กุ้งก้ามแดง กุ้งสวยงามเป็นอาหาร

22 มกราคม 2560 สัตว์ 0

กุ้งก้ามแดง มีถิ่นกำเนิดที่ ออสเตรเลีย ขนาดโตเต็มที่ 12 นิ้วอายุเฉลี่ย 4ปี ในธรรมชาติ ถ้าเลี้ยงใส่ตู้กระจก อยู่ได้ 2-3 ปี อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยง 25-28 องศา ถือว่า อากาศและอุณหูภูมิในบ้านเรา กำลังดี

จุดเด่นของกุ้งก้ามแดง ก็คือ กุ้งก้ามแดง เป็นกุ้งที่มีเปลือกหนา ปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมต่างๆ และมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี จึงเป็นกุ้งที่สามารถเลี้ยงได้ในสภาพแวดล้อมทั่วไปได้ แม้แต่ในนาข้าว ในบ่อดินหรือกระชังในแม่น้ำ โดยมีอัตราการสูญเสียหรืออัตราการตายน้อยมาก อัตราการรอดสูง เจริญเติบโตเร็ว ที่สำคัญสามารถขยายพันธุ์หรือเพาะลูกพันธุ์ได้โดยไม่ต้องใช้น้ำเค็ม จึงเป็นจุดเด่นที่ทำให้กุ้งก้ามแดงเลี้ยงได้ทุกพื้นที่ของไทย

กุ้งก้ามแดงเป็นกุ้งชนิดแรกที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงทดลองเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร เพราะเป้นกุ้งที่มีการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็วและมีขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นคือ มีขนาดใหญ่และสีของกุ้งมีการเปลี่ยนแปลงตลอด แต่สีที่พบมากที่สุดคือ สีเขียว สีน้ำตาล และสีน้ำเงิน ซึ่งคนไทยจะเรียกว่า บลู ล็อปเตอร์ บางที่ก็เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามแล้วนำจำหน่ายได้ในราคาสูง

กุ้งชนิดนี้มีจุดเด่นอีกอย่างคือ แถบข้างของก้ามจะมีสีแดง และ สีส้ม เป็น เอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งแถบสีเหล่านี้ จะพบกับกุ้งเพศผู้เท่านั้น ส่วนเพศเมียจะไม่มีแถบสี กุ้งชนิดนี้เลี้ยงง่าย ปรับตัวได้ไวและภูมต้านทานโรคสูง ปัจจุบันเกษตรนำมาเลี้ยงเป็นกุ้งเนื้อ และเป็นที่ต้องการของตลาด

การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในบ่อแบบต่างๆ ทั้งบ่อดิน บ่อซีเมนต์ บ่อพลาสติก เนื่องจากกุ้งก้ามแดงเป็นกุ้งที่ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี อีกทั้งยังโตเร็ว ทำให้ผู้คนหันมาสนใจกันมากขึ้น ทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงคือเลี้ยงในบ่อ เช่น
เลี้ยงกุ้งก้ามแดงบ่อพลาสติก ลงทุนน้อย ทำได้ง่าย พร้อมเลี้ยงทันที หาซื้อวัสดุอุปกรณ์ได้ตามร้านขายอุปกรณ์การทำเกษตรทั่วไป เหมาะสำหรับเลี้ยงเป็นทั้งอาชีพเสริมและอาชีพหลัก
เลี้ยงกุ้งก้ามแดงบ่อซีเมนต์หรือบ่อปูน ก็เหมาะสำหรับการเลี้ยงทั้งปริมาณน้อยๆ เป็นอาชีพเสริม หรือเพื่อศึกษาก่อน หรือแม้กระทั่งเลี้ยงในปริมาณมากๆ ลงทุนหนักครั้งเดียวใช้ได้นานหลายปี บริหารจัดการง่าย สะดวก
เลี้ยงกุ้งก้ามแดงบ่อดิน หรือนาข้าว สำหรับคนที่มีพื้นที่มาก มีน้ำเพียงพอ สามารถเลี้ยงได้ในปริมาณมากๆ ทำได้ทั้งอาชีพเสริม เช่นชาวนา ก็เลี้ยงในนาข้าว หรือทำเป็นบ่อเลี้ยงเฉพาะ ก็ได้

การเริ่มต้นการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง แบบเลี้ยงเพื่อเศรษฐกิจ จะต้องทำอย่างไรบ้าง

  1. การเตรียมน้ำ ต้องเตรียมน้ำ ยกตัวอย่างเลี้ยงในตู้ 24 นิ้ว ใส่น้ำประมาณ 50 ลิตร เติมเกลือแกงไปประมาณ 2-4 ช้อนโต๊ะ เปิด ออกซเจนทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง ไม่ต้องใส่น้ำยาลดคลอรีน ก่อนนำกุ้งลงตู้ให้เอาถุงใส่กุ้งลอยน้ำทิ้งไว้ 15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิให้กับกุ้ง
    ** กรณีเลี้ยงบ่อดิน บ่อผ้าใบพลาสติก ใส่น้ำความสูง 30-40 เซนติเมตร เติมเกลือ อัตราน้ำ 1000 ลิตร ต่อ 1 กิโลกรัม ปั๊มออกซิเจน หรือใบพัดปั่นน้ำ ในบ่อทิ้งไว้ 5-6 ชั่วโมง ค่อยนำกุ้งลง แล้วแต่ ขนาดของบ่อ **
  2. ปรับอุณหภูมิการเลี้ยงไว้ที่ 20-30 องศาเซลเซียส
  3. สังเกตการลอกราบของกุ้ง ซึ่งช่วงเวลานี้กุ้งจะบอบบางและอ่อนแอมาก จะสังเกตอย่างไร แบ่งออกเป็นข้อๆได้ตามนี้ครับ
    – ปริมาณการกินอาหารน้อยลง
    – รอยต่อของลำตัวจะเปิด
    – จับดูที่เปลือกหัวจะนุ่มนิ่มแสดงว่าใกล้ลอกคราบ
    – แต่ถ้าห้วเปิดแล้วตัวยังแข็งอยู่แสดงว่ายังไม่ลอกคราบ อาจจะเกิดจากการที่กุ้งกินอาหารมากเกินไป ทำให้เปลือกบริเวฯรอยต่อยกขึ้นเหมือนลอกคราบ
  4. การถ่ายน้ำในกรณีเลี้ยงตู้ควรถ่ายทุกๆ 7-10 วัน ** ส่วนบ่อดิน บ่อผ้าใบพลาสติก สูบน้ำเก่าออกเติมน้ำใหม่เข้า ทุก 2 สัปดาห์ ** ไม่ควรเปลี่ยนน้ำทิ้งทั้งหมด จะทำให้กุ้ง น็อคน้ำได้
  5. อาหาร สำหรับกุ้งชนิดนี้กินได้ทั้งพืชและสัตว์และอาหารเม็ด ยกตัวอย่างอาหารของกุ้งก้ามใหญ่ เช่น สาหร่ายหางกระรอก แครอท และพืชน้ำอื่นๆ ประเภทเนื้อสัตว์จะเป็นพวก กุ้งฝอยต้ม เนื้อปลาตัวเล็กๆ *หนอนแดง กรณีเลี้ยงในตู้หรือ บ่อพลาสติก*
  6. การเพาะพันธุ์ กุ้งก้ามใหญ่ จะเริ่มผสมพันธุ์ที่ขนาดประมาณ 3 นิ้วขึ้นไป ( ขึ้นอยู่กับความสมบูรณื และสายพันธุ์ ) หลังจากผสมแล้ว ตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมาใต้หาง และใช้เวลา 30 วันลูกจะเป็นตัวแล้วจะลงดิน อัตตราการผสม ตัวผู้ 1 ตัว ต่อ ตัว เมีย 3 ตัว

แนวทางการเลี้ยงแบบสวยงาม
กุ้งเครย์ฟิช สามารถนำมาเลี้ยงในตู้ปลาได้ แต่หากเลี้ยงรวมกันหลายตัว ควรจะเลี้ยงในตู้ปลาขนาดใหญ่ ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว เพราะกุ้งเครย์ฟิช มีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว และหวงถิ่นที่อยู่ เมื่อมีเนื้อที่กว้างจะทำให้กุ้งแต่ละตัวสามารถสร้างอาณาเขตของตนเองได้ หากนำมาเลี้ยงรวมกันอย่างหนาแน่นจะพบว่า กุ้งเครย์ฟิช ขนาดเล็กมักถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกกุ้งเครย์ฟิชที่มีขนาดใหญ่กว่ากิน เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ ควรใส่ขอนไม้ กระถางต้นไม้แตกๆ หรือท่อ พีวีซี ตัดเป็นท่อนๆ เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชได้หลบอาศัยในเวลากลางวัน เพราะปกติช่วงกลางวันเป็นเวลาที่มันจะอยู่เงียบๆ แต่จะออกมาหาอาหารในเวลากลางคืนมากกว่า

