กุ่มน้ำขึ้นทั่วไปทุกภาคตามริมฝั่งแม่น้ำ ขอบบึง ถิ่นกำเนิด การกระจายพันธุ์ อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ มาเลเซีย และภูมิภาคอินโดจีน การใช้งานด้านภูมิทัศน์ เหมาะสำหรับบ้านที่มีระดับน้ำใต้ดินสูงหรือน้ำท่วมขัง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crateva religiosa Ham.
ชื่อวงศ์ : Cappardaceae
ชื่ออื่นๆ กุ่ม (เลย) อำเภอ (สุพรรณบุรี) ผักกุ่ม ก่าม(ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะ
ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง ลำต้นมักคดงอและแตกกิ่งต่ำ เปลือกค่อนข้างเรียบสีเทาอมขาวหรือเทาแต้มขาวเป็นทาง มีช่องระบายอากาศเล็กๆตามผิวทั่วไป
การใช้งานด้านภูมิทัศน์
ปลูกริมน้ำ เหมาะสำหรับบ้านที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ทนน้ำท่วมขัง
ประโยชน์
เปลือกต้นใช้เป็นยาระงับพิษที่ผิวหนัง แก้ไข้ แก้อาเจียน ใบเป็นยาเจริญอาหาร ยาระบาย ขับพยาธิ ดอกและใบอ่อนดองหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริกได้
หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ แก่น ต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย เปลือกต้น ทำเป็นยาลูกกลอน แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต
ตำรายาไทย ใช้ ใบ รสขมหอม ขับเหงื่อ แก้ไข้ เจริญอาหาร ระบาย บำรุงธาตุ ขับพยาธิ แก้ปวดเส้น แก้อัมพาต แก้โรคไขข้ออักเสบ แก้สะอึก ขับผายลม แก้ลมขึ้นเบื้องสูง ดอก รสเย็น แก้เจ็บในตา แก้ไข้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เจ็บคอ ผล รสขม แก้ไข้ เปลือกต้น รสขมหอม แก้สะอึก ขับผายลม ขับเหงื่อ แก้ในกองลม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงผอมแห้ง ระงับพิษที่ผิวหนัง แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย เป็นยาบำรุง ขับน้ำดี ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ แก้อาเจียน แก้ลมทำให้เรอ ผสมรวมกับเปลือกกุ่มบก เปลือกทองหลางใบมน ต้มน้ำดื่ม เป็นยาขับลม แก้สะอึก กระพี้ รสร้อน แก้ริดสีดวงทวาร แก่น รสร้อน แก้นิ่ว ราก แช่น้ำกิน บำรุงธาตุ ใบและกิ่ง มีสารไฮโดรเจนไซยาไนด์ซึ่งเป็นพิษ ไม่ควรกินสดควรดอง หรือต้มเพื่อกำจัดพิษก่อนกิน
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง