เหตุที่ชื่อว่ากล้วยหินเพราะกล้วยหินมีเนื้อแน่น เหนียวกว่ากล้วยอื่นๆ แต่ผู้เฒ่าหลายคนบอกว่า กล้วยหินที่พบครั้งแรก มักจะขึ้นบริเวณกรวดหิน 2 ฝั่งลำแม่น้ำปัตตานีซึ่งกล้วยอื่นไม่ชอบขึ้น จึงเรียกกล้วยชนิดนี้ว่า กล้วยหิน สอดคล้องกับคำสัมภาษณ์ นายประพาส เสริมคงอายุ 70 ปี อยู่บ้านบันนังบูโบ เลขที่ 8 หมู่ 3 ตำบลถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เป็นเกษตรกรทำสวนผลไม้ในเนื้อที่ปลูก 20 กว่าไร่ โดยปลูกโดยปลูกทุเรียน ลองกอง มังคุด และแซมด้วยกล้วยหินได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 ท่านเล่าให้ฟังว่า เคยเห็นกล้วยหินที่มีใบใหญ่ หนา และเขียว มาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี พ.ศ 2488 เจริญงอกงามดีในบริเวณหมู่บ้านเรือขุด อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ทางไปเขื่อนบางลาง ในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมบริเวณนี้เคยเป็นเหมืองร้าง (เหมืองแร่ดีบุก) มีลำธารสายใหญ่ หรือแม่น้ำปัตตานีไหลผ่าน พื้นดินมี จึงมีสภาพจึงมีสภาพเป็นกรวดหิน และดินลูกรัง มีกล้วยชนิดนี้ขึ้นอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านเห็นว่ากล้วยชนิดนี้สามารถขึ้นได้ดีในสภาพกรวดหินจึงเรียกว่า กล้วยหิน และเรียกชื่อนี้กันมาจนถึงปัจจุบัน
ลักษณ์ของกล้วยหิน
กล้วยหิน มีลักษณะคล้ายกล้วยน้ำว้า ต้นใหญ่ โคนต้นวัดโดยรอบประมาณ 70 เซนติเมตร
สูง 3.5 5 เมตร กาบด้านนอกสีเขียวนวล ก้านใบค่อนข้างสั้นร่อง ใบเปิด ใบกว้าง 40 50
เซนติเมตร ยาว 1.5 เมตร ปลีรูปร่างค่อนข้างป้อมสั้น รูปร่างคล้ายดอกบัวตูม ด้านนอกของปลีเป็น
สีแดงอมม่วง ด้านในสีแดง เมื่อกาบเปิด จะไม่ม้วนงอ กล้วยหินแต่ละต้นมีผล 1 เครือ โดยจะออก
เครือเมื่อหน่ออายุประมาณ 8 เดือน และเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 12 เดือน หรือหลังจากออกเครือ
ประมาณ 4 เดือน เครือหนึ่ง มี 710 หวี หวีหนึ่งมี 15 20 ผล ผลเป็นรูปห้าเหลี่ยมเปลือกหนา
ค่อนข้างสมบูรณ์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 5 เซนติเมตร ยาว 8 12 เซนติเมตร ผลดิบเปลือก
สีเขียว เนื้อแข็ง เมื่อสุกเปลือกสีเหลือง เนื้อสีขาวอมเหลืองถึงเหลือง แน่นแข็ง ไม่ยุ่ย ปลายจุก
ป้าน เมื่อผลแก่จัดตัดมาเก็บไว้ได้นาน7 8 วัน การเรียง ตัวของผลเป็นระเบียบ มีช่องว่างเล็กน้อยอยู่ระหว่างหวีแต่ละหวี
ข้อดี / ลักษณะเด่นของกล้วยหิน
การปลูกกล้วยหินในจังหวัดยะลา
เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกร่วม หรือเป็นพืชแซมในสวนผลไม้เพื่อเป็นร่มเงาและรักษาความชุ่มชื้นทำให้ไม้ผลที่ปลูกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกองฯลฯ มีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูงกว่า จึงมีระยะปลูกและจำนวนต้นต่อไร่ ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับระยะปลูกของไม้ผลที่เป็นพืชหลัก ระยะลูกมีตั้งแต่ 4 x 4 เมตร ไปจนถึง 8 x 8 เมตร มีจำนวนต้นต่อไร่ ตั้งแต่ 25 ต้น ไปจนถึง 70 ต้น โดยใช้หน่ออายุ 3 4 เดือนปลูก เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกหลังจากปลูกไม้ผลแล้ว1ปี แต่ก็มีบ้างที่ปลูกกล้วยหินพร้อมกับปลูกไม้ผล โดยขุดหลุมขนาด 50 x 50เซนติเมตร ปลูกในมิถุนายน กันยายน ซึ่งเป็นต้น ฤดูฝนและใช้พันธุ์กล้วยหินจากท้องถิ่นตนเอง โดยเลือกหน่อจากต้นที่ออกหวีมากและหวีใหญ่ปลูก หลังจากนั้นก็คอยตัดแต่งใบที่แห้งหักออก และตัดแต่งหน่อให้เหลือไว้กอละ 4 5 ต้น ตัดแต่งปีละ 2 ครั้ง ในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งกล้วยหินไม่มีโรคแมลงรบกวน จึงไม่มีการป้องกันกำจัดศัตรูพืช หลายรายที่ปลูกแล้ว ไม่ทำอะไรเลยไม่ตัดแต่งใบ ไม่ตัดแต่งหน่อ ไม่ใส่ปุ๋ย ไม่ทุกอย่าง รอแต่เก็บเกี่ยวผลผลิต เรียกว่าปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวตลอดไป โดยเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังจากกล้วยหินออกปลีประมาณ 4 เดือน โดยสังเกตใบล่างสุดเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเหลี่ยมของผลกล้วยมนลักษณะเหลี่ยมไม่ชัดเจน เครือหนึ่งมี 7 10 หวี
การปลูกกล้วยหินของเกษตรกรในจังหวัดยะลามีความหลากหลายในวิธีการปฏิบัติ คนเก่าแก่
เขาทำมาอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ไม่มีเทคโนโลยี หรือคำแนะนำที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ทำให้ได้ปริมาณผลผลิตต่อไร่ มีความแตกต่างกันมากระหว่างเกษตรกรแต่ละรายและระหว่างพื้นที่ในตำบล/อำเภอ คำแนะนำต่อไปนี้เป็นการประมวลข้อมูลจากการศึกษาวิจัย และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆที่เกี่ยวกับการปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวผลผลิตกล้วยหิน และปัจจัยอื่น ที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของกล้วยหิน อันจะส่งผลให้การผลิตกล้วยหินดีทั้งปริมาณ และคุณภาพปัจจัยดังกล่าว ประกอบด้วย.-
1. สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
กล้วยหินเจริญเติบโตได้ดีและตกเครือตลอดทั้งปี ในสภาพอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิ 2332 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 30 85 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนประมาณ 2,280 มิลลิเมตรต่อปี การกระจายตัวของฝนค่อนข้างดีมีจำนวนวันฝนตกประมาณ 135 วันต่อปี ตั้งแต่กลางเดือนเมษายน ปลายธันวาคม สภาพพื้นที่ที่มีลมพัดแรง จะทำให้ใบกล้วยฉีกขาดเป็นริ้วมีผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสง รวมไปถึงคุณภาพของผลผลิต กระแสลมแรงอาจทำ ให้ต้นกล้วยหินหักโค่นล้มลงได้โดยเฉพาะในช่วงที่กล้วยหินตกเครือ ส่วนลักษณะของดินที่กล้วยหินเจริญเติบโตได้ดีมีอยู่ 2 ชุด คือ
2. ฤดูปลูก
พื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอจะปลูกกล้วยหินเมื่อไหร่ก็ได้แต่โดยทั่วไปเกษตรกรปลูกกล้วยหินโดยอาศัยน้ำฝน ฉะนั้นส่วนใหญ่จึงปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม กันยายน และพบว่าเมื่อเกษตรกรปลูกในเดือนสิงหาคม กันยายน มีเปอร์เซ็นต์รอดตายสูงมากเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ การปลูกในช่วงต้นฤดูฝนกล้วยหินจะตั้งตัวได้เร็วและแตกยอดอ่อนได้ภายในไม่เกิน 1 เดือน
3. การคัดเลือกพันธุ์
การคัดเลือกพันธุ์กล้วยหินพันธุ์ดีปลูกจะทำให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพมีผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน พันธ์กล้วยหินที่เกษตรกรใช้ปลูก มี 2 ชนิด คือ
สำหรับส่วนต่างๆ ของกล้วยหินที่ใช้ขยายพันธุ์มีตั้งแต่หน่อใบกว้าง หน่อใบแคบ หน่ออ่อน เหง้าและตาเหง้า แต่เกษตรกรนิยมปลูกด้วยหน่อที่มีอายุประมาณ 3 – 4 เดือน ซึ่งเป็นหน่อใบแคบ หรือ หน่อดาบ โดยคัดเลือกจากต้นกล้วยหินที่ให้ผลผลิตดี ผลใหญ่หวีดก
4. การปลูก
โดยการขุดหลุมปลูกขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ทั้งกว้าง ยาว และลึก ตากดินทิ้งไว้ 10 15 วัน จากนั้นจะใช้ปุ๋ยร๊อกฟอสเฟต หรือปุ๋ยหินแดง ครึ่งกิโลกรัมหรือใช้ปุ๋ยคอกเก่า จะเป็นมูลวัว มูลไก่หรือหรือปุ๋ยหมักอื่นๆ สัก 1 บุ้งกี๋ คลุกเคล้ากับดินที่ขุดไว้ปากหลุมกลบกลับคืนไปในหลุมพร้อมกับเอาหน่อกล้วยหินที่เตรียมไว้ลงปลูก โดยวางหน่อพันธุ์ลงหลุมให้ลึกประมาณ 25 เซนติเมตร แล้วกลบดินที่เหลืออยู่ลงไปในหลุมให้เต็มปากหลุม กดให้แน่นพอสมควรและพูนดินบริเวณโคนต้นให้สูงขึ้นมากเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขัง ส่วนระยะปลูกตั้งแต่ 5 8 เมตร คือถ้าปลูกเป็นพืชเดียว ควรใช้ระยะระหว่างแถวและระหว่างต้น 5 6 เมตร แต่ถ้าปลูกแซมหรือร่วมกับไม้ผลก็ควรปลูกระหว่างแถว และระหว่างต้น 7 8 เมตร ปลูกหลุมละ 1 ต้น ก็จะใช้หน่อกล้วยหิน 25 64 หน่อต่อไร่โดยปลูกช่วงต้นฤดูฝน กล้วยหินก็จะเจริญเติบโตได้เร็วโดยไม่ต้องรดน้ำ ในกรณีที่มีพื้นที่ปลูกกล้วยหินเป็นที่ราบในฤดูฝนถ้าหากไม่จัดการให้น้ำระบายได้ดี พื้นที่อาจจะมีน้ำท่วมขัง ทำให้กล้วยหินรากเน่าตายได้ จึงควรปลูกแบบยกร่องก็จะป้องกันปัญหาดังกล่าวได้
5. การใส่ปุ๋ย
โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรปลูกกล้วยหินโดยไม่ใส่ปุ๋ยอาศัยธาตุอาหารจาก ดินในการออกดอกออกผล อีกส่วนหนึ่งก็คงจะได้ธาตุอาหารจากการใส่ปุ๋ยให้กับ ไม้ผลที่เป็นพืชหลักทำให้มีผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 950 หวีต่อไร่ต่อปี ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก 3 บุ้งกี๋ต่อกอ จะได้ผลผลิต ประมาณ 1,200 หวีต่อไร่ต่อปี โดยใส่ก่อนหรือหลังฤดูฝน โดยวิธีขุดหลุมหรือหว่านบริเวณในทรงพุ่ม สำหรับกล้วยหินที่ปลูกใหม่ควรใส่ปุ๋ย เมื่อกล้วยอายุได้ประมาณ 5 6 เดือน
6. การตัดแต่งหน่อ
เนื่องจากกล้วยหินแตกหน่อจำนวนมากโดยจะเริ่มแทงหน่อใหม่เมื่อปลูกกล้วยหินได้ประมาณ 5 6 เดือน แต่ละกอไม่ควรไว้หน่อเกิน 4 ต้นเพราะถ้ามีหน่อมากจะทำให้กล้วยหินเครือเล็กลง จึงควรตัดแต่งหน่อปีละ 1 2 ครั้ง พร้อมกับตัดแต่งใบที่แห้งหักลงมาออกเสียด้วย โดยตัดแต่งพร้อมกับการใส่ปุ๋ยในช่วงก่อนหรือหลังฤดูฝน
7. การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูกล้วยหิน
กล้วยโดยทั่วไปมักจะมีโรคและแมลงระบาดทำลายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยสภาพแวด ล้อมหลายอย่าง เช่น
สำหรับการปลูกกล้วยหิน ไม่พบว่ามีการระบาดทำลายของโรค และแมลงดังกล่าวข้างต้นแต่ อย่างใด การปลูกกล้วยหินจึงลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 15 – 20 เปอร์เซ็นต์ เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการซื้อสารเคมี มาฉีดพ่นป้องกันรักษาโรคและแมลงศัตรูพืช
8. การเก็บเกี่ยวผลผลิต
หลังจากปลูกกล้วยหินประมาณ 8 เดือน ก็เริ่มออกปลี ดอกติดผลทีละหวีทยอยติดทุกวัน กาบปลีที่เปิดออกไม่ม้วนงอ ทำให้เห็นกล้วยหวีเล็ก ๆ ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและทยอยสุกจาก โคนเครือสู่ปลายเครือ ใช้ระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ฉะนั้นการเก็บเกี่ยวกล้วยหิน ควรเก็บเกี่ยวหลัง จากกล้วยหินออกปลี 4 เดือน เก็บเกี่ยวเครือที่แก่จัดสังเกตจากสีของผลเป็นสีเขียวเข้ม อาจจะมี จุดสีดำปนเหลือง จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี การปลูกกล้วยหินให้ได้ผลผลิตสูง กล้วยหินมีคุณภาพดี ผลโต เนื้อแน่นไม่ยุ่ย ไม่ติดเปลือก รสชาดอร่อยไม่มีสารเคมีตกค้าง ปลอดภัยต่อการบริโภคจำเป็น ต้องพิถีพิถัน ตั้งแต่การเลือกพื้นที่ปลูก สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมการคัดเลือกหน่อพันธุ์การ การปลูก และการปฏิบัติดูแลรักษารวมไปถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต ในช่วงระยะที่เหมาะสมก็จะได้ผล ผลิตดีทั้งปริมาณ และคุณภาพตามที่ต้องการ
ป้ายคำ : ผลไม้