กานพลู เรานิยมนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ไม่ว่าจะเป็น ดอกตูม ผล ต้น เปลือก ใบ รวมไปถึงน้ำมันหอมระเหย ในบัญชียาสมุนไพร ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) มีการใช้กานพลูเป็นยารักษาอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) โดยปรากฏอยู่ในตำรับยาหลายชนิด ซึ่งได้แก่ ยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฐ ซึ่งจะมีส่วนประกอบของกานพลูร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ รวมอยู่ด้วย ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน อาหารหน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นไส้อาเจียน และยังมีการใช้กานพลูเป็นยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร ซึ่งประกอบไปด้วย ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู ซึ่งจะช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด อาหารไม่ย่อยเป็นต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium aromaticum (L.) Merr. Et perry
(Syn. Eugenia caryophyllus (Sprengel) Bullock et Harrison) *
วงศ์ MYRTACEAE
ชื่ออื่น ๆ ขจันจี่ (ภาคเหนือ) ดอกจัทร์
กานพลูจัดเป็นไม้ยืนต้น และเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่น่าใจที่มีสรรพคุณทางยาที่หลากหลาย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นสมุนไพรไทยที่มีรสเผ็ด โดยมีการเพาะปลูกและเกี่ยวมากที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย ปากีสถาน และศรีลังกา เป็นต้น
ลักษณะของพืช
กานพลูเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตร
ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอก (ดอกกานพลูที่ดีจะต้องเป็นดอกที่มิได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นฉุนรสเผ็ดจัด)
สรรพคุณและวิธีใช้
แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง ใช้ดอกแห้ง 58 ดอก (0.120.6 กรัม) ต้มหรือบดเป็นผงรับประทาน (ดอกกานพลู 3 ดอก ทุบแล้วแช่ในน้ำเดือด 1 ขวดเหล้า ใช้ชงนมเด็กจะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กท้องขื้น ท้องเฟ้อได้
แก้อาการปวดฟัน กลั่นเอาน้ำมันใส่ฟันหรือใช้ทั้งดอกเคี้ยวแล้วอมไว้ตรงบริเวณฟันที่ปวดเพื่อระงับอาการปวดฟัน
ดอกกลานพลู นอกจากเรื่องของบรรเทาอาการปวดฟันดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้น กานพลูเองยังมีสรรพคุณอื่นๆอีกมาก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นดอกของกานพลู หากยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออกจะมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก มีรสเผ็ด สรรพคุณคือ แก้รำมะนาด และยังสามารถแก้ปัญหากลิ่นปากได้อย่างชะงัด ใครดื่มสุรามาสามรถใช้ดับกลิ่นได้ (ป้องกันคุณแม่บ้านจับได้เป้นอย่างดี แต่ทั้งนี้ขึ้นกับความเนียนของแต่ละคนด้วย ) และสำคัญที่สุดคือ บรรเทาอาการปวดฟัน เรียกได้ว่าสรรพคุณในด้านเหงือกและฟันค่อนค้างครบวงจรเลยทีเดียว นอกจากนั้นด้านอื่นยังมีในเรื่องของ บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด และขัมลม แก้ไอ แก้โรคเหน็บชา ขับเสมหะได้ สามรถแก้ท้องเสียในเด็ก
ผลกานพลู ผลการพลู ใช้เป็นเครื่องเทศได้เป้นอย่างดี ช่วยเพิ่มความหอมให้กับอาหารได้
น้ำมันหอมระเหยจากการพลู หากสะกัดเอาน้ำมันหอมระเหยออกมา เฉพาะตัวน้ำมันหอมระเหย จะมีสรรพคุณ ในการเป็นยาชาเฉพาะที่ แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรมได้ เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา ใช้ป็นยาขับลม และ แก้ปวดท้อง
สูตรยาสมุนไพรไทยจากกานพลู
สูตรยาช่วยระงับอาการปวดฟัน ใช้ไม้พันสำลี หรือ คัตเติลบัต ชุบน้ำมันกานพลูนำไปหยด 4 -5 หยด ในรูฟันที่ปวด หรือใช้ชุบสำลี เคียวไว้ในปากบริเวณที่ปวด
สูตรยากำจัดกลิ่นปาก ให้อมดอกกานพลูไว้ 2-3 ดอกสัก 1-2 นาที แล้วบ้วนทิ้ง
สูตรยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม สำหรับผู้ใหญ่ใช้ดอกกานพลู 5-8 ดอก นำมาต้มหรือบดให้เป็นผงรับประทาน ในกรณีที่เป็นเด็ก ใช้ดอกกานพลู 3 ดอก ทุบให้แตกแช่ในน้ำเดือด ชงนมผสมประมาณ 750 cc ให้เด็กดื่ม
สภาพดินฟ้าอากาศ ดินควรเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอาหารพืช และควรปลูกในฤดูฝน
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด โดยใช้เมล็ดที่เด็ดจากต้นมาเพาะทันที ถ้าเก็บไว้เกินหนึ่งสัปดาห์จะทำให้การงอกของเมล็ดลดลง เมล็ดใช้เวลาในการงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นอ่อนประมาณ 6 เดือนหลังจากนั้น นำไปปลูกในที่ที่มีแดดรำไร พออายุได้ 1-1.5 ปี จึงย้ายไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้
การปลูก ขุดหลุมให้ กว้างประมาณ 60 ซม. ยาว 60 ซม. ลึก 60 ซม. ตากดินไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้แสงแดดฆ่าเชื้อโรคในดิน จากนั้นใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม นำต้นลงปลูกแล้วจึงกลบและพูนดินที่โคนต้น เพื่อป้องกันน้ำขัง กานพลูไม่ชอบน้ำขัง เมื่อปลูกใหม่ ๆ ต้องทำร่มให้ด้วยหลุมละ 1 ต้น กลบดินให้แน่นรดน้ำให้ชุ่ม
การบำรุงรักษา คอยดูแลการระบายน้ำให้ดี อย่าให้น้ำขัง กานพลูที่สมบูรณ์จะให้ผลเมื่ออายุย่างเข้าปีที่ 4 และจะให้ผลผลิตสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในอายุประมาณ 20 ปี
ป้ายคำ : สมุนไพร