ขนุนสำปะลอ ขนุนคล้ายสาเก

30 สิงหาคม 2558 ไม้ผล 0

ในอดีตขนุนสำปะลอจะเป็นที่รู้จักและนิยมปลูกและนิยมปลูกมากในแถบชนบทเกือบทุกภาคของประเทศไทย ทั้งนี้เพราะอาจจะเนื่องจากผล ของขนุนสำปะลอ เมื่อสุกแล้วจะมีกลิ่นหอมชื่นใจเนื้อในมีรสหวานรับประทานได้ ลักษณะต้นก็กะทัดรัดไม่ใหญ่โตจนเติบเกินไป ใบและดอกดูสวยงามแปลกตา
“ขนุนสำปะลอ” พบว่ามีปลูกกันมากมาย ตามบ้านเรือนราษฎรในแถบพื้นที่นอกอำเภอห่างไกลความเจริญ “ขนุนสำปะลอ” มีลักษณะของทรงต้น ใบ ดอก และผลสวยงามสะดุดตา หากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญมองผาด ๆ ก็คิดว่าเป็นต้น “สาเก”

ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus altilis (Parkinson) Fosb.
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่ออื่น ขนุนสำปะลอ

ลักษณะ
ขนุนสำปะลอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้เต็มที่ไม่เกิน 5-10 เมตร ลำต้นเดี่ยวเนื้อไม้แข็ง มีกิ่งแขนงแตกจากโคนต้น แผ่กระจายเป็นทรงกลม ทรงต้นโปร่งเปลือกต้นหนาผิวเปลือกต้นจะเรียบ มีสีน้ำตาลเทา กิ่งและก้านโต

  • ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับใกล้ปลายกิ่ง ลักษณะของใบ มีลักษณะเป็นรูปไข่ใบโตปลายใบแหลม แยกเป็น 3 ส่วน ขอบใบแต่ละส่วนหยักลึกคล้ายใบจักร เป็นแฉก ๆ หรือเป็นริ้วคล้ายใบ “สาเก” ใบอ่อนมีปลอกหุ้มสีแดงนะคะ ดังนั้นช่วงเวลาที่ต้นขนุนสำปะลอมีใบดก
  • ดอกของต้นขนุนสำปะลอ จะมีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษ คือ มีดอกเป็นสีเหลืองอ่อนขนาดเล็กมาก และออกตามแกนช่อดอก ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งทรงกลมหรือทรงกระบอก ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง แต่ละช่อดอกจะตั้งตรงยาวประมาณ 10-15 ซม. รอบแกนช่อดอกจะมีดอกจำนวนมากเบียดกันแน่น
  • ผลเป็นรูปกลมโต ขนาดเท่าผล ส้มโอ ผิวมีหนามแหลมเล็ก ๆ รอบ (จึงทำให้ต่างจากผลสาเก เพราะผลสาเกไม่มีหนาม แต่เป็นรูปตารอบผล) เมื่อผลสุกจะมีกลิ่นหอมชื่นใจ เนื้อในมีรสหวานและมีเมล็ดคล้ายเมล็ด ขนุน สีดำ ดอกและผลจะมีเกือบตลอดทั้งปี เวลามีดอกและผลเต็มต้น

kanoonkmlking kanoonkmlton kanoonkmldib kanoonkmlpon kanoonkmlpol

ประโยชน์
ขนุนสำปะลอ จึงเหมาะที่จะปลูกประดับแบบลงดินกลางแจ้ง เพื่อชื่นชมความสวยงามแปลกตา และใช้ประโยชน์ ส่วนดินปลูกนั้นยิ่งไม่ต้องกังวล เพราะขนุนสำปะลอสามารถเจริญเติบโตได้ในดินเกือบทุกชนิด และเป็นไม้ชอบแดด เพียงคุณผู้ฟังและท่านเกษตรกรบำรุงต้นด้วยปุ๋ยมูลสัตว์ทุก 15 วันต่อครั้ง เมื่อถึงเวลาก็จะให้ดอกและผลสวยงาม
บริโภคส่วนเมล็ดโดยนำมาต้ม รสชาติคล้ายเมล็ดขนุนหรือเก๋าลัดจีนรวมกัน ส่วนใหญ่นิยมทำไส้ขนม
ดอกตากแห้งแล้วนำมาจุดไฟให้เกิดควันใช้ไล่ยุงได้

kanoonkmlmaled kanoonkmlmaleds kanoonkmlmed

สายพันธุ์
ปัจจุบันมีพันธุ์พื้นเมืองเพียงพันธุ์เดียว

kanoonkmlkla

การขยายพันธุ์
ตอน (ดีที่สุด). แยกหน่อที่งอกขึ้นมาจากตาราก. เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์).

ที่มา
งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ผล

แสดงความคิดเห็น