สำหรับการตกแต่งตู้เลี้ยง กุ้งเครย์ฟิชนั้น หากชอบให้ตู้โล่งก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่ควรใส่ท่อพีวีซีลงไปด้วย เพื่อให้กุ้งได้ใช้ในการหลบซ่อนตัว แต่หากต้องการให้ตู้เลี้ยงมีความสวยงามก็สามารถใช้กรวดปูพื้นตู้ได้ แต่มักพบว่า กุ้งเครย์ฟิชมีนิสัยชอบขุดคุ้ยกรวดเพื่อสร้างเป็นที่กำบังในเวลากลางวัน จึงทำให้ไม่เป็นเหมือนครั้งแรกที่แต่งไว้ ทั้งนี้ จึงควรจะปูกรวดให้หนา ไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชขุดกลบลำตัวได้ แต่ไม่ควรปูพื้นตู้ด้วยทราย เพราะมีความหนาแน่นสูง หากกุ้งเครย์ฟิชมุดลงไปแล้วอาจทำให้ขาดอากาศหายใจได้

ผู้เลี้ยงไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งปั๊มออกซิเจนในตู้เลี้ยงก็สามารถทำได้หากเลี้ยงจำนวนน้อย แต่หากต้องการจะติดตั้งเครื่องปั๊มออกซิเจนก็ปล่อยอากาศให้น้ำกระเพื่อมเบาๆ ก็พอ ส่วนระบบกรองน้ำ ควรใช้ชนิดกรองบน กรองแขวน หรืออาจจะใช้กรองฟองน้ำที่เป็นตุ้มก็เพียงพอ แต่ไม่ควรใช้ชนิดกรองใต้ตู้ เพราะกุ้งเครย์ฟิชมักจะขุดกรวดขึ้นมา

อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการ เลี้ยงกุ้งเครย์ฟิช คือ ประมาณ 23-28 องศาเซลเซียส ค่าพีเอช ที่เหมาะสมคือ ประมาณ 7.5-10.5 แต่หากน้ำมีความกระด้างสูง ก็สามารถใส่เกลือลงไปในตู้ได้ เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำ นอกจากนี้ เกลือยังช่วยเสริมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการลอกคราบและสร้างเปลือกใหม่ ด้วย สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ แต่ทีละน้อย เพื่อป้องกันอุณหภูมิเปลี่ยนฉับพลัน และน้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด

กุ้งเครย์ฟิช สามารถกินอาหารได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก เศษเนื้อสัตว์ หรือให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดจมก็ได้ เพื่อความสะดวก แต่ไม่ควรให้อาหารบ่อย 2-3 วัน ให้ครั้งหนึ่งก็พอ และควรให้น้อยๆ แต่พอดี เพื่อป้องกันการตกค้างของอาหาร ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลต่อการเกิดโรคได้ และควรให้อาหารในเวลากลางคืน เพราะตามธรรมชาติ กุ้งเครย์ฟิชเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินในเวลากลางคืน

สำหรับการเพาะพันธุ์กุ้งเครย์ฟิชนั้นไม่ยาก เพราะสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี และสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย เพียงนำกุ้งเครย์ฟิชตัวผู้กับตัวเมียมาปล่อยรวมกัน แต่ต้องมั่นใจว่าเป็นตัวผู้กับตัวเมีย โดยสังเกตที่อวัยวะสืบพันธุ์ตรงช่วงขาเดิน กุ้งตัวผู้มีอวัยวะคล้ายตะขอบริเวณขาเดินคู่ที่สองและสาม ซึ่งตะขอนี้เอาไว้เกาะตัวเมียตอนผสมพันธุ์ ส่วนตัวเมียจะมีอวัยวะสืบพันธุ์เป็นแผ่นทรงวงรีบริเวณขาเดินคู่ที่ 3

