การเลี้ยงห่าน

18 ธันวาคม 2557 สัตว์ 0

ห่านเป็นสัตว์ปีกที่เลี้ยงง่ายไม่ซับซ้อน โตเร็ว ใช้เวลาเลี้ยงไม่นาน ทนทานโรค ใช้แรงงานและทุนในการเลี้ยงน้อย ทนต่อสภาพแห้งแล้งและสภาพอาหารตามธรรมชาติในชนบทได้ดี เหมาะสำหรับนำมาเลี้ยงเป็นอาหารเสริม โปรตีนในครัวเรือน และที่สำคัญก็คือ เนื้อห่านมีรสชาติ ผู้บริโภคและตลาดยังมีความต้องการอยู่มาก

ห่านเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายไม่ค่อยเป็นโรค ทนต่อสภาพแห้แล้งและไม่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษแต่อย่างไร
พันธุ์ห่านที่นิยมเลี้ยงกันมาก ได่แก่ พันธุ์จีน(Chinese) ทั้งสีขาวและสีเทา พันธุ์เอ็มเด็น (Embden) พันธุ์โทรเลาซ์(Toulouse) พันธุ์พิลกริม(Pilgrim) พันธุ์อาฟริกัน(African) และพันธุ์อิยิปต์เซียน(Egyptian) นอกจากห่านดังกล่าวแล้ว ยังมีการผสมข้ามพันธุ์เพื่อผลิตห่านลูกผสมสำหรับการค้าโดยเฉพาะ

