คราม (Indigofera tinctoria L.) เป็นพืชที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่มนุษย์รู้จักนำมาปลูกและใช้ประโยชน์ มีหลักฐานการใช้ย้อนไปกว่า 6,000 ปี ครามเป็นพืชที่คนไทยรู้จักดีไม่ว่าอยู่ภาคไหนต่างเรียกชื่อตรงกัน นำมาย้อมสีผ้า ได้สีฟ้าเข้มหรือเรียกว่า สีคราม นั่นเองแต่คนอีสานเรียกว่า ผ้าหม้อนิล เพราะหม้อที่ใช้ย้อมนั้นจะกลายเป็นสีดำ
ครามอยู่คู่วิถีชีวิตคนไทยมานาน เราจึงมีองค์ความรู้สมุนไพรไว้ใช้ประจำบ้าน คือ ชาวบ้านมักปลูกต้นครามไว้รอบๆ บ้าน เพื่อทำเนื้อครามไว้ใช้ในยามจำเป็น เมื่อมีบาดแผลจะใช้เนื้อครามที่เตรียมไว้ใช้ย้อมผ้ามาทาแผล ทำให้แผลหายเร็วและไม่เป็นหนองซึ่งปัจจุบันมีการวิจัยพบว่าเนื้อครามมีฤทธิ์ฝาดสมานและฆ่าเชื้อโรคได้อย่างดี ทุกส่วนของต้นครามยังใช้เป็นยาสมุนไพร เช่น ทั้งต้นใช้แก้ไข้ตัวร้อน ไข้ชัก กลุ่มชาวบ้านย้อมผ้าครามขายยังรู้ว่า ถ้าใครมีไข้ร้อนให้นำครามมาขยี้แล้วเอาน้ำทาและพอกไว้ที่ฝ่าเท้าทั้งสองข้าง เพื่อลดไข้ได้ดี ครามยังแก้อักเสบ แก้ปวด ดับพิษ รากใช้ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ลดบวม เปลือกต้านพิษงู แก้พิษฝี เมล็ดแก้หิด เป็นต้น
คราม นอกจากนำมาย้อมผ้าแล้ว ยังสามารถนำไปทำประโยชน์อื่น ๆ ได้อีกมากเช่น การใช้ประโยชน์ทางยา ใบเป็นยาดับพิษ แก้ไข้ตัวร้อนและแก้ปวดศีรษะ ลำต้น เป็นยาแก้กระษัย แก้ไข้ตัวร้อน แก้ปวดศีรษะ เปลือกใช้แก้พิษงู แก้พิษฝีและแก้บวม ถ้าถูกมีดบาดหรือเป็นแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก สามารถนำเนื้อครามทาเพื่อสมานแผลได้ ผ้าที่ย้อมครามก็มีคุณสมบัติทางยาเช่นกัน…เพียงนำผ้าครามไปนึ่งให้อุ่นประคบตามรอยช้ำก็สามารถบรรเทาอาการได้
ในด้านความสวยความงามนั้น น้ำคั้นจากใบสดของครามช่วยบำรุงเส้นผม ป้องกันผมหงอก สารสกัดครามทั้งต้น (ยกเว้นใบ) เป็นส่วนผสมในสีที่ใช้ย้อมผม
ต้นคราม (Indigofera tinctoria.) ไม้พุ่มในวงศ์ Leguminosae เป็นพืชล้มลุก สูง ๑-๑.๒๐ เมตร อายุประมาณ ๒-๓ ปี ใบประกอบแบบขนนก ดอกสีเหลือง ฝักคล้ายฝักถั่วเขียวแต่เล็กกว่าออกเป็นกระจุก ขยายพันธุ์โดยเมล็ด ขึ้นได้ ดีในดินที่ระบายน้ำได้ดี มีร่มเงาบ้างหรือเปิดโล่ง ใช้เป็นสมุนไพรบำรุงกำลัง แก้ไข้ รักษาแผลสด ห้ามเลือด แก้อักเสบ ฯลฯ
การใช้ต้นครามเพื่อหมักย้อมผ้า จะใช้ต้นครามทั้งต้น ช่วงอายุประมาณ ๔ เดือนหรือช่วงกำลังออกดอก มักจะเก็บเกี่ยวตอนเช้าตรู่เชื่อกันว่าจะได้เนื้อครามมากกว่าช่วงอื่น ใช้ใบและลำต้นห้อมอายุประมาณ ๑-๒ ปีหมักย้อมผ้าได้สีครามหรือดำ
ครามเป็นไม้พุ่มสูงไม่เกิน 1.2 เมตร ลำต้นกลม สีเขียว แตกกิ่งก้านน้อย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียนสลับ รูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง สีเขียว ดอกออกเป็นช่อตั้งที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กสีชมพูหรือสีแดง รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝักกลมยาว ยาว 5-8 ซม. เมล็ดเล็ก สีครีมออกเหลือง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ด
แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่โล่ง ดินร่วนปนเหนียว พื้นที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 35 เมตร เช่นเขตตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช (SN 198)