กุ้งเครย์ฟิช ใช้เวลาผสมพันธุ์นานกว่า 10 นาที หลังจากนั้นสามารถย้ายกุ้งตัวเมียไปยังตู้อนุบาลได้ เพื่อเป็นการเตรียมที่อยู่สำหรับลูกกุ้ง หลังจากนั้น ตัวเมียจะทยอยผลิตไข่ขึ้นมาไว้บริเวณขาว่ายน้ำเป็นกระจุก มองคล้ายพวงองุ่น หลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้วตัวเมียจะหาที่หลบซ่อนนอนนิ่งไม่ยอมกิน อะไร ระยะเวลาที่ตัวอ่อนใช้ในการพัฒนารูปร่างนั้นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ปริมาณอาหาร และคุณภาพน้ำด้วย โดยเฉลี่ยไข่จะพัฒนาจนเป็นตัวอ่อนเหมือนโตเต็มวัยภายใน 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้น ลูกกุ้งจะถูกปล่อยให้ว่ายน้ำเป็นอิสระ ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งแม่กุ้งสามารถให้กุ้งได้มากถึง 300 ตัว ซึ่งพ่อแม่กุ้งไม่มีพฤติกรรมกินลูกกุ้งเป็นอาหาร และลูกกุ้งก็จะอยู่ไม่ห่างพ่อแม่นัก เพื่อคอยเก็บเศษอาหารที่เหลือจากพ่อแม่กินเป็นอาหารนั่นเอง

ตัวอ่อนของกุ้งเครย์ฟิช มีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โดยจะกินเศษอาหารก้นตู้เป็นหลัก สามารถให้ไส้เดือนฝอย ไรทะเล เป็นอาหารเสริมได้ แต่ควรระวังเรื่องคุณภาพน้ำด้วย อย่าปล่อยเศษอาหารเหลือทิ้งจนเน่าเสีย ซึ่งควรให้อาหารให้เพียงพอ เพราะตัวอ่อนจะมีพฤติกรรมกินกันเอง

ตู้อนุบาลตัวอ่อนควรมีพื้นที่ และวัสดุหลบซ่อน โดยเฉพาะกระถางต้นไม้ เพราะในช่วงเดือนแรก ลูกกุ้งจะลอกคราบบ่อย ทำให้ลำตัวอ่อนนิ่ม และมีเปอร์เซ็นต์ถูกกินเป็นอาหารมากขึ้น เมื่อลูกกุ้งมีอายุประมาณ 1 เดือน จะเริ่มมีสีสันเหมือนตัวโตเต็มวัย

การลอกคราบเป็นขั้นตอนที่สำคัญใน การเจริญเติบโตของกุ้งเครย์ฟิช เพราะแสดงถึงขนาดลำตัวที่โตมากขึ้น ซึ่งลูกกุ้งจะลอกคราบเดือนละครั้ง โดยมีระยะห่างในการลอกคราบแต่ละครั้งจะยาวนานขึ้นเมื่อกุ้งเจริญเติบโตขึ้น และเมื่อกุ้งเครย์ฟิชโตเต็มที่จะลอกคราบเพียงปีละครั้งเท่านั้น ในการลอกคราบแต่ละครั้ง กุ้งเครย์ฟิชจะมีลำตัวนิ่มและอ่อนแอมาก จึงต้องหาที่ปลอดภัยสำหรับหลบซ่อนและค่อนข้างอยู่นิ่งๆ ประมาณ 2-3 วัน จนกว่าเปลือกจะแข็งเป็นปกติ

อย่างไรก็ตาม หากเห็นว่ากุ้งเครย์ฟิชกำลังลอกคราบ ไม่ควรรบกวน เพราะอาจทำลายความต่อเนื่องของกระบวนการลอกคราบได้ หากกุ้งเครย์ฟิชตกใจอาจทำให้การลอกคราบไม่สมบูรณ์เต็มที่ โดยชิ้นส่วนของเปลือกชุดเก่ายังติดอยู่บริเวณก้าม ในขณะที่เปลือกชุดใหม่เริ่มแข็งตัว อาจทำให้เกิดความผิดปกติได้ อาทิ มีเปลือกสองชั้นทับกัน หรือก้ามบิดเบี้ยวผิดรูปได้

สำหรับเกษตรกรที่สนใจ เลี้ยงกุ้งก้ามใหญ่ หรือ กุ้งเครฟิช สามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์การเรียนรู้ กุ้งเครย์ฟิช หรือ กุ้งก้ามใหญ่

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สัตว์

แสดงความคิดเห็น