hannlao

พันธุ์จีน มีอยู่ 2 ชนิดที่เป็นที่นิยม คือ พันธุ์จีนขาว และพันธุ์จีนเทา รูปร่างเล็กกว่าพันธุ์อื่น ๆ มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักปานกลางซึ่งเหมาะสำหรับส่งขายตลาด น้ำหนักเมื่อเป็นหนุ่มสาว ตัวผู้จะหนักประมาณ 4.5 กก. ตัวเมียจะหนักประมาณ 3.6 กก. ส่วนน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้ หนักประมาณ 5.5 กก. และตัวเมียหนักประมาณ 4.5 กก. เมื่อเทียบกับพันธุ์อื่น ๆ แล้ว ห่านพันธุ์จีนให้ไข่เมื่ออายุน้อย และให้ไข่ดี โดยเฉลี่ยประมาณตัวละ 30 – 50 ฟองต่อปี ซึ่งเคยมีรายงานการให้ไข่สูงสุดปีละ 132 ฟอง และน้ำหนักไข่ เฉลี่ยฟองละ 150 กรัม พันธุ์เอ็มเด็น มีแหล่งกำเนิดจากประเทศเยอรมันนี ขนมีสีขาวบริสุทธิ์ตลอดตัว มีลักษณะค่อนข้างสวยงามแต่ขนบางเบา จึงมองเห็นตั้งชี้ตรงขึ้นไป มีลัษณะลำตัวตรง ค่อนข้างใหญ่ มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว สามารถทำน้ำหนักตัวได้เต็มที่ในระยะเวลาอันสั้น เหมาะสำหรับเลี้ยงไว้เพื่อจำหน่ายเนื้อ น้ำหนักตัวเมื่อเป็นหนุ่มสาว ตัวผู้หนักประมาณ 9.1 กก. ตัวเมียหนักประมาณ 7.3 กก. เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้หนักประมาณ 11.8 กก. และตัวเมียหนักประมาณ 9.1 กก. ให้ไข่ได้ดีพอประมาณ โดยเฉลี่ยประมาณตัวละ 30 – 40 ฟองต่อปี พันธุ์โทเลาซ์ มีแหล่งกำเนิดจากประเทศฝรั่งเศษ ทางตอนใต้ตามชื่อเมืองโทเลาซ์ ลักษณะของห่านประเภทนี้คืออ้วนล่ำ ลำตัวกว้างมีขนไม่หนา ตรงกลางหลังมีขนสีเทาเข้ม ซึ่งจะค่อย ๆ จางลงมาเรื่อย ๆ ตรงอกและท้องมีแถบเป็นขอบสีขาว ตาสีน้ำตาลแก่หรือน้ำตาลแดง ปากสีส้มอ่อน ๆ แข้งและข้อเท้ามีสีส้มปนแดง ส่วนขาตอนล่างและเล็บเท้ามีสีแดงเข้ม น้ำหนักตัวเมื่อเป็นหนุ่มสาว ตัวผู้หนักประมาณ 9.1 กก. ตัวเมียหนักประมาณ 7.3 กก. เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนักประมาณ 11.8 กก. และตัวเมียหนักประมาณ 9.1 กก. ซึ่งเมื่อเทียบกับพันธุ์เอ็มเเด็นแล้วจะมีขนาดเท่า ๆ กัน การให้ไข่เฉลี่ยประมาณตัวละ 34 ฟองต่อปี พันธุ์พิลกริม ห่านพันธุ์นี้มีขนสีแตกต่างกันระหว่างตัวผู้กับตัวเมียเมื่ออายุ 1 วัน ตัวผู้จะมีสีครามจาง ๆ ไปทางขาว ส่วนตัวเมียสีเทา พอโตขึ้นตัวผู้จะมีสีขาวตลอดร่าง แต่ตัวเมียมีสีเทาปนขาว ลักษณะรูปร่างอยู่ในขนาดกลาง ๆ น้ำหนักตัวเมื่อเป็นหนุ่มสาว ตัวผู้หนักประมาณ 5.5 กก. ตัวเมียหนักประมาณ 4.5 กก. เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนักประมาณ 6.5 กก. และตัวเมียหนักประมาณ 5.9 กก. การให้ไข่อยู่ในเกณฑ์ต่ำเฉลี่ยประมาณตัวละ 29 – 39 ฟองต่อปี พันธุ์อาฟริกัน เป็นห่านรูปร่างสวยงาม มีก้อนตุ่มขนาดโตสีดำเห็นได้ชัดเจนบนหัว ลักษณะลำตัวยาวรี หัวสีน้ำตาลอ่อน จงอยปากเป็นสีดำ ขนบริเวณปีกและหลังสีเทาอ่อนปนน้ำตาล ขนตรงคอ อกสีเดียวกันแต่อ่อนกว่าเล็กน้อย ขนใต้ลำตัวมีสีอ่อนกว่าขนตรงอกจนเกือบเป็นสีขาว แข้ง และเท้าสีส้มเข้ม น้ำหนักตัวเมื่อเป็นหนุ่มสาว ตัวผู้หนัก7.3 กก. ตัวเมียหนัก6.4 กก. เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนักประมาณ 9.1 กก. และตัวเมียหนักประมาณ 8.2 กก. พันธุ์แคนาดา เป็นห่านป่าที่มีถิ่นฐานอยู่ทางอเมริกาเหนือ ขนาดค่อนข้างเล็ก ลำตัวค่อนข้างยาว หัวมีสีดำ มีคาดสีเทาหรือขาวบนหน้าทั้งสองข้าง คอสีดำ หลังสีดำปนเทา ขนปีกมีสีดำขลิบเทาอ่อน และมีขนาดยาวใหญ่ เจริญเติบโตช้าและให้ไข่น้อยมาก น้ำหนักตัวเมื่อเป็นหนุ่มสาว ตัวผู้หนักประมาณ 4.5 กก. ตัวเมียหนักประมาณ 3.6 กก. เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนักประมาณ 5.5 กก. และตัวเมียหนักประมาณ 4.5 กก. พันธุ์อิยิปต์เชี่ยน เป็นห่านขนาดเล็ก ลำตัวค่อนข้างยาว เล็กและเรียว จงอยปากสีม่วงอมแดง หัวสีดำปนเทามีจุดสีน้ำตาลอมแดงรอบ ๆ ตา ลำตัวส่วนบนมีสีเทาปนดำ ส่วนล่างสีเหลืองเป็นลาย ๆ สลับริ้วสีดำ แข้งและเท้าสีเหลืองออกแดง

