ขี้เถ้า

14 พฤศจิกายน 2022 เกษตรยั่งยืน 0

โปแทสเซียมเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชมีความต้องการในปริมาณมาก โดยเกษตรกรส่วนใหญ่จะเติมลงดินให้พืชโดยใช้ปุ๋ยเคมี แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ธาตุโปแทสเซียมสามารถจัดหามาจากไม้ที่ผ่านการเผาเป็นขี้เถ้า

ไม้ 100% สามารถเผาได้ 99.5% โดย 0.5% ที่เหลือคือแร่ธาตุที่ยังไม่สลายจากการเผา ซึ่งมีลักษณะเป็นผงแป้งสีเทา หรือที่เรียกว่า “ขี้เถ้า” ซึ่ง 80% ของขี้เถ้าไม่ละลายน้ำ มีเพียง 20% เท่านั้นที่ละลายน้ำได้ โดยขี้เถ้าที่ละลายน้ำได้ประกอบด้วย

  • K2CO3 (โปแทสเซียมคาร์บอเนต)
  • Na2CO3 (โซเดียมคาร์บอเนต)
  • K2SO4 (โปแทสเซียมซัลเฟต)
    องค์ประกอบหลักของขี้เถ้าคือ K2CO3 (โปแทสเซียมคาร์บอเนต) เมื่อ โปแทสเซียมคาร์บอเนตละลายในน้ำ
    จะทำให้เกิด โปแทสเซียมไอออน (K+) และคาร์บอเนตไอออน (CO3,2-)
    เมื่อคาร์บอเนตละลายน้ำจะทำให้เกิด ไบคาร์บอเนต (HCO3-) และ ไฮดรอกไซด์ (OH-) ซึ่งทำให้เป็นด่างหรือมี pH มากกว่า 7

การนำไปใช้งาน

  • นำขี้เถ้า 1 กำมือ ละลายในน้ำ 10 ลิตร พักไว้ แล้วนำไปราดรดรอบๆ โคนไม้ผลที่กำลังออกผลและเข้าช่วงกำลังใกล้จะสุก
  • กรณีเป็นฤดูฝน สามารถนำขี้เถ้าหว่านรอบๆ โคนไม้ผลที่กำลังออกผลและเข้าช่วงกำลังใกล้จะสุก น้ำฝนจะช่วยละลายขึ้เถ้าให้เป็นธาตุอาหารโปแทสเซียม เติมลงบนดิน

โปแทสเซียมเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชช่วยเพิ่มความหวานให้ผลไม้ได้ นอกจากนี้ขี้เถ้ายังมีสาร ซิลิก้า ที่ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืขแข็งแรง ต้านทานโรค ป้องกันการเกิดโรคจากเชื้อราต่างๆ และแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยต่าง มด เป็นต้น และทำให้ผลไม้กรอบขึ้น

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด เกษตรยั่งยืน

แสดงความคิดเห็น