กล้วย อยู่คู่กับชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบัน สืบต่อคุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคมมาอย่างช้านานทั้งในรูปแบบของอาหารหลากชนิดที่ทำจากกล้วย ข้าวของเครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์แปรรูป ภาชนะหีบห่อ รวมถึงความเชื่อและศรัทธา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยที่รู้จักกันในชื่อว่า กล้วยตานี
ชื่อพ้อง กล้วยป่า กล้วยพองลา กล้วยตานีใน กล้วยชะนีใน กล้วยเมล็ด กล้วยงู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa balbisiana Colla
ลักษณะทั่วไป
กล้วยตานีเป็นกล้วยชนิดหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้นตระกูลของกล้วยที่รับประทานได้ในปัจจุบัน ร่วมกับกล้วยป่า (Musa acuminata) มีลำต้นสูงประมาณ 3.5 – 4 เมตร ผลเครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวี หวีหนึ่งมี 10 – 14 ผล ผลป้อมขนาดใหญ่มีเหลี่ยมชัดเจน ปลายทู่ ก้านผลยาว ผลอ่อนมีทั้งสีเขียวอ่อนและเขียวเข้ม ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน เมล็ดมีจำนวนมาก สีดำ ผนังหนา แข็ง
การใช้ประโยชน์ ใบใช้ทำงานฝีมือ ปลีใช้ปรุงอาหาร (เป็นปลีที่อร่อยกว่ากล้วยใด ๆ) เหง้าใช้ทำแกงคั่วได้ ผลอ่อนใช้ทำส้มตำ ผลแก่ใช้นำมาทำน้ำส้ม
กล้วยพัดสามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และหน่อหรือเหง้า สามารถปลูกในดินทรายหรือดินเหนียว ที่มีการระบายน้ำ และมีความชื้นพอสมควร
การปลูกกล้วยตานี
การเก็บผลผลิต
ผลผลิตหลัก ได้แก่ ใบตอง
เทคนิคการตัดใบตองกล้วยตานีให้มีคุณภาพ
ใช้ขอเกี่ยวกดใบให้เอนขนานกับพื้นแล้วจึงตัดการตัด ตัดช่วงที่ไม่มีน้ำค้างช่วงที่เหมาะที่สุด คือ ช่วง 3 โมง 5 โมงเย็น ถ้ามีน้ำค้างใบจะเปื้อนง่ายช่วง 3 โมง- 5 โมงเย็น ใบกล้วยจะรับแสงมากในเวลากลางวันทำให้ใบอ่อนไม่แตกง่าย การตัดแต่ละครั้งให้เหลือหูใบไว้ประมาณ 15 นิ้ว เมื่อตัดแล้วต้องรีบเก็บโดยให้ตั้งใบตองไว้กับต้น เพื่อป้องกันการไหลของยางกล้วยไปติดใบ
ลักษณะใบตองที่มีคุณภาพ และตลาดต้องการ (เกรด A)
ป้ายคำ : ผลไม้