hannboohannkob

การฟักไข่
ไข่ห่านที่จะนำมาฟักควรเป็นไข่ห่านจากแม่ห่านที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้ว และมีอายุระหว่าง 1 – 3 ปี ไข่ที่จะใช้ฟักไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 7 วัน หากเก็บไว้ถึง 10 วัน มีแนวโน้มที่จะทำให้การฟักออกต่ำลง แต่ถ้าจำเป็นต้องเก็บไว้เกิน 7 วัน ต้องเก็บไว้ในที่อุณหภูมิ 50 – 60 ํ ฟาเรนไฮท์ (F) หรือประมาณ 10 – 15 ํ เซนเซียส(C) และความชื้นสัมพัทธ์ 75 – 80 เปอร์เซ็นต์ ควรกลับไข่อย่างน้อยวันละครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อติดเยื่อเปลือกไข่ ไข่ฟักที่สะอาดจะมีเปอร์เซ็นต์การฟักออกเป็นตัวดีกว่าไข่ที่สกปรก หากจำเป็นที่ต้องการใช้ไข่ที่สกปรกไม่มากนักไปฟัก ต้องรีบทำความสะอาดทันทีหลังจากเก็บ โดยใช้ฝอยโลหะหรือกระดาษทรายเบอร์ 0 หรือเบอร์ 1 ขัดเบา ๆ หรือล้างในน้ำอุ่นที่สะอาด (อุณหภูมิประมาณ 46 ํC) ซึ่งผสมด้วยน้ำยาล้างไข่เป็นเวลาประมาณ 3 นาที ควรระมัดระวังเสมอว่าน้ำที่ใช้ล้างไข่จะต้องอุ่นกว่าอุณหภูมิของ ไข่เสมอ ไข่ฟักที่มีขนาดฟองใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป หรือมีลักษณะแตแร้าว ไม่ควรใช้ฟัก เพราะโอกาสจะฟักออกเป็นตัวมีน้อยมาก ระยะเวลาฟักไข่ห่าน

hannkais hannkai

ห่านพันธุ์ทั่ว ๆ ไป ห่านพันธุ์แคนาดาและพันธุ์อียิปต์เชี่ยน 31 – 32 วัน 35 วัน วิธีการฟักไข่ห่านมีอยู่ 3 วิธี คือ

1. ใช้แม่ไก่ฟัก แม่ไก่ตัวหนึ่งสามารถฟักไข่ห่านได้ครั้งละ 4 – 5 ฟอง

hannfag

2. ใช้แม่ห่านฟักแม่ห่านตัวหนึ่งฟักไข่ห่านได้ครั้งละ 7 – 8 ฟอง วิธีฟักไข่ 2 วิธีดังกล่าวข้างบนนี้ จะต้องจัดทำรังฟักไข่สำหรับให้แม่ไก่หรือแม่ห่านกกไข่ด้วย พื้นรังไข่ควรรองด้วยหญ้าแห้งหรือฟางข้าวก่อนให้แม่ไก่หรือแม่ไก่ฟักไข่ จะต้องทำก่ชารกำจัดไรหรือเหาตามตัวเสียก่อน รังฟักไข่ควรอยู่ใกล้ที่ให้อาหารหรือน้ำ และควรวางบนพื้นดิน เพราะจะเป็นการช่วยให้มีความชื้นมากขึ้น อยู่ในที่ที่แม่ไก่หรือแม่ห่านไม่ถูกรบกวนในระหว่างฟักไข่ หากจะช่วยกลับไข่วันละ 3 – 4 ครั้ง ก็จะเป็นผลดี ควรจะทำเครื่องหมายตามด้านยาวของไข่ไว้เป็นการกันสับสน การกลับไข่ให้กลับ 180 องศา โดยพลิกกลับเอาด้านตรงกันข้ามขึ้น

hannloog

3. ใช้ตู้ฟักหรือที่เรียกว่า การฟักแบบวิทยาศาสตร์ ไข่ที่จะนำมาฟัก หากเก็บไว้ในห้องเก็บไข่ที่ควบคุมอุณหภูมิ เมื่อจะต้องนำเข้าตู้ฟักจะต้องนำมาวางไว้ในห้องปกติเสียก่อน เพื่อให้ไข่มีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงค่อยนำเข้าตู้ฟัก มิฉะนั้นอุณหภูมิในตฃู้ฟักไข่จะลดลงอย่างมาก การวางไข่ในถาดฟัก ให้วางไข่ในแนวราบตามแนวยาวของฟองไข่และควรทำเครื่องหมายที่ฟองไข่เพื่อความสะดวกในการกลับ ไข่ อุณหภูมิตู้ฟักไข่ควรตั้งไว้ที่ 37.5 ํC หรือ 99.5 – 99.7 ํ ฟาเรนไฮท์ ในช่วง 25 – 28 วันแรก ความชื้นสัมพัทธ์ของตู้ฟักประมาณ 57 – 62% (ปรอทตุ้มเปียกประมาณ 30 – 31 ํC ) และควรจะพรมไข่ด้วยน้ำอุ่นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ได้มีผู้แนะนำไว้ว่า ในการฟักไข่ห่านได้ผลดีนั้น ควรจะเอาถาดไข่ออกมาวางข้างนอกตู้ฟัก พรมด้วยน้ำอุ่นเป็นฝอย ๆ ตั้งทิ้งไว้สัก 10 – 15 นาที แล้วจึงนำกลับเข้าตู้ฟัก ระหว่างช่วงออก ช่วงที่ลูกห่านจะเจาะเปลือกไข่ ควรจะเพิ่มความชื้นให้สูงขึ้นถึง 73 – 79% (ปรอทตุ้มเปียกประมาณ 32.7 – 33.8 ํC ) ความชื้นสูงในช่วงนี้จะช่วยทำให้เยื่อหุ้มเปลือกไข่นุ่ม เป็นการง่ายสำหรับลูกห่านจะได้โผล่ออกมา การส่องไข่ระหว่างฟัก การส่องไข่เป็นการตรวจดูว่าไข่ฟองไหนมีเชื้อหรือไม่มีเชื้อ การส่องไข่ควรกระทำในห้องมืดโดยใช้ที่ส่องไข่ส่องดู หรือจะจับไข่มาส่องกับแสงสว่างดูก็ได ควรส่องไข่ดู 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อฟักไข่ไปได้แล้ว 10 วัน และครั้งที่ 2 เมื่อครบ 28 วัน หรืออีก 3 วัน ก่อนครบกำหนดออกเป็นตัว เมื่อส่องไข่ครั้งแรกพบไข่ไม่มีเชื้อหรือไข่เชื้อตาย จะต้องนำไข่ออกไปจากตู้ฟักไข่ให้หมด เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อการฟักของไข่มีเชื้อไข่มีเชื้อจะมองเห็นเหมือนไข่ธรรมดา ไข่เชื้อตายจะปรากฎเป็นจุดดำติดอยู่กับเยื่อเปลือกไข่ซึ่งจะมีวงเลือดปรากฎให้เห็น ส่วน ไข่มีเชื้อและกำลังเจริญเติบโตจะเห็นเป็นจุดดำที่ส่วนท้ายของไข่ใกล้กับช่องอากาศ และมีเส้นเลือดกระจายออกไปรอบ ๆ จุดนี้ ในการส่องไข่ครั้งที่ 2 เมื่อได้ทำการฟักไปแล้ว 28 วัน หรืออีก 3 วัน ก่อนกำหนดออกเป็นตัว ไข่ที่เชื้อยังดีอยู่และกำลังออกเป็นตัว จะปรากฎเป็นสีดำทืบไปหมด ยกเวว้นส่วนที่เป็นช่องอากาศจะมองเห็นการเคลื่อน ไหวของลูกห่านที่กำลังจะออกด้วย อัตราการฟักออกเป็นตัวของไข่ห่าน ไข่ที่เก็บในระยะแรกของการให้ไข่จะฟักออกเป็นตัวดีที่สุด แล้วค่อย ๆ ลดลงเรื่อยๆ ตามระยะของการให้ไข่ ซึ่งเฉลี่ยตลอดฤดูการให้ไข่อัตราการฟักออกประมาณ 66% การดูเพศของห่าน ในลูกห่านจะตรวจดูเพศได้โดย

hannsoom

1. ปลิ้นก้นดู ซึ่งเหมือนกับวิธีดูเพศลูกเป็ด วิธีนี้สามารถดูเพศลูกห่านได้เมื่ออายุ 1 – 2 วัน โดยใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกดเหนือทวารด้านบนแล้ว ใช้นิ้วหัวแม่มือกดปลิ้นทวาร ถ้าเป็นลูกห่านตัวผู้จะเห็นเป็นเดือยเล็ก ๆ คล้ายเข็มหมุดออกมา ส่วนตัวเมียเมื่อปลิ้นก้นดูไม่มีเดือยเล็ก ๆ โผล่ออกมา

hannloogona

2. ดูปีก เมื่อลูกห่านอายุประมาณ 3 – 4 วัน จะสังเกตได้โดยดูปมที่ข้อศอกด้านในปีก ถ้าเป็นลูกห่านตัวผู้ปมจะใหญ่ มีสีดำ ลักษณะยาวรี ไม่มีขนปกคลุม มีขนาดเท่าปลายดินสอ มองเห็นได้ชัดเจน แต่ถ้าเป็นลูกห่านตัวเมียจะไม่มีปมดังกล่าว หรือถ้ามีขนาดจะเล็กมาก และมีขนปกคลุมจนมองไม่เห็น 3. ดูสีขน วิธีนี้ใช้ดูด้ในห่านพันธุ์พิลกริม และพันธุ์เอ็มเด็นเท่านั้น คือ ลูกห่านพันธุ์พิลกริมตัวผู้จะมีสีครามอ่อนๆ เกือบขาว แต่ลูกห่านตัวเมียจะมีสีเทา ส่วนลูกห่านพันธุ์เอ็มเด็นตัวผู้จะมีสีขาวมากปนกับสีเทาอ่อนเพียงเล็กน้อย ส่วนตัวเมียจะมีสีเทามากปนสีขาวเพียงเล็กน้อย เมื่อลูกห่านโตแล้วจนเป็นห่านรุ่นขึ้นไป จะสังเกตลักษณะเพศได้โดย