คุณค่าทางอาหาร เฉพาะส่วนใบ มีค่า โปรตีน 25.69 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน
ADF 27.73 เปอร์เซ็นต์ NDF 35.21 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 2.26 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.35 เปอร์เซ็นต์ โปแตสเซียม 2.25 เปอร์เซ็นต์ แทนนิน 0.38 เปอร์เซ็นต์
การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของโค
กระบือ แพะ และสัตว์ป่า สรรพคุณ ใบ รสเย็นฝาดเบื่อ ดับพิษ แก้ไข้ตัวร้อน เปลือกต้น รสเย็นฝาดเบื่อ แก้พิษฝี แก้พิษงู ฆ่าพยาธิ แก้โลหิต น้ำมันจากเมล็ด ทาแก้หิด สารสำคัญใบ มี rutin และ rutinoid ประมาณ 0.65-0.80 เปอร์เซ็นต์ มีไนโตรเจนสูง เหมาะใช้ทำปุ๋ย ทำยาฆ่าแมลง ( วงศ์สถิตย์และคณะ , 2543)
การปลูก
การเลือกพื้นที่ พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกครามควรเป็นบริเวณที่มีแสงแดดเพียงพอ น้ำไม่ท่วมขัง เช่นที่ดอน ส่วนมากจะเป็น ตามหัวไร่ปลายนาซึ่งชาวบ้านนิยมปลูกครามมากที่สุด แต่ในปัจจุบันการผลิตครามเป็นการค้าแล้ว ชาวบ้านก็นิยมปลูกในที่นาบ้างเป็นบางส่วนซึ่งสามารถพบเห็นได้มากขึ้น
การเตรียมดิน การเตรียมดินดังนี้
การหว่านเมล็ดข้าวในนา
การเตรียมเมล็ดก่อนนำไปปลูก ก่อนการนำเมล็ดครามไปปลูก ควรนำฝักครามที่ได้เก็บไว้แล้วมาตำให้เปลือกแตก จากนั้นก็ร่อนเอาแต่ส่วนที่เป็นเมล็ดมาหว่าน หากไม่นำฝักครามมาตำเอาแต่เมล็ดแล้ว การที่หว่านเป็นฝักเลย ครามจะไม่งอก
การปลูกคราม การปลูก จะปลูกกัน 2 ช่วง คือ ในฤดูฝนและฤดูแล้ง
ขั้นตอนการปลูก
การดูแล
การดูแลเมื่อครามงอก เมื่อต้นครามงอกแล้วประมาณความสูงของต้นไม่เกิน 10 เซนติเมตร หากเราเห็นว่าต้นครามที่งอกนั้นมีระยะระหว่างต้นใกล้กันมากเกินไปก็ให้ถอนทิ้งบ้างเพื่อให้มีระยะห่างของต้นพอสมควรต้นครามจะได้แตกกิ่งก้านได้ดี
การใส่ปุ๋ย เมื่อต้นครามโตได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ให้สังเกตการณ์เจริญเติบโตหากเห็นว่า ต้นครามโตช้าก็ควรใส่ปุ๋ย อาจเป็นปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเคมีก็ได้
การรดน้ำ ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน นับตั้งแต่เริ่มหว่านเมล็ด หากเราใส่ปุ๋ยให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ต้นครามมีใบขนาดใหญ่ สีเข้ม จนกระทั่งมีอายุได้ 3-4 เดือน ก็ทำการเก็บได
การเก็บเกี่ยว
การเตรียมความพร้อมก่อนเก็บเกี่ยว ก่อนการเก็บครามทุกครั้ง ผู้เก็บครามต้องสวมเสื้อผ้ามิดชิด เพราะใบครามมีขนขนาดเล็กๆ ที่มองไม่เห็นผ้าสัมผัสกับผิวหนังจะทำให้ระคายเคืองและคันตามร่างกาย
ช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยว นิยมเก็บครามในเวลาเช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เนื่องจากจะทำให้ได้ปริมาณน้ำครามมาก หากเก็บในเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นแล้วจะทำให้ครามที่เก็บเหี่ยวส่งผลให้ได้ปริมาณน้ำครามน้อย
การเก็บคราม ถ้าเป็นครามบ้านก็จะเกี่ยวทั้งต้นเหลือแต่ตอ เพื่อจะทำให้ครามแตกกิ่งและแก่พร้อมที่จะตัดในครั้งต่อไป ต้นครามจะเก็บได้ปีละ 2 ครั้ง ถ้าเป็นครามงอ ก็จะเก็บใบแก่จัดก่อนหรือเกี่ยวทั้งกิ่ง จากนั้นก็ปล่อยให้แตกกิ่งอีก และสามารถเก็บได้ทั้งปี
วิธีเก็บเมล็ด การเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์จะปล่อยให้ต้นแก่จนออกดอกติดฝัก เมื่อฝักแก่จะเก็บเกี่ยวฝักแล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิท เก็บทั้งฝักไว้สำหรับปลูก- ขยายพันธุ์ในปีถัดไปเมื่อจะปลูกจึงกะเทาะเมล็ดออกจากฝักใช้เมล็ดพันธุ์ไปหว่านในแปลง
วิธีการสังเกต ว่าต้นครามพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวคือ ส่วนยอดจะผลิดอกออกฝักใบเป็นสีเขียวเข้ม ให้สังเกตหยดน้ำค้างที่เกาะใต้ใบครามจะมีสีอมน้ำเงิน แสดงว่าต้นครามพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว
แหล่งกำเนิดของสีคราม
สีน้ำเงินของครามเป็นสีย้อมจากธรรมชาติที่มีประวัติยาวนานกว่า 1000 ปี ได้รับสมญานามว่าเป็นเจ้าแห่งสีย้อม the king of dyes ในสมัยโบราณกษัตริย์เท่านั้นที่มีสิทธิ์ใส่ผ้าย้อมคราม ( อนุรัตน์ สายทอง 2543:7 ) ในศตวรรษที่ 8 มีการนำต้นครามจากทางใต้ของจีนเข้ามาเพาะปลูกในญี่ปุ่น มีการเพาะปลูกกันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นวัตถุดิบในการทำสีย้อมผ้าที่สามารถหาได้ง่ายและมีการทำสีย้อมจากต้นครามในหมู่บ้านชนบทของญี่ปุ่นอย่างแพร่หลาย ในศตวรรษที่ 16 มีการปลูกครามอย่างมากในอินเดีย เอเชียใต้ อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ส่งเป็นสินค้าออกไปยังยุโรปจนกระทั่งมีการสังเคราะห์สีครามในปี 1897
การใช้สีครามจากต้นครามจึงลดลงเหลือเพียง 4% ของทั่วโลก ในปี 1914 แต่ต้นครามยังปลูกกระจายอยู่เล็กน้อยในอินเดีย แอฟริกา และอเมริกากลาง และยังมีอยู่มากในชนบทของชวา สำหรับเอเชียมีหลักฐาน และร่องรอยการทำสีครามอยู่ทุกประเทศ เช่น ไทย ลาว พม่า ญี่ปุ่น และอินเดีย ฯลฯ ในประเทศไทยมีการทำสีครามในภาคเหนือและภาคอีสานมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ดังหลักฐานการกล่าวถึงเผ่าต่างๆ เช่นผู้ไทยขาว ผู้ไทยดำ และผู้ไทยแดง ตั้งชื่อตามสีของเสื้อผ้าที่นุ่ง ปัจจุบันยังมีบุคคลบางกลุ่มสืบทอดวิธีการทำสีคราม เช่น ที่บ้านนาดี อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร กลุ่มอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทญ้อ วัดพระธาตุประสิทธิ์ บ้านนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ( อนุรัตน์ สายทอง 2543 : 7 ) ที่บ้านไร่ไผ่งาม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ บางหมู่บ้านในจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดสุรินทร์ในหลายๆอำเภอ ( สำนักงานหอรัษฎากรพิพัฒน์ 2537:103 )
ในโบราณเป็นที่รู้กันว่า ต้นครามเป็นวัตถุที่ให้สีสำคัญชนิดหนึ่ง เป็นใบไม้อย่างหนึ่งที่มีกันอย่างกว้างขวางเป็นพืชกลุ่มจำพวกถั่ว ซึ่งมีสารพิเศษในการให้น้ำเงินจากสาร อินดิแคน เมื่อพุทธศตวรรษ 3000 มีการค้นพบว่าในธิเบตมีการใช้สีคราม สำหรับเป็นสีย้อมเสื้อผ้าสตรี ในอดีตยังถือว่าต้นครามและเปลือกไม้เป็นวัตถุที่ให้สีที่มีความสำคัญมาก จนกระทั่งศตวรรษที่ 19 ก็ได้มีการทำสีย้อมผ้าสังเคราะห์และสีครามสังเคราะห์ขึ้นมา มีการจำหน่ายแทนสีย้อมธรรมชาติ โดยที่สีครามธรรมชาติไม่สามารถแข่งขันได้เลย จึงนำไปสู่จุดจบของการผลิตสีครามธรรมชาติ โดยมีความร่ำรวยเป็นพื้นฐานของโลกแห่งการค้าขายยเข้ามาเป็นตัวดึงดูด
ป้ายคำ : พอใช้
ขอบคุณครับ