กากน้ำตาล

กากน้ำตาล (molasses) เป็นของเหลวที่มีลักษณะข้นเหลวสีน้ำตาลดำที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อย การผลิตน้ำตาลจากอ้อยจะได้ส่วนของกากน้ำตาล 4-6 % ประโยชน์ของกาากน้ำตาลมีมากมาย เนื่องด้วยในกากน้ำตาลจะมีปริมาณน้ำตาล ประมาณ 50-60% สามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์ หมักทำแอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และใช้ในการทำการเกษตร หมักปุ๋ย หรือ ทำน้ำหมักต่างๆ

kagnamtankad

คุณสมบัติ
เป็นของเหลวสีดำที่เหนียวข้น ซึ่งไม่สามารถจะตกผลึกน้ำตาลได้อีก เป็นเนื้อของสิ่งที่ไม่ใช่น้ำตาลที่ละลายปนอยู่ในน้ำอ้อย ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำตาลซูโครส น้ำตาลอินเวอร์ท (invert sugar) และสารเคมี เช่น ปูนขาว ซึ่งใช้ในการตกตะกอนให้น้ำอ้อยใส ส่วนประกอบของกากน้ำตาลจะปรวนแปรไม่แน่นอน แล้วแต่ว่าได้มาจากอ้อยพันธุ์ไหนและผ่านกรรมวิธีอย่างไร แต่มักจะหนีไม่พ้นน้ำตาลซูโครส น้ำตาลอินเวอร์ทกับน้ำ ปัจจุบันนี้ โรงงานน้ำตาลทันสมัย มีความสามารถในการสกัดน้ำตาลออกจากกากน้ำตาลได้มากขึ้นแต่ก็ไม่หมดเสียทีเดียว เพราะถ้าสกัดให้ออกหมดจริงจะสิ้นค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นจึงมีน้ำตาลซูโครสบางส่วนที่สูญเสียไปกับกากน้ำตาล ซึ่งมักจะสูญเสียไปมากกว่าสูญเสียไปทางอื่น โดยทั่วๆไปจะมีซูโครสปนอยู่ในกากน้ำตาลเฉลี่ย 7.5 เปอร์เซ็นต์

kagnamtanpo

การใช้ประโยชน์
อุตสาหกรรมการผลิตเหล้าและแอลกอฮอล์ เป็นแหล่งใหญ่ที่ต้องการกากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรม ผลผลิตที่ได้จากการหมักกากน้ำตาล ได้แก่ เอทิลแอลกอฮอล์ บิวธิลแอลกอฮอล์ อาซีโตน กรดซิตริก กลีเซอรอล (glycerol) และยีสต์ เอทิลแอลกอฮอล์ใช้ทำกรดอาซีติค เอธีลอีเธอร์ ฯลฯ สารประกอบอื่นที่ได้จากการหมักกากน้ำตาล ได้แก่ เอธิลอาซีเตท บิวธิลอา-ซีเตท อามีลอาซีเตท น้ำส้มสายชู และคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง นอกจากนั้นถ้านำกากน้ำตาลที่ทำให้บริสุทธิ์ไปหมักและกลั่นจะได้ เหล้ายิน (gin) ส่าเหล้าหรือยีสต์ที่ตายแล้ว เป็นผลพลอยได้ซึ่งนำไปทำอาหารสัตว์ นอกจากนี้กากน้ำตาลยังใช้ทำยีสต์สำหรับทำขนมปังและเหล้าได้ด้วย ยีสต์บางชนิดที่ให้โปรตีนสูงคือ Torulopsis utilis ก็สามารถเลี้ยงขึ้นมาได้จากกากน้ำตาล กากน้ำตาลสามารถนำมาทำกรดเป็นแลคติคได้ แม้ว่าจะทำได้น้อยมาก ในอดีตชาวปศุสัตว์ใช้กากน้ำตาลผสมลงในอาหารสัตว์ แต่ก็มีขีดจำกัด กล่าวคือ วัวตัวหนึ่งไม่ควรรับกากน้ำตาล เข้าไปเกิน 1.5 ปอนด์ สัตว์ชอบกินกากน้ำตาลคลุกกับหญ้าเพราะช่วยทำให้รสชาติดี รวมทั้งการใส่กากน้ำตาลในไซเลจ (silage)อีกด้วย มีผู้วิจัยทดลองใส่แอมโมเนียลงในกากน้ำตาล พบว่า สามารถผลิตโปรตีนได้และสัตว์สามารถกินกากน้ำตาลนี้เข้าไปและทำให้สร้างโปรตีนขึ้นในร่างกายสัตว์ได้ จึงเป็นสิ่งที่ประหลาดที่กากน้ำตาลเป็นสารคาร์โบไฮเดรต สามารถถูกสัตว์เปลี่ยนไปเป็นโปรตีนได้ผลดี ส่วนประกอบสำคัญของน้ำอ้อยอีกชนิดหนึ่งก็คือ กรดอโคนิติค ซึ่งจะผสมรวมอยู่ในกากน้ำตาล ซึ่งเราสามารถแยกได้โดยการตกตะกอนด้วยเกลือแคลเซียม กรดอโคนิติคนี้มีความสำคัญในการผลิตยางสังเคราะห์ พลาสติก เรซิน และสาร ชักเงา ประโยชน์สุดท้ายของกากน้ำตาลก็คือ การใช้ทำปุ๋ยหรือปรับคุณภาพดิน กากน้ำตาลมีส่วนประกอบของโพแทสเซียม อินทรีย์วัตถุ และธาตุรองอื่นๆ อีกมาก นอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับปรับสภาพดินทราย หรือดินเลวที่ไม่มีการเกาะตัว เนื่องจากขาดอินทรีย์วัตถุอีกด้วย ประโยชน์สุดท้ายใช้ผสมกับชานอ้อยสำหรับทำถ่านใช้ในครัวเรือน