  1. วิธีดูอวัยวะเพศ โดยจับห่านวางบนโต็ะ หรือวางบนโคนขาของผู้จับ ให้หางห่านชี้ออกไปจากตัวผู้จับห่าน แล้วใช้นิ้วชี้ซึ่งทาวาสลีนสอดเข้าไปในรูทวาร ลึกประมาณครึ่งนิ้ว วนรอบๆ ทวารหลายๆ ครั้ง หลังจากนั้นค่อยๆ กดด้านล่างหรือด้านข้างของทวาร หากเป็นตัวผู้ซึ่งมีอวัยวะเพศคล้ายเกลียวเปิดจุกก๊อกจะโผล่ออกมาให้เห็น
  2. วิธีฟังเสียง ในห่านที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ห่านตัวผู้จะมีเสียงแหบต่ำ ส่วนตัวเมียจะมีเสียงใสกังวานชัดเจน
  3. วิธีดูลักษณะรูปร่าง ในห่านอายุเท่ากัน ห่านตัวผู้จะสังเกตได้จากลักษณะรูปร่าง ซึ่งมีลำตัวยาวกว่า คอยาวกว่า และหนากว่า อีกทั้งขนาดตัวใหญ่กว่า

โรงเรือน
ปกติแล้วโรงเรือนสำหรับเลี้ยงห่านใหญ่ไม่ค่อยจะจำเป็นนัก นอกจากลูกห่านในระยะแรกเกิด ควรจะมีโรงเรือนเลี้ยงเป็นสัดส่วน แต่อย่างไรก็ตามอาจจะสร้างเป็นโรงเรือนเล็ก ๆ สำหรับใช้เลี้ยงห่านโดยทั่วไปก็ได้ อย่างเช่น โรงเรือนเลี้ยงไก่หรือเป็ด แต่หากจะประหยัดหรือลดต้นทุนการผลิตอาจจะกั้นบริเวณใต้ถุนหรือบริเวณลานบ้าน ใช้สังกะสีหรือลวดตาข่ายสูง 1 เมตร ล้อมกั้นบริเวณก็ได้ เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนสถานที่ สิ่งที่สำคัญก็คือ พื้นเล้าของโรงเรือน หรือบริเวณที่กั้นเลี้ยงห่านจะต้องแห้ มีสิ่งรองพื้นหนาพอสมควร ในการเลี้ยงปล่อยควรมีร่มต้นไม้ไว้สำหรับห่านได้หลบแดดด้วย ความต้องการพื้นที่ของห่านขนาดต่าง ๆ ลูกห่านอายุ 1 สัปดาห์ ควรจัดให้มีพื้นที่ 1/2 – 3/4 ตารางฟุต/ตัว ลูกห่านอายุ 2 สัปดาห์ ควรจัดให้มีพื้นที่ 1 – 1ครึ่ง ตารางฟุต/ตัว ลูกห่านอายุ 2 สัปดาห์ขึ้นไป อย่างน้อย 2 ตารางฟุต/ตัว * * แต่ควรปล่อยอิสระออกเลี้ยงในทุ่งหญ้าหรือแปลงหญ้า

hannkak
การเลี้ยงห่านอาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 อย่าง คือ

  1. การเลี้ยงห่านเพื่อผลิตไข่ แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก ทั้งนี้เนื่องจากห่านไข่ไม่ดก เพราะให้ไข่ปีละ 4 – 5 ครั้ง ๆ ละ 7 – 10 ฟอง เท่านั้น
  2. การเลี้ยงห่านเพื่อขยายพันธุ์ โดยทั่วไปแล้วห่านที่เลี้ยงไว้เพื่อการขยายพันธุ์จะเป็นห่านที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป ซึ่งการให้ไข่ปีที่ 2 และปีที่ 3 ห่านจะให้ไข่ดี
  3. การเลี้ยงห่านเนื้อ เพื่อขายเป็นห่านกระทง อายุระหว่าง 2 – 4 เดือน ห่านที่ใช้เลี้ยงเป็นห่านเนื้อ ควรจะเจริญเติบโตเร็วมีขนสีขาวและขนขึ้นเต็ม มีซากตกแต่งแล้วขนาดปานกลาง

วิธีเริ่มต้นเลี้ยงห่าน ทำได้ 2 วิธี คือ

  1. ซื้อไข่มาฟักเอง ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากเล็กน้อยและต้องรู้จักวิธีการ
  2. ซื้อลูกห่านมาเลี้ยง เป็นวิธีที่สะดวกกว่า โดยทั่วไปแล้วอาจจะกล่าวได่ว่าการเลี้ยงห่านส่วนมากเลี้ยงเพื่อขายเป็นห่านเนื้อ ส่วนการที่จะเริ่มเลี้ยงเมื่อไรนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด อย่างเช่น ความต้องการของตลาดสำหรับห่านเนื้อมีมากในเทศกาลตรุษจีน ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องเริ่มเลี้ยงล่วงหน้าก่อนเทศกาลตรุษจีนประมาณ 3 – 4 เดือน เป็นต้น แต่โดยทั่วไปก็มีการเลี้ยงห่านกันตลอดปี

การจัดการและเลี้ยงดูลูกห่าน
หากอากาศไม่หนาวเย็นหรือในระหว่างหน้าร้อน การกกลูกห่านจะกกเฉพาะในเวลากลางคืนเท่านั้น ซึ่งจะกกประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ หากใช้แม่ไก่หรือแม่ห่านกก ซึ่งเป็นการกกแบบธรรมชาติ ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แม่ไก่ตัวหนึ่งจะกกลูกห่านได้ประมาณ 4 – 5 ตัว ส่วนแม่ห่านจะกกลูกห่านได้ประมาณ 7 – 8 ตัว หากมีลูกห่านเกิดใหม่จำนวนมาก ก็ควรจะใช้วิธีกกแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจจะใช้

  1. ตะเกียง การใช้ตะเกียงกก ตะเกียง 1 ดวงจะใช้กกลูกห่านได้ประมาณ 15 – 35 ตัว ควรใช้สังกะสีทำเป็นวงล้อมกันไม่ให้ลูกห่านถูกตะเกียง และมีวงล้อมด้านนอกกั้นมิให้ลูกห่านออกไปไกลจากตะเกียงซึ่งเป็นแหล่งให้ความร้อน
  2. เครื่องกก ซึ่งอาจจะใช้ไฟฟ้าหรือแก๊สก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วนิยมใช้ไฟฟ้า อาจจะเป็นลักษณะเป็นกรงกก หรือเป็นลักษณะฝาชีก็ได้ กรงกกกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ใช้กกลูกห่านได้ประมาณ 50 – 75 ตัว ถ้าเป็นแบบเครื่องกกฝาชี ซึ่งกกลูกไก่ได้ 500 ตัว ก็จะใช้กกลูกห่านได้ 250 ตัว ในการใช้เครื่องกกลูกห่าน จะต้องสังเกตการแสดงออกของลูกห่านเป็นเครื่องชี้ให้ทราบว่า ความร้อนที่ใช้กกเหมาะสมพอดีหรือไม่ เช่น ลูกห่านเบียดสุมกันและส่งเสียงดัง แสดงว่าความร้อนไม่พอ หรือลูกห่านยืนอ้าปาก กางปีกออก แสดงว่าความร้อนมากเกินไป

