กากแป้งมันสำปะหลัง

20 สิงหาคม 2559 สัตว์ 0

กากแป้งมันสำปะหลังเป็นวัสดุเศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังและโรงงานผลิตฟรุคโตสและสารให้ความหวาน โดยปกติกากแป้งมันสำปะหลังที่ออกจากโรงงานจะมีลักษณะเปียก ความชื้นประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และมีการใช้กากแป้งมันสำปะหลังเปียกนี้เป็นอาหารสัตว์ อาทิ อาหารโค,กระบือ และปลา แต่กากแป้งมันสำปะหลังที่ตากแห้งและใช้เป็นวัสดุเจือปนผสมกับมันเส้นบดหรือมันอัดเม็ด ทำให้มันเส้นบดและมันอัดเม็ดมีคุณภาพต่ำลง อย่างไรก็ตามกากมันสำปะหลังก็ยังคงมีคุณค่าทางอาหารเหลืออยู่โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นคาร์โบไฮเดรทที่ย่อยง่าย (NFE) ประมาณ 65-70 เปอร์เซ็นต์ สามารถนำมาใช้ในเชิงอาหารสัตว์ได้โดยตรง

คุณค่าทางโภชนะของกากแป้งมันสำปะหลังแห้ง

  • วัตถุแห้ง 88.73 เปอร์เซ็นต์
  • เถ้า 3.64 เปอร์เซ็นต์
  • โปรตีน 1.83 เปอร์เซ็นต์
  • แคลเซี่ยม 0.60 เปอร์เซ็นต์
  • เยื่อใย 10 เปอร์เซ็นต์
  • ฟอสฟอรัส 0.36 เปอร์เซ็นต์
  • ไขมัน 0.48 เปอร์เซ็นต์

มีค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้( สุกร) 3,027 กิโลแคลลอรี่/กก. และ ยอดโภชนะย่อยได้ (TDN)
65-70 เปอร์เซ็นต์

gagmuns

แม้ว่ากากแป้งมันสำปะหลังมีระดับเยื่อใยสูง แต่ยังคงมีปริมาณแป้งหลงเหลืออยู่ค่อนข้างมาก กากแป้งมันสำปะหลังแห้งจึงเหมาะกับสูตรอาหารสัตว์ที่ต้องการเยื่อใยสูง เช่น อาหารโค-กระบือ, อาหารสุกรแม่อุ้มท้อง และสุกรขุน

การใช้กากแป้งมันสำปะหลังแห้งเป็นอาหารสัตว์

สุกร
– สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในสูตรอาหารแม่สุกรอุ้มท้องได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์
– สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในสูตรอาหารสุกรขุน 15 เปอร์เซ็นต์

โค-กระบือ
– สามารถใช้กากมันสำปะหลังแห้งในสูตรอาหารผสมสำเสร็จ (TMR) ระดับ 10-30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับระดับโปรตีนและยอดโภชนะย่อยได้ที่สัตว์ต้องการ

gagmuna

กากมันสำปะหลัง ไปใช้เป็นอาหารสัตว์
กากมันสำปะหลังสด หรือที่เรียกกันว่า “กากเปียก” เป็นวัตถุดิบเหลือทิ้งจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง จากการศึกษาวิจัยของคณะสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม พบว่ากากมันชนิดนี้มีโปรตีน 2.8 เปอร์เซ็นต์ ให้พลังงานประมาณ 3,400 แคลลอรี่ต่อกิโลกรัม และมีเยื่อใยสูงถึง 17.9 เปอร์เซ็นต์ สามารถนำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ได้ ทั้งโคเนื้อ-โคนม และแพะ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มปริมาณโปรตีนของกากมันให้สูงขึ้นได้ด้วยกระบวนการหมักสารละลายยีสต์ ที่ประกอบไปด้วยยีสต์สำหรับทำขนมปัง, น้ำตาลทรายแดง, กากน้ำตาล และปุ๋ยยูเรีย ทำให้โปรตีนในกากมันสำปะหลังสดสูงขึ้นเป็น 18 เปอร์เซ็นต์ หากหมักทิ้งไว้ 20 วัน และจะสูงขึ้นเป็น 27 เปอร์เซ็นต์ หลังผ่านขั้นตอนหมัก 30 วัน จึงเหมาะสำหรับใช้เสริมเป็นอาหารสัต

ที่มา
ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์ สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจ ฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สัตว์

แสดงความคิดเห็น