็บฝักแล้วจึงต้องทำอย่างปราณีตั้งแต่วิธีการเก็บจนถึงการเลือกภาชนะบรรจุหีบห่อ
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน