การตัดชำ (Cutting) หมายถึง การตัดส่วนหนึ่งส่วนใดของพืช แล้วนำไปปักไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ปักไว้ในที่มีความชุ่มชื้นหรือแช่ไว้ในน้ำ ส่วนนั้นจะสามารถเกิดราก และแตกยอด กลายเป็นพืชต้นใหม่ได้ ซึ่งจะมีคุณสมบัติและคุณลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ
การขยายพันธุ์พืช โดยการตัดชำ เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมากทั้งพืชใบกว้างและใบแคบที่มีใบเขียวตลอดปี โดยเฉพาะเหมาะสำหรับขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น เทียนทอง ไทร ชบา เข็ม โกสน เล็บครุฑ สาวน้อยประแป้ง หูปลาช่อน หลิว เบญจมาศ มะลิ กุหลาบ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ขยายพันธุ์ไม้ผลที่ออกรากง่าย เช่น องุ่น สาเก มะนาวและส้มบางชนิด ได้
การตัดชำ จะมีความหมายเดียวกับ การปักชำ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า การปักชำ จะใช้กับส่วนที่เป็นลำต้น กิ่ง หรือใบพืช ที่นำไปปักลงในวัสดุชำ เพื่อให้เกิดรากเท่านั้น ดังนั้น ความหมายของคำว่า ตัดชำ จึงกว้างกว่า ปักชำ เพราะสามารถใช้ได้ทั้งส่วนที่อยู่บนดิน เป็น ลำต้น กิ่ง และใบ และส่วนที่อยู่ใต้ดิน เป็น ราก เหง้า แง่ง และหัวพืช การตัดชำ มีความสำคัญ คือ สามารถทำได้ง่าย และเพิ่มปริมาณพืชได้รวดเร็ว ใช้ต้นทุนต่ำ และได้พันธุ์ไม้ที่ตรงตามพันธุ์เดิม
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดชำ
การตัดชำจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการออกรากของพืช ดังนี้
เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดชำ
รูปแบบการตัดชำ
(1) การตัดชำกิ่งแก่ เป็นการตัดกิ่งจากต้นแม่ที่สมบูรณ์ แข็งแรง
ปราศจากโรคและแมลงรบกวน และมีอาหารสะสมภายในกิ่งเพียงพอ ซึ่งจะช่วยในการ ออกรากและแตกยอดของพืชต้นใหม่ พืชที่เหมาะสม เช่น เฟื่องฟ้า คริสต์มาส แคฝรั่ง บานบุรี
การตัดชำกิ่งแก่ มีขั้นตอน ดังนี้
รูปแบบของการตัดชำหรือปักชำ ที่นิยมใช้ มี 4 วิธี ตามลักษณะของชิ้นส่วนพืชที่นำมาตัดชำ คือ
1) การตัดชำกิ่งหรือต้น (Stem Cutting)
2) การตัดชำใบ (Leaf Cutting)
3) การตัดชำราก (Root Cutting)
4) การตัดชำลำต้นและรากพิเศษ (Specialized stem and root Cutting)
1) การตัดชำกิ่งหรือต้น (Stem Cutting)
(1.1) การตัดชำกิ่งกลางอ่อนกลางแก่ เป็นการตัดชำกับพืชใบกว้าง
ประเภทมีใบสีเขียวตลอดปี โดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผล บางชนิด เช่น ชบา โกสน ไทร สนปฏิพัทธ์ ชมพู่ ส้ม เป็นต้น ระยะเวลาตัดชำที่เหมาะสม คือ ช่วงกลางฤดูฝนหรือปลายฤดูฝน โดยตัดส่วนที่อยู่ปลายยอดของกิ่ง ให้มีความยาวประมาณ 10 15 เซนติเมตร มีใบติดที่ปลายกิ่ง ประมาณ 3 4 ใบ ส่วนใบล่างให้ริดออกให้หมด เพื่อลดการคายน้ำในกิ่งชำ การตัดกิ่งให้ตัดแบบเฉียง ให้ชิดหรือผ่านข้อหรือส่วนยอดของพืช นิยมใช้ตัดชำไม้ดอกไม้ประดับ เช่น เข็มญี่ปุ่น กุหลาบ มะลิ ยี่โถ ผกากรอง เล็บครุฑ โกสน เป็นต้น โดยตัดให้มีใบติดอยู่มาก ทำให้รากออกได้ง่ายและเร็วกว่าการตัดชำแบบอื่น หากตัดชำกิ่งให้อยู่ภายใต้สภาพความชื้นสูง คงที่และสม่ำเสมอ การตัดชำกิ่งอ่อน ควรให้กิ่งมีความยาว ประมาณ 7 12 เซนติเมตร ถ้ามีดอกติดมาด้วย ควรเด็ดออกให้หมด
การตัดชำกิ่งกลางอ่อนกลางแก่ มีขั้นตอน ดังนี้
(1.2) การตัดชำกิ่งอ่อน เป็นการตัดชำกิ่งพืชที่มีสีเขียว ประเภทไม้เนื้ออ่อนหรือส่วนยอดของพืช นิยมใช้ตัดชำไม้ประดับ เช่น เทียนทอง เข็มญี่ปุ่น กุหลาบ มะลิ ยี่โถ ผกากรอง เล็บครุฑ เป็นต้น การตัดชำด้วยวิธีนี้ จะมีใบติดอยู่มาก รากมักจะออกได้ง่ายและเร็วกว่าการตัดชำแบบอื่น ถ้าปักชำกิ่งให้อยู่ภายใต้สภาพความชื้นสูงคงที่และสม่ำเสมอ การตัดชำกิ่งอ่อน ควรตัดให้มีความยาว ประมาณ 3 5 นิ้ว ถ้ามีดอกติดมา ควรเด็ดออกให้หมด
การตัดชำกิ่งอ่อน มีขั้นตอน ดังนี้
(1.3) การตัดชำพืชอวบน้ำ เป็นวิธีการตัดชำพืชที่เป็นไม้เนื้ออ่อน
ประเภทอวบน้ำ ส่วนใหญ่ใช้กับไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ฤาษีผสม แพรเซี่ยงไฮ้ กุหลาบหิน แคคตัส บีโกเนีย เป็นต้น กิ่งที่ตัดมาปักชำ ควรมีความยาวประมาณ 3 5 นิ้ว โดยลิดใบที่โคนกิ่งออก การตัดชำพืชอวบน้ำ ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีเร่งราก เพราะเป็นพืชที่ออกรากได้ง่าย
การตัดชำพืชอวบน้ำ มีขั้นตอน ดังนี้
2) การตัดชำใบ (Leaf Cutting) แบ่งออกเป็น 4 วิธี คือ
(1) การตัดชำแผ่นใบ
(2) การตัดชำใบกับก้านใบ
(3) การตัดชำใบที่มีตาติด
(4) การตัดชำส่วนของใบ
(2.1) การตัดชำแผ่นใบ เป็นการตัดใบไปปักชำทั้งใบ โดยวางแผ่นใบให้หงายขึ้น แล้วใช้วัสดุชำ กลบขอบใบเล็กน้อย จะเกิดรากและต้นใหม่บริเวณขอบใบมากมาย นิยมใช้ขยายพันธุ์พืชประเภทโคมญี่ปุ่น กุหลาบหิน เป็นต้น
การตัดชำแผ่นใบ มีขั้นตอน ดังนี้
(2.2) การตัดชำใบกับก้านใบ เป็นการตัดใบไปปักชำ โดยให้ก้านใบติดไปด้วย ใช้ได้ผลดีกับพืชประเภท เปปเปอร์โรเมีย ก้ามปูหลุด เป็นต้น
การตัดชำใบกับก้านใบ มีขั้นตอน ดังนี้
(2.3) การตัดชำใบที่มีตาติด เป็นการตัดใบพืชไปปักชำ โดยให้มีส่วนของกิ่งและตาติดไปด้วย จึงเหมาะสำหรับพืชที่ใช้ใบปักชำ แล้วออกราก แต่ไม่แตกยอดเป็นต้นใหม่ ดังนั้น จึงต้องให้มีตาติดไปด้วย เพื่อให้เกิดต้นใหม่ขึ้น เช่น การตัดชำใบโกสน ยางอินเดีย เป็นต้น
การตัดชำใบที่มีตาติด มีขั้นตอน ดังนี้
(2.4) การตัดชำส่วนของใบ เป็นการตัดแผ่นใบออกเป็นท่อน ๆ หรือเป็นชิ้น ๆ โดยตัดเส้นใบใหญ่ให้ขาดออกจากกัน ใบที่นำมาตัดชำ จะต้องเป็นใบแก่ ต้นใหม่จะเกิดขึ้นตามบริเวณเส้นใบที่ถูกตัดหรือบริเวณฐานของใบที่ใช้ตัดชำ นิยมใช้กับ ต้นบีโกเนีย และลิ้นมังกร
การตัดชำใบที่มีตาติด มีขั้นตอน ดังนี้
3) การตัดชำลำต้นและรากพิเศษ (Specialized stem and root Cutting)
การตัดชำลำต้นและรากพิเศษ เป็นการตัดชำลำต้นและราก ประเภทสะสมอาหาร ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ใต้ดินและเหนือดิน ได้แก่ หัว ราก เหง้า หน่อ และแง่ง พืชผักบางชนิดที่ขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ เช่น หัวมันฝรั่ง มันเทศ ขิง ข่า และไม้ดอก ไม้ประดับ บางชนิด เช่น ขิงแดง พลับพลึง ดาหลา บัวสวรรค์ ว่านสี่ทิศ บอนสี เป็นต้น โดยใช้วิธีการแบ่งหรือแยก ตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด การที่รากจะพัฒนาเป็นต้นใหม่ได้ นั้น แสดงว่า รากมีตาพิเศษ จึงทำให้เกิดต้นและรากใหม่ การเกิดต้นจะเกิดบริเวณโคนรากก่อน แล้วจึงไปเกิดรากตามบริเวณรากเพิ่มขึ้น
ส่วนการตัดชำราก เป็นการนำรากมาตัดเป็นท่อน แล้วนำไปชำในวัสดุเพาะชำ พืชที่สามารถขยายพันธุ์ด้วยการตัดชำราก ได้แก่ แคแสด สน สาเก เป็นต้น โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
ที่มา
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.phptopic=391.0
ป้ายคำ : การขยายพันธุ์