ขาเขียด ผักตบไทยขนาดเล็ก

30 มีนาคม 2559 ไม้น้ำ 0

ผักขาเขียดเป็นไม้น้ำจำพวกผักตับ มีลักษณะเหมือนผักตบไทยแต่มีขนาดเล็กกว่า พืชน้ที่ รากหยั่งลงดิน สามารถดำรงชีวิตเป็นพืชหลายฤดูได้ มีลำต้นใต้ดินสั้นมาก พบขึ้นในบริเวณที่มีน้ำขัง ตามบ่อเลี้ยงปลา และในนาข้าวหรือในดินแฉะๆ พบทั่วไปในประเทศไทย ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นวัชพืชพบมากในนาข้าวทางภาคเหนือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Monochoria vaginalis (Burm.f.) C.Presl ex Kunth
วงศ์ : Pontederiaceae
ชื่อสามัญ : Pickerel weed
ชื่ออื่น : ขาเขียด นิลบล ผักเขียด (ภาคกลาง) ผักเป็ด (ชลบุรี) ผักเผ็ด (นครราชสีมา) ผักริ้น (ภาคใต้) ผักหิน ผักฮิ้น (ภาคหเนือ, อุบลราชธานี) ผักฮิ้นน้ำ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขาเขียดเป็นพืชล้มลุกน้ำอายุปีเดียว (annual) หรือข้ามปี (perennial) ไม่มีลำต้น ต้นที่แก่ๆ จะมีส่วนของก้านใบสุมอัดกันแน่น มองดูเหมือนมีลำต้น แต่ทว่าภายในแยกห่างไม่ติดกัน มีราก (rhizome) สั้นมาก และมีรากฝอยสีน้ำตาลแดงจำนวนมาก

  • ใบ เป็นใบเดียว ออกสลับกันที่โคนของต้น ก้านใบยาว 5-25 ซม. ออกมาจากตาที่ฐาน ค่อนข้างกลมและอวบน้ำ กลวง โคนของก้านใบจะแผ่ออกเป็นกาบหุ้ม แผ่นใบเป็นรูปไข่ หลังใบมน ยาว 5-7 ซม. กว้าง 1.5-5.5 ซม. โคนใบหยักเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ขณะงอกใหม่ๆ ใบมักจะเรียวยาว ไม่มีแผ่นใบ และไม่มีก้าน
  • ดอก ออกเป็นช่อ (spikelike) ออกที่ก้านใบที่ระยะ 2 ใน 3 ของความยาวก้านใบจากฐาน และมีแผ่น (bract) สีเขียวอ่อนคล้ายใบ บาง ปลายแหลม หุ้มช่อดอกขณะที่ยังเจริญไม่เต็มที่ มีดอกย่อย 3-15 ดอก (อาจมีถึง 25 ดอก) ซึ่งถูกเปิดให้โผล่ออกพร้อมๆ กัน หรือในเวลาที่ใกล้เคียงกัน ดอกย่อยแต่ละดอกมีก้านดอกสั้น ยาวไม่เท่ากันตั้งแต่ 4-25 มม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอก (perianth) 6 กลีบ ยาว 11-15 มม. สีม่วงน้ำเงิน ด้านหลังของกลีบจะเป็นสีเขียวจางๆ แต่ละกลีบแยกจากกัน ปลายมน เกสรตัวผู้ 6 อัน ก้านยาวไม่เท่ากัน ก้านเป็นสีม่วง ในจำนวน 6 อัน จะมีอันหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าอันอื่นๆ อับละอองเรณู 2 เซล แตกออกตามยาว รังไข่แบ่งเป็น 3 ห้อง (carpel) ปลายยาว
  • ผล (capsule) ยาวประมาณ 1 ซม. มีส่วนของกลีบดอกหุ้มอยู่ แตกออกตามยาว เป็น 2 ซีก ให้เมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก

kakeadb kakead kakeadna

คุณค่าทางอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย

Cal
Unit
Moist
ure%
Protein
Gm.
Fat
Gm.
CHO
Gm.
Fibre
Gm.
Ash
Gm.
Ca
mg.
P
mg.
Fe
mg.
Vitamins
A.I.U B1
mg.
B2
mg.
Niacin
mg.
C
mg.
ผักขาเขียด 13 95.1 1.4 0 1.8 0.8 1.0 13 6 2.0 3000 0.04 0.10 0.10 8

ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก (ทั้งต้น)
สรรพคุณ
ใบของผักเขียด นำมาคั้นน้ำรับประทาน แก้ไอ ขับปัสสาวะ ตำพอกฝี หรือรับประทานใบสดจะมีสรรพคุณ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย

การขยายพันธุ์ เมล็ด
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พบในบริเวณที่มีน้ำขัง หนอง คลอง บึง พบทุกภาคของประเทศไทย
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ฤดูฝน หรือตลอดปีถ้ามีน้ำขัง

ที่มา
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
กองโภชนาการ กรมอนามัย

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้น้ำ

แสดงความคิดเห็น