กล้วยเล็บมือนาง เป็นกล้วยที่มีลำต้นค่อนข้างเล็กไม่สูงมากนัก ออกผลเร็ว ระยะเก็บเผลทุก 7 วัน ผลขนาดเล็ก ปลายผลเรียวแหลม ผลสุกมีสีเหลืองทอง เนื้อแน่น รสชาดหอมหวาน ใช้สำหรับรับประทานสุก และยังสามรถนำมาแปรรูปเป็นกล้วยอบ กล้วยเคลือบช๊อกโกแลท กล้วยฉาบ หวาน เค็ม โดยเเฉพาะที่พ่อตาหินช้าง ทุ่งยางบิด ชุมพร จึงเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศไทยและต่างประเทศ และเป็นของฝากประจำจังหวัด และมีราคาที่ไม่แพงสำหรับเป็นของฝากหรือรับประทานเอง
ชื่ออื่น กล้วยข้าว กล้วยหมาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa (AA group) “Kluai Leb Mu Nang”
ชื่อวงศ์ MUSACEAE
ลักษณะทั่วไป
- ลำต้น ขนาดเล็กและเตี้ยกว่ากล้วยพันธุ์ทั่วไป ลำต้นสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูอมแดง กล้วยชนิดนี้คล้ายต้นกล้วยไข่แต่มีสีอมแดง
- ใบ ก้านใบสีชมพูอมแดง ตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีครีบ เส้นใบสีชมพูอมแดง ใบสีเขียวอ่อน ค่อนข้างแคบและสั้น ก้านใบมักชูกตรงขึ้น แต่เอียงเป็นมุมแยกห่างออกจากกัน สันของก้านใบส่วนล่างเป็นแถบสีแดง
- ดอก ก้านช่อดอกมีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างยาว ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดงซีด
- ผล มีขนาดประมาณนิ้วมือทั้งความยาวและกว้าง ปลายผลเรียว ผลเรียงติดกันคล้ายนิ้วมือ ผลค่อนข้างโค้งงอ เนื้อผลสุกแล้วหอมหวานคล้ายกล้วยหอมจันทร์ หวีหนึ่งมี 10 – 16 ผล ผลเล็กรูปโค้งงอ ปลายเรียวยาว ก้านผลสั้น เปลือกหนา เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง และยังมีก้านเกสรตัวเมียติดอยู่ กลิ่นหอมแรง เนื้อสีเหลือง รสหวาน กล้วยเล็บมือนางเนื้อแน่นมาก ชวนรับประทานมากกว่า และมีหน่อดกคล้ายกล้วยตานี
สายพันธุ์กล้วยเล็บมือนาง
- กล้วยเล็บมือ “พันธุ์กาบดำ”
- เครือยาว ลูกดก
- ลูกเล็ก ผลยาว
- รสชาติหวานหอม อร่อย
- กล้วยเล็บมือ “พันธุ์กาบแดง”
- ลูกใหญ่ สั้น เครือสั้น
- ลูกไม่ดก จำนวนหวีมีน้อย
- ชาวสวนไม่ค่อยนิยมปลูกเพราะผลผลิตน้อย
นิเวศวิทยาและแหล่งการแพร่หลาย
กล้วยเล็บมือนางมักจะนิยมปลูกกันทั่วไป จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลงไปทั่วภาคใต้ มีการนำไปปลูกภาคอื่นบ้าง แต่ไม่มากนัก
ประโยชน์และความสำคัญ
- ใบ – ห่อขนม
- ต้นอ่อน – ทำอาหาร เช่น แกงส้ม, แกงเผ็ด
- ปลีกล้วย – ต้มจิ้มนำพริก, ยำ
- ผลอ่อน – ใช้แกงส้มแกงคั่ว, แกงกะทิ, แกงเผ็ด, ต้มจิ้มน้ำพริก
- ผลแก่ – ต้มจิ้มมะพร้าวกับน้ำตาล, ชุปแป้งทอด, กล้วยฉาบ, กล้วยเคลือบคาราเมล, กล้วยอบเนย
- ผลสุก – ใช้รับประทาน และสามารถแปรรูปเป็นกล้วยแช่อิ่ม, ขนมกล้วย, กล้วยอบไวน์ และกล้วยตากน้ำผึ้ง ซึ่ง มีสรพพคุณในแง่ของยาอายุวัฒนะ
- ต้น – เชือกกล้วย กระดาษใยกล้วย นำไปทำหัตกรรมเชือก
การปลูกกล้วยเล็บมือนาง
มีวิธีการดังต่อไปนี้
การเลือกหน่อกล้วยเพื่อการเพาะปลูก
- ต้องเป็นหน่อที่เหง้าใหญ่สมบูรณ์ มีความอวบวัดรอบต้นบริเวณโคน 30 เซนติเมตร สูงประมาณ 50- 100 เซนติเมตร เป็นหน่อที่ได้จากต้นแม่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรค และตัดยอดให้เอียงประมาณ 45 องศา ป้องกันน้ำไหลลงยอด
- ขุดหลุมปลูกกล้วยการขุดหลุมปลูกกล้วยนิยมขุดหลุมให้มีขนาดประมาณ 3030 เซนติเมตร ลึกประมาณ 35 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้นแลแถวประมาณ22เมตร
- ใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมประมาณ 1 กำมือ
- จากนั้นนำหน่อกล้วยที่เตรียมไว้แล้วลงไปในหลุม กลบดินพอหลวมๆ ก่อนแล้วค่อยๆเหยียบดินรอบโคนต้นให้แน่น จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม เช้า เย็น ทุกวัน
การใส่ปุ๋ยและรดน้ำ
- หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 15 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หลุมละ 2 กิโลกรัม ทุก 15 วัน และรดน้ำเช้าเย็น ห้แก่กล้วยเพื่อการเจริญเติบโตทางลำต้น และการตกเครือที่มีคุณภาพ
- ประมาณ 6-8 เดือน กล้วยจะออกปลี เมือกล้วยออกลูกสุดเครือจะมีปลีกลว้ยเหลือให้ตัดปลีกล้วยออกเพื่อการเติบโตเต็มที่ของผล
- การตัดผลหลังจาก 3 เดือนที่ออกปลี กล้วยจะเริ่มตัดเครือได้ ก่อนตัดดู ลูกตึง หรือ ปลิดมาปาดดูว่ามีสีเหลืองอ่อนหรือยัง ถ้ามีให้ตัดได้เลย ควรตัดทุก 7 – 10 วัน
การตัดแต่งหน่อ
หลังจากปลูกกล้วยไปแล้วประมาณ 6-8 เดือนจะมีหน่อกล้วย จำนวน 4-5 หน่อ หน่อกล้วยจะแย่งอาหารจากต้นแม่ ทำให้เครือเล็ก ผลลีบ มีขนาดเล็กควรตัดหน่อที่เรียวเล็กออก เก็บหน่ออวบไว้ 3 หน่อ และ 3 ขนาด เพื่อจะได้ทดแทนตลอดกันตลอดไม่ขาดช่วงของการออกผล
- เล็ก 20 -50 เซนติเมตร
- กลาง 50- 120 เซนติเมตร
- ใหญ่ พร้อม ออกปลี
การแต่งทางกล้วย
ให้แต่งเฉพาะทางแห้งออกทุกครั้งหลังตัดเครือ