hannmung

โรงเรือนหรือสถานที่ที่ใช้กกลูกห่านในช่วงนี้ พื้นเล้าจะต้องแห้งมีแสงสว่างพอควร ไม่มีหยักไย่หรือฝุ่นละอองสกปรก อากาศถ่ายเทได้ดีและสามารถป้องกันมิให้ สุนัข แมว หรือ หนู เข้าไปรบกวนทำอันตรายลูกห่านได้ จากช่วงแรกเกิดถึงอายุ 3 สัปดาห์ จะใช้อาหารลูกไก่สำเร็จรูปชนิดอัดเม็ดมาใช้เลี้ยงลูกห่านก็ได้ หรือหากผสมอาหารเอง เมื่อผสมแล้วจะต้องมีโปรตีนประมาณ 20 – 22% และผสมน้ำพอหมาดๆ ให้กินก็ได้ หากจะใช้รางน้ำหรือรางอาหารที่ใช้เลี้ยงลูกไก่มาใช้เลี้ยงลูกห่านก็ได้ แต่ควรจัดให้มีพื้นที่ขอบรางน้ำสำหรับลูกห่านหนึ่งตัวอย่างน้อย 3/4 นิ้ว และขอบรางอาหาร 1/2 นิ้ว ตั้งแต่แรกเกิดจยถึง 24 – 48 ชั่วโมง ไม่ต้องให้อาหารลูกห่าน หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหาร ควรให้อาหารลูกห่านกินบ่อยๆ วันละประมาณ 3 – 5 ครั้ง ปริมาณอาหารที่ให้กิน ประมาณว่าให้แต่ละครั้งลูกห่านกินหมดพอดี หรือหากเหลือก็น้อยที่สุด โดยเฉลี่ยลูกห่านจะกินอาหารวันละประมาณ 10% ของน้ำหนักตัว มีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา

hannlan

การจัดการและเลี้ยงดูห่านรุ่น
หลังจากที่ลูกห่านมีอายุ 3 สัปดาห์แล้ว อาหารที่ใช้เลี้ยงควรจะเปลี่ยนเป็นอาหารที่มีโปรตีนประมาณ 17 – 18 % หรือจะใช้อาหารสำเร็จรูปสำหรับไก่รุ่นก็ได้ และควรจะให้ห่านได้กินหญ้าสดโดยเร็วเท่าที่จะเป็นได้ โดยค่อยๆ ปล่อยให้ห่านหัดหาหญ้ากินเอง แล้วจัดอาหารผสมเสริมไว้ให้กินในตอนเย็นประมาฯ 100 – 500 กรัม/ตัว จริงอยู่ที่ว่าห่านสามารถเจริญเติบโตได้ดีถึงแม้จะเลี้ยงด้วยหญ้าสดเพียงอย่างเดียว แต่การให้อาหารผสมเสริมให้ห่านกินจะทำให้มีการเจริญเติบโตดีและเร็วขึ้น ในที่ที่ปล่อยห่านไปหาหญ้ากิน ควรมีร่มต้นไม้หรือทำร่มไว้ให้ในระหว่างอากาศร้อน หากสามารถทำแปลงหญ้าสำหรับห่านได้โดยเฉพาะเป็นการดีอย่างยิ่ง อีกทั้งประหยัดต้นทุนการผลิตด้วย ห่านชอบกินหญ้าที่ต้นอ่อนยังสั้นอยู่และนุ่ม แปลงหญ้าที่ปล่อยให้ห่านเข้าไปกินแล้วจะต้องตบแต่งเป็นการทำให้หญ้าที่เหลือค้างอยู่ไม่แก่ การตัดในช่วงห่างสม่ำเสมอกัน จะช่วยทำให้หญ้าไม่ยาวและมีเยื่อใยมากเกินไป แปลงหญ้าที่ได้รับการบำรุงอย่างดี เนื้อที่ 1 ไร่ จะเลี้ยงห่านได้ประมาณ 30 – 50 ตัว การจัดการและเลี้ยงดูห่านเนื้อ ปกติแล้วในบ้านเราจะเลี้ยงห่านจนมีอายุประมาณ 4 – 5 เดือน ก็จับขาย เมื่อประมาณว่าจะจับขายเมื่อใด ก่อนหน้านั้นสัก 4 สัปดาห์ อาหารผสมที่ใช้เลี้ยงจะลดจำนวนโปรตีนลงเหลือประมาณ 14% หรือใช้อาหารไก่เนื้อช่วงสุดท้ายก็ได้ ห่านรุ่นทั้งตัวผู้และตัวเมียที่ไม่ได้คัดเลือกไว้ทำพันธุ์ ควรจะนำมาเลี้ยงขุนเพื่อขายเป็นห่านเนื้อในช่วง 4 ปดาห์นี้ควรจับห่านขังไว้ในคอกเล็ก ๆ ไม่ต้องปล่อยไปหากินหญ้า แต่ควรตัดหญ้านำมาให้กินในคอก เพื่อห่านจะได้มีน้ำหนักตัวเพิ่มเร็วขึ้นและเนื้อมีคุณภาพดี