kagnamtans kagnamtantaekagnamtansom

ผลิตกากน้ำตาลไว้ใช้เองด้วยวิธีง่ายๆ
นายบุญมี ทอนมาตย์ ปราชญ์ชาวบ้านแห่งบ้านคุ้มเหนือ เขตเทศบาลตำบลหัวช้าง อ.จตุรพักรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด เป็นครูเกษตรอีกท่านหนึ่งที่มีองค์ความรู้ด้านการเกษตรมากมายไม่ว่าจะเป็นการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ผลิตน้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆไว้ใช้เองและแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในชุมชน นอกจากนี้ยังผลิตกากน้ำตาลที่ใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพโดยไม่ต้องซื้อหาแต่อย่างใด คือ นำอ้อยที่ปลูกไว้บริเวณรอบๆสวนนำมาเข้าสู่ขบวนการหีบกลั่นออกมาให้เป็นน้ำตาลสดเสียก่อนจากนั้นจะนำไปต้มฆ่าเชื้อที่มีอุณหภูมิสูงจนกลายมาเป็นน้ำตาลที่มีปริมาณความเข้มข้นสูงสามารถนำไปใช้แทนกากน้ำตาลได้ โดยมีขั้นตอนและวิธีการผลิตกากน้ำตาลดังนี้

ขั้นตอนการเตรียมวัสดุอุปกรณ์
– เครื่องคั้นน้ำอ้อย ก่อนใช้ต้องล้างให้สะอาดแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
– ภาชนะสำหรับบรรจุที่สามารถปิดฝาได้สนิท
– มีดปอกเปลือกอ้อย(ถ้ามี)
– ผ้าขาวบาง และภาชนะรับน้ำอ้อย
– หม้อสำหรับต้มหรือเคี่ยวน้ำอ้อย
ขั้นตอนการเตรียมท่อนอ้อย
– นำต้นอ้อยที่มีความหวานชนิดใดก็ได้มาตัดเป็นท่อน ความยาวพอประมาณเพื่อความสะดวกในการล้างทำความสะอาด เนื่องจากเราไม่ได้คั้นน้ำเพื่อรับประทานเองจึงไม่จำเป็นที่จะต้องปอกเปลือกก่อนนำเข้าเครื่องคั้นน้ำ
– นำท่อนอ้อยที่หั่นเป็นท่อนขนาดพอเหมาะแล้วไปล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ
ขั้นตอนการค้นน้ำอ้อยเพื่อการผลิตแทนกากน้ำตาล
– นำท่อนอ้อยที่ล้างสะอาดดีแล้วเข้าเครื่องคั้นน้ำ เพื่อแยกชานอ้อยกับน้ำอ้อยออกจากกัน
– น้ำอ้อยที่คั้นได้ควรกรองด้วยผ้าขาวบางที่สะอาดทุกครั้งเพื่อกรองเอากากออก
– นำน้ำอ้อยที่ผ่านการกรองมาต้มให้เดือดแล้วเคี่ยวในอุณหภูมิสูงเพื่อให้น้ำระเหยออกไป 1 ใน 3 ใช้เวลาต้มประมาณ 30 นาที ตักเอาฟองขาวออกให้หมด หรือจะเคี่ยวต่อไปจนน้ำมีสีน้ำตาลเหนียวข้นลักษณะเช่นเดียวกับกากน้ำตาลก็ได้
-หลังจากเคี่ยวจนได้ที่แล้วยกหม้อลงพักไว้ให้เย็น สามารถนำไปใช้แทนกากน้ำตาลได้เลย หรือนำไปบรรจุขวดหรือถังพลาสติกปิดฝาให้สนิทเก็บไว้ใช้งาน
ลักษณะของน้ำอ้อยที่ต้มได้ที่แล้ว และเมื่อเคี่ยวต่อไปจะได้หัวน้ำตาลเหนียวข้น

หมายเหตุ
– น้ำอ้อยที่เราคั้นสดสามารถเก็บไว้ได้นาน 4 วัน เมื่อไม่มีการใช้งานจะมีรสบูด เปรี้ยว ไม่สามารถเก็บไว้ใช้งานต่อไปได้
– น้ำอ้อยคั้นสดที่ผ่านการต้มหรือเคี่ยวแล้วเสร็จแล้วสามารถเก็บไว้ใช้งานได้นานมกกว่า 1 ปี ขึ้นไป โดยปิดฝาภาชนะบรรจุให้สนิทเก็บไว้ในที่ร่ม ทุกครั้งหลังจากใช้งานเสร็จ
– น้ำอ้อยคั้นสดหลังจากผ่านการต้มเคี่ยวแล้วจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆแทนกากน้ำตาลได้ โดยใช้เพียง 0.5 ส่วนแทนกากน้ำตาล 1 ส่วน

กากอ้อยที่คั้นแล้ว
– กากของชานอ้อยที่คั้นน้ำออกแล้วสามารถเก็บไว้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยได้

วัตถุที่ใช้แทนกากน้ำตาล
น้ำผึ้ง , น้ำตาลทรายแดง , นมสด
น้ำผลไม้สดทุกชนิด เช่น น้ำมะพร้าว น้ำส้ม น้ำสับปะรด น้ำอ้อน ฯลฯ
น้ำซาวข้าว
น้ำปัสสาวะ
ฯลฯ

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด วิชาเกษตรพึ่งตน

แสดงความคิดเห็น