ขิงแดง เป็นพืชที่มีการปลูกประดับบ้านเรือนมานานแล้ว มีการดูแลรักษาง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทั่วไป ขยายพันธุ์ได้ด้วยหน่อ และให้ดอกตลอดปี ขิงแดงมีช่อดอกที่สวยงาม
สามารถบานอยู่บนต้นได้นาน และมีรูปทรงของดอกที่แปลกกว่าไม้ดอกชนิดอื่นๆ ประกอบกับเมื่อนำมาปักแจกัน พบว่า มีอายุการปักแจกันที่เหมาะสม ทําให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ดังจะเห็นได้จาก
วิวัฒนาการจากการปลูกเป็นไม้ประดับบริเวณบ้าน มาเป็นการปลูกเพื่อตัดดอกเป็นการค้ามากขึ้น จากข้อมูลการซื้อขายที่ปากคลองตลาดพบว่ามีการซื้อขายขิงแดงเป็นปริมาณ 2,000 ดอก/สัปดาห์คิดเป็นมูลค่า 10,000 บาท/สัปดาห์และยังพบว่ามีการส่งออกบ้างแหล่งพันธุ์ที่ผลิตขิงแดง ปัจจุบันจะพบในจังหวัดปริมณฑล ได้แก่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี อ. กระทุ่มแบน อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร อ.สามพราน จ.นครปฐม และอ.ท่าม่วง และกิ่ง อ. ด่านมะขามเตี้ย จ. กาญจนบุรี
ขิงแดง (Red ginger) เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่ให้ดอกสีแดงสดสวยงาม และออกดอกบานนาน เป็นพันธุ์ไม้ที่เติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน และมีความคงทนต่อสภาพอากาศ ปลูกได้ดีในที่โล่ง และแดดส่องถึง มักพบปลูกมากในสวนหย่อมหรือสวนในบ้านเรือน ในบางท้องถิ่นมีการปลูกมากเพื่อตัดดอกส่งจำหน่าย ซึ่งมีทั้งตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศ สำหรับตลาดต่างประเทศที่มีการส่งจำหน่าย ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรต บาห์เรน ซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia purpurata (Vieill.) K. Schum.
ชื่อพ้อง : Alpinia grandis Schum.
ชื่อสามัญ : ขิงแดง, Red ginger
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น : ขิงแกลง , ขิงแดง , ขิงเผือก , สะเอ
ถิ่นกำเนิด : ประเทศนิวคาลีโดเนีย, หมู่เกาะโซโลมอน,ประเทศวานาวาตู และ พบตั้งแต่ระดับนํ้ าทะเล จนถึง 650 เมตร
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
สรรพคุณของ ขิงแดง
เหง้าแก่ทั้งสดและแห้ง ตำรายาไทยใช้เป็นยาขับลม ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาเจียน แก้ไอ ขับเสมหะและขับเหงื่อ โดยใช้เหง้าสดขนาดนิ้วหัวแม่มือต้มกับน้ำ ผงขิงแห้ง ชงน้ำดื่ม จากการทดลองกับอาสาสมัคร 36 คน พบว่าผงขิง ป้องกันการเมารถ เมาเรือ ได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบัน (Dimenhydrinate) ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย Menthol, Borneol, Fenchone, 6-Shogaol และ 6-Gingerol Menthol มีฤทธิ์ขับลม Borneol, Fenchone และ 6-Gingerol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน นอกจากนี้พบว่า สารที่มีรสเผ็ด ได้แก่ 6-Shogaol และ 6-Gingrol ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง
พันธุ์
การขยายพันธุ์
ปัจจัยการผลิต
แสง ขิงแดง เจริญเติบโตและให้ดอกที่มีคุณภาพดีในที่มีร่มเงา ดังนั้น ในการปลูกขิงแดงจำเป็นจะต้องปลูกภายใต้โรงเรือนพรางแสงด้วยซาแรน ซึ่งแสงที่เหมาะสมในการปลูกขิงแดง จะอยู่ประมาณ50-70 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจปลูกเป็นพืชแซมในสวนไม้ยืนต้นก็ได้
การเตรียมแปลงปลูก
การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย การให้ปุ๋ยไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเคมีมาก เนื่องจากการตอบแทนในการให้ผลผลิตต่อการให้ปุ๋ยเคมีได้น้อย แต่อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นต้องให้ปุ๋ยเคมีแก่ขิงแดง โดยให้ปุ๋ยสูตรที่มีอัตราส่วน 1:1:1 ปีละ 2 ครั้ง ๆ ละ 50 กก./ไร่ ให้ร่วมกับปุ๋ยคอกจะทำให้ขิงแดงให้ดอกดกและมีคุณภาพดอกดีขึ้น
การให้น้ำ
ขิงแดงเป็นพืชที่ต้องการความชื้นในดินสูง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้นํ้ าอย่างเพียงพอ วิธีการให้นํ้ าอาจให้นํ้ าแบบท่วมแปลงปลูกสำหรับแปลงปลูกที่เป็นที่ดอนโดยให้ 3-5 วันต่อครั้ง ที่ลุ่มให้นํ้ าโดยการใช้เรือรด 1-2 วัน/ครั้ง หรือโดยสังเกตจากความชื้นดิน
การให้น้ำในช่วงแรกที่ปลูก จะให้วันเว้นวัน พอ 1-2 อาทิตย์ ผ่านไป การให้น้ำจะมีระยะวันให้ที่ห่างมากขึ้น โดยจะรดน้ำวันเว้น 3 วัน ทำการแต่งกิ่งและพรวนดินรอบๆ กอ ทุกๆ 7 วัน
ใส่ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตจากเศษอ้อย ซึ่งจะมี 2 สูตร ด้วยกันคือ สูตรที่ 1 จะใส่เพื่อเร่งการแตกกอและการเจริญเติบโตของลำต้น ซึ่งใส่ในช่วงที่พืชเริ่มปลูกจนถึง 4 เดือน สูตรที่ 2 จะใส่เพื่อเร่งการออกดอก ซึ่งใส่ในช่วง 4 เดือนหลัง ก่อนการนำไปขาย โดยแต่ละสูตรจะมีระยะในการใส่ห่างกัน 2 เดือน
หลังจากที่ดูแลและใส่ปุ๋ยจนครบ 7 เดือน ขิงแดงที่คุณสมศักดิ์ปลูกก็จะถูกจำหน่ายให้กับพ่อค้าในรูปแบบขายยกกอ ซึ่งขนาดและรูปทรงของกอที่มีความเหมาะสม จะอยู่ที่ 20 หน่อ ต่อกอ ความสูง 70-150 เซนติเมตร ดอก 3-5 ดอก ราคากอละ 100 บาท
การป้องกันกำจัดวัชพืช
วัชพืชจะรบกวนมากในช่วงแรกๆ เท่านั้นหลังจากอายุ 1 ปี ไปแล้วขิงแดงจะเจริญโตเต็มที่ ทําให้วัชพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้
การตัดแต่ง
ส่วนใหญ่จะมีการตัดแต่งต้นพร้อมกับการตัดดอก โดยการตัดดอกชิดโคนต้นเหนือดิน ประมาณ2-3 นิ้ว
โรคและแมลง
ไม่พบโรคที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับขิงแดง แต่อาจพบแมลงที่เข้าทำลายดังนี้
การเก็บเกี่ยว
โดยตัดดอกที่บานแล้วประมาณ 70-80% ของช่อดอก โดยใช้มีดคม ๆ ตัดโคนต้น เหนือดินประมาณ 2-3 นิ้ว
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
เมื่อตัดดอกขิงแดงแล้วให้นำดอกแช่ลงในอ่างนํ้ าที่มีนํ้ าสะอาดและทำความสะอาด ตัดใบให้เหลือ 3-4 ใบ ตัดก้านให้ยาว 1 ม. สําหรับดอกขนาดใหญ่ และดอกขนาดกลาง ส่วนดอกเล็กมักตัดก้านให้ยาว 50-70 ซม. แล้วนำมามัดเป็นกำๆ ละ 10 ดอก สําหรับการคัดขนาดดอกนั้นจะคัดตามขนาด ดังนี้
อายุการปักแจกัน
ได้มีการศึกษาค้นพบว่าความยาวของต้นที่ติดกับช่อดอกนั้นมีผลต่ออายุการปักแจกันดังนี้
และ Jjia (1988) ยังพบว่าการใช้กรด ซิตริก (Citric acid: 5 UM) สามารถยืดอายุการปักแจกันดอกขิงแดง (ก้านยาว 40 ซม.) จาก 4 วัน เมื่อแช่ในนํ้ ากลั่นเป็น 13.5 วัน เมื่อผสมกรดซิตริก ณ อุณหภูมิ 24-24 องศาเซลเซียส
การขนส่ง
จะมีการขนส่งดอกขิงแดงโดยแช่ก้านช่อดอกขิงแดงในถังนํ้ า ที่วางไว้หลังรถบรรทุกเล็กส่งพ่อค้าหรือมีพ่อค้ามารับซื้อถึงสวนต้นทุนการผลิต ในการผลิตขิงแดง 1 ไร่ สามารถประมาณการต้นทุนการผลิตได้ดังนี้
ผลผลิตต่อไร่
สามารถตัดดอกขิงแดงโดยแบ่งตามขนาดดอกได้ดังนี้ คือ ดอกเล็กจำนวน 67,200 ดอก/ปี ดอกใหญ่และดอกกลางจำนวน 48,000 ดอก/ปี
การจำหน่ายผลผลิต
ส่วนใหญ่จะมีจำหน่ายขิงแดงแก่พ่อค้าปากคลองตลาดโดยแบ่งตามขนาด ดังนี้
ดอกเล็กจำนวน 67,200 ดอก/ปี ดอกใหญ่และดอกกลางจำนวน 48,000 ดอก/ปี
ปัจจุบันมีเกษตรกรส่งออกดอกขิงแดงบ้างแต่ไม่มากนัก เนื่องจากพื้นที่การปลูกขิงแดงยังมีน้อยผลผลิตยังไม่มากเพียงพอที่จะป้อนตลาดอย่างสมํ่ าเสมอ ส่วนการบริโภคภายในประเทศของขิงแดงนั้นมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังจะเห็นได้จากการที่ร้านดอกไม้ และโรงเรียนสอนจัดดอกไม้ มีการใช้ดอกขิงแดงมากขึ้น แต่เกษตรกรยังขาดข้อมูลด้านการตลาด ส่วนผู้ซื้อมักจะไม่ทราบแหล่งผลิต ทําให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคไม่พบกันทั้งที่ความต้องการใช้ขิงแดงมีเพิ่มขึ้น ทําให้เกษตรกรไม่กล้าตัดสินใจในการขยายพื้นที่การผลิตมากนัก เนื่องจากขิงแดงยังมีพันธุ์อื่นๆ ที่มีรูปร่างลักษณะ และสีแตกต่างกันบ้างเกษตรกร อาจอาศัยความหลากหลายของพันธุ์นี้เปิดตลาดขิงแดงเพิ่มขึ้นได้อีกด้วยในอนาคต
จัดทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดย : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ป้ายคำ : ไม้ดอก