hanndek

วิธีขุนอาจจะแบ่งขุนเป็น
1. ขุนขังคอกเล็ก จับห่านขังคอกประมาณ 20 – 25 ตัว ต่อคอก มีพื้นที่ขนาดให้พออยู่ได้สบายๆ ไม่ต้องมีลานวิ่ง พื้นคอกมีวัสดุรองพื้น จะจัดกั้นลานเล็กๆ ให้อยู่ก็ได้ ให้อาหารกินวันละ 3 เวลา น้ำให้กินตลอดเวลาและมีข้าวโพดและข้าวเปลือกหญ้าสดหรือเศษผักที่ไม่มีสารพิษตกค้างให้กินด้วย
2. ขุนเป็นฝูงใหญ่ ฝูงละ 100 ตัวขึ้นไป ซึ่งอาจจะใช้วิธีเดียวกับการเลี้ยงไก่กระทงก็ได้ โดยใช้โรงเรือนแบบเดียวกัน พื้นคอกต้องมีวัสดุรองพื้น หรือจะใช้เป็นพื้นลวดตาข่ายก็ได้ อาหารที่ใช้ขุนจะใช้อาหารไก่กระทงช่วงสุดท้าย หรือผสมใช้เองก็ได้ พร้อมทั้งมีพาชนะใส่น้ำไว้ให้กินด้วย หรืออาจจะใช้วิธีขุนในแปลงหญ้าโดยเฉพาะ และมีอาหารผสมเสริมให้กิน ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ระยะการขุนสั้นเข้า

hannnamm

การจัดการและการเลี้ยงดูห่านพันธุ์และห่านกำลังไข่
ห่านจะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 165 วันหรือประมาณ 5 เดือนครึ่งขึ้นไป ซึ่งตามธรรมชาติแล้วเมื่อห่านจะเริ่มให้ไข่ แม่ห่านจะหารังไข่เอง ฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องจัดทำรังไข่ให้ ซึ่งอาจทำได้หลายลักษณะ เช่น ทำเป็นช่องๆ เหมือนรังไข่สำหรับเป็ดหรือไก่ ช่องละ 1 ตัว ควรมีขนาดอย่างน้อยกว้าง 18 นิ้ว ลึก 20 นิ้ว สูง 40 นิ้ว หรืออาจจะทำเป็นรังไข่ตามยาวโดยไม่ต้องกั้นแบ่งช่องก็ได้ พร้อมทั้งมีวัสดุรองพื้นที่รองไว้ให้หนาพอสมควร เพื่อไข่จะได้สะอาด อย่างน้อยจะต้องมีรังไข่ 1 รัง สำหรับห่าน 5 – 6 ตัว ห่านจะให้ไข่เป็นชุดๆ ในปีหนึ่งโดยเฉลี่ยประมาณ 3 – 4 ชุด แต่อาจให้ไข่ตั้งแต่ 1 – 7 ชุด ชุดหนึ่งจะให้ไข่ประมาณ 7 – 10 ฟอง แต่บางครั้งอาจได้ครั้งละ 9 – 12 ฟอง ซึ่งการให้ไข่ในชุดที่ 2 จะให้ไข่มากกว่าชุดอื่นๆ และแต่ละชุดจะใช้เวลาประมาณ 10 – 15 วัน

hannkinhanntung hannboo

การป้องกันโรค

  1. รักษาความสะอาดของบริเวณที่เลี้ยงห่านอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้บริเวณที่เลี้ยงเปียกแฉะ ภาชนะที่ใส่อาหารและน้ำต้องทำความสะอาดอยู่เป็นประจำ
  2. อาหารที่ใช้เลี้ยงห่านต้องเป็นอาหารใหม่และคุณภาพดี น้ำที่ใช้กินต้องเป็นน้ำสะอาด
  3. ควรจัดให้มีภาชนะใส่น้ำยาฆ่าเชื้อโรคตั้งไว้ เพื่อให้บุคคลภายนอกจุ่มเท้าก่อนจะเข้าบริเวณที่เลี้ยงห่าน
  4. ไม่นำห่านจากที่อื่นมาเลี้ยงรวมกับห่านที่เลี้ยงไว้เดิม จนกว่าจะได้กักดูอาการก่อนประมาณ 15 วัน
  5. หากมีห่านป่วยอ่อนแอ ให้รีบแยกเลี้งไว้ต่างหาก ปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการรักษา ถ้ามีห่านตายต้องจัดการฝังอย่างมิดชิด หรือเผาเสีย อย่าได้โยนทิ้งหรือนำไปให้สัตว์อื่นกิน
  6. ปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค และการถ่ายพยาธิที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

ที่มา
สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สัตว์

แสดงความคิดเห็น