ต้นกร่าง หรือ ต้นไทรนิโครธ จัดเป็นไม้มงคลตามพุทธประวัติที่พระกัสสปพุทธเจ้า ทรงได้บำเพ็ญเพียรอยู่ 7 วัน และได้ตรัสรู้ ณ ควงไม้นิโครธ จึงมีการนิยมปลูกไว้ตามศาสนสถาน หรือตามวัดวาอารามทั่วไป เพื่อเป็นไม้ให้ร่มเงาและเพิ่มความร่มเย็น แต่จะไม่นิยมปลูกไว้ในบ้านเนื่องจากต้นนิโครธมีขนาดเกินไป
ชื่อสามัญ Banyan Tree Bar East Indian Fig
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benghalensis Linn. (มักเขียนผิดเป็น Ficus bengalensis Linn.)
วงศ์ MORACEAE
ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ นิโครธ หรือ ไทรนิโครธ (กรุงเทพฯ) ภาษาสันสกฤตเรียกว่า บันยัน (Banyan) ในภาษาฮินดูเรียกว่า บาร์คาด (Bargad) ส่วน กร่าง เป็นชื่อเรียกของคนภาคกลางทั่วไป (ส่วนในวิกิพีเดียเรียกว่า ไกร)
ลักษณะของต้นกร่าง
ต้นกร่าง หรือ ต้นนิโครธ เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา และปากีสถาน และได้แพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นตรงขึ้นเป็นพูพอน แตกกิ่งก้านหนาทึบ ลักษณะเป็นเรือดยอดแผ่กว้างปลายกิ่งลู่ลง เปลือกต้นเรียบเกลี้ยง ลำต้นและกิ่งมีรากอากาศห้อยย้อยลงมามากมาย และเมื่อหยั่งถึงดินแล้วจะทำให้เกิดเป็นหลืบสลับซับซ้อน เป็นฉากเป็นห้อง หรือเป็นลำต้นต่อไปได้อีก ทุกส่วนของลำต้นมียางสีขาว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่หนาแน่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด หรือโดยวิธีทางธรรมชาติที่ นก หรือ ค้างคาวจะกินผลแล้วถ่ายมูลที่มีเมล็ดติดอยู่ไปยังที่ต่างๆ หรือจะขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ หรือการตอนกิ่งก็ทำได้เช่นกัน โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิดที่ค่อนข้างมีความชุ่มชื้น
ใบกร่าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบมน บ้างว่ามีติ่งแหลมสั้น โคนใบเรียบหรือโค้งกว้าง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีเส้นแขนงของใบประมาณ 4-6 คู่ ก้านใบอวบ ยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีหูใบหุ้มยอดอ่อน ใบอ่อนมีขนหนามากโดยเฉพาะในส่วนของท้องใบ ส่วนใบแก่ไม่มีขน ใบเมื่อแก่จะร่วงหล่นและมีรอยแผลใบให้เห็นเด่นชัดบนกิ่ง
ดอกกร่าง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อมะเดื่อตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก เจริญเติบโตอยู่ภายใต้ฐานรองดอก ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ภายในดอกประกอบไปด้วยดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยดอกตัวเมียจะอยู่ใกล้กับรูปากเปิด
ผลกร่าง ผลมีขนาดเล็ก และมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร บ้างว่าประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ผลเป็นสีเขียวเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจนถึงสีส้ม และเมื่อแก่ผลจะเป็นสีแดงคล้ำหรือสีเลือดหมู และในแต่ละผลจะมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ประมาณ 2-4 กลีบ
สรรพคุณของกร่าง
ประโยชน์ของกร่าง
แหล่งอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. กร่าง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 89.
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. นิโครธ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [02 ก.พ. 2014].
หนังสืออนุกรมวิธานพืชอักษร ก. ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา).
ผู้จัดการออนไลน์. (29 พฤศจิกายน 2547). โพธิญาณพฤกษา : นิโครธ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [02 ก.พ. 2014].
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง