คลองไส้ไก่ คลองระบายน้ำภูมิปัญญาชาวบ้าน

25 กุมภาพันธ์ 2558 ศาสตร์พระราชา 0

ขุด คลองไส้ไก่ หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้

“โคก หนอง นา” เป็นโมเดลต้นแบบที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติได้จัดทำขึ้นตามแนวพระราชดำรัสการสร้างหลุมขนมครก ที่เรียกว่า โคก หนอง นา โมเดล เป็นแบบที่ใช้ได้ผลจริง เป็นการจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร มักอยู่ในพื้นที่กลางนํ้าผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ เป็นวิธีการจัดการนํ้าแบบบ้านๆ แต่ทำได้ง่ายและเก็บนํ้าได้จริงไม่ว่าจะท่วมหรือแล้ง มีหลักการดังนี้

klongsaikaipha klongsaikaifay
โคก-บนโคกให้ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ

  1. ป่าไม้ใช้สอย
  2. ป่าไม้ใช้กิน เช่น ผลไม้ ผัก
  3. ป่าไม้เศรษฐกิจ เพื่อปลูกไว้ขายสร้างรายได้ เช่น ไม้สัก โดยปลูก 5 ระดับ สูง กลาง เตี้ย เรี่ยดิน พืชหัว

ประโยชน์เพื่อ

  1. พอกิน (อาหาร ยาสมุนไพร)
  2. พออยู่ (ไม้สร้างบ้าน)
  3. พอใช้ (ไม้ใช้สอย ไม้ฟืน)
  4. พอร่มเย็น (คืนสมดุลระบบนิเวศ) เพราะการปลูกพืชที่หลากหลายอย่างเป็นระบบ จะช่วยสร้างสมดุลของระบบนิเวศ ช่วยปกป้องผิวดินให้ชุ่มชื้น ดูดซับนํ้าฝน และค่อยๆ ปลดปล่อยความชื้นสู่สวนเกษตรกรรม
  • หนอง-เพื่อกักเก็บนํ้าไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับยามนํ้าท่วม (หลุมขนมครก) ขุดคลองไส้ไก่ หรือคลองระบายนํ้ารอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้นํ้ากระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดนํ้าต้นไม้ ทำฝายทดนํ้า เพื่อเก็บนํ้าเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บนํ้า นํ้าจะหลากลงมายังหนองนํ้า และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดนํ้าเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง
    klongsaikais
  • ยกหัวคันนา-พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณนํ้าในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน

klongsaikaibung klongsaikaibo
จากข้อมูลการวิจัยของสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงฯ พบว่า พื้นที่ 1 ไร่ ในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล นี้จะสามารถอุ้มนํ้าได้ถึง 1,600 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสถาบันฯ และมูลนิธิฯ ได้มีการฝึกอบรมให้ชาวบ้านมานาน 16 ปีแล้ว และมีผลสำเร็จให้เห็นได้ที่ชุมชนมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี และชุมชนบ้านหนองโน จังหวัดสระบุรี ดังนั้น หากสามารถขยายการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนที่อยู่ในลุ่มนํ้าป่าสักได้ทั้งหมด ให้ร่วมกันสร้างหลุมขนมครกอย่างน้อยหนึ่งแสนหลุม ในพื้นที่เพียง 2.4 ล้านไร่จาก 10 ล้านไร่ของลุ่มนํ้าป่าสัก ประกอบกับการขุดเส้นทางนํ้า เพื่อเชื่อม หนอง คลอง บึง การปลูกป่าชุมชน และทำฝายชะลอนํ้า ก็จะสามารถป้องกันภัยแล้งและแก้ไขปัญหาอุทกภัยได้.

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ศาสตร์พระราชา

แสดงความคิดเห็น