คล้าน้ำ หรือเรียกอีกอย่างว่า พุทธรักษาน้ำ หรือ สังฆรักษา เป็นไม้ริมน้ำที่พบเห็นได้ในสวนชายน้ำ หรือริมฝั่งคลองหนองบึง พืชสกุลนี้มีต้นสูงโดดเด่น มีช่อดอกที่สวยงาม และมีสีสันสะดุดตา จึงนิยมปลูกไม้ประดับบริเวณริมสระน้ำหรือบ่อน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thalia dealbata J.fraser.
ชื่อวงศ์ MARANTACEAE
ชื่อเรียกอื่น พุทธรักษาน้ำ สังฆรักษา
ลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 1-3 ม. ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่แกมรี กว้าง 12-18 ซม. ยาว 18-25 ซม. โคนใบป้าน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบมีสีขาวนวล ก้านใบกลม ยาว 60-150 ซม. กาบใบแผ่หุ้มลำต้น ดอกสีม่วงเข้ม ออกเป็นช่อยาว 15-30 ซม. ก้านช่อดอกกลมยาว กาบรองช่อดอกลักษณะเรียวเป็นแผ่นยาว 12-15 ซม. ดอกบานเต็มที่ กว้าง 1-2 ซม. มีกาบรองดอกค่อนข้างแข็ง โค้ง งุ้มและมีนวลขาวปกคลุม กลีบดอกมี 3 กลีบ โดยมี 1 กลีบยื่นแผ่ออกมาเป็นปากล่าง ขนาดประมาณ 2 ซม. อีก 2 กลีบมีขนาดเล็ก ผลรูปกลมรี สีน้ำตาล ขนาด 0.6-1 ซม.
เราอาจเห็นว่ามีต้นไม้ริมน้ำหน้าตาทำนองนี้แตกต่างกันไปหลายแบบ เพราะสายพันธุ์ของคล้าน้ำ หรือชื่อฝรั่งที่ไพเราะนามว่า Thalia จะมีแตกต่างกันประมาณ 12 ชนิด เป็นพันธุ์ไม้ที่ค้นพบโดยนาย Johann Thal นักพฤกษศาสตร์ ชาวเยอรมัน ใน ค.ศ. 1542-1583 ชื่อของไม้ชนิดนี้ จึงถูกตั้งตามนามสกุลของผู้ค้นพบ ก็คือ Thalia มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูง 1-3 ม. ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่แกมรี กว้าง 12-18 ซม. ยาว 18-25 ซม. โคนใบป้าน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบมีสีขาวนวล ก้านใบกลม ยาว 60-150 ซม. กาบใบแผ่หุ้มลำต้น ดอกสีม่วงเข้ม ออกเป็นช่อยาว 15-30 ซม. ก้านช่อดอกกลมยาว กาบรองช่อดอกลักษณะเรียวเป็นแผ่นยาว 12-15 ซม. ดอกบานเต็มที่ กว้าง 1-2 ซม. มีกาบรองดอกค่อนข้างแข็ง โค้ง งุ้มและมีนวลขาวปกคลุม กลีบดอกมี 3 กลีบ โดยมี 1 กลีบยื่นแผ่ออกมาเป็นปากล่าง ขนาดประมาณ 2 ซม. อีก 2 กลีบมีขนาดเล็ก ผลรูปกลมรี สีน้ำตาล ขนาด 0.6-1 ซม.
แม้จะมีชื่อฟังดูไทยๆ และหน้าตาก็ดูเหมือนจะเป็นไม้น้ำพื้นถิ่นบ้านเรา แต่ความจริง คล้าน้ำ มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศเม็กซิโก อเมริกาใต้ และบางประเทศในยุโรป มักพบตามป่าที่มีน้ำท่วมขังหรือมีดินแฉะ ค่อนข้างแข็งแรง ทนทาน สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งถึง ? 7องศาเซลเซียส แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในที่มีอากาศอบอุ่น ความชื้นสูง และมีระดับน้ำสูงตั้งแต่ 45 เซนติเมตร นอกจากทรงต้นสวยแปลกตาแล้ว มันก็ยังจะออกดอกสีม่วงสวยให้เราได้ชื่นชมกันราวช่วงเดือนมิถุนายน ?กรกฎาคม คือช่วงหน้าฝน
การกระจายพันธุ์
มีถิ่นกำเนิดทีป่ระเทศเม็กซิโกและอเมริกาใต้ มักขึ้นเป็นกออยู่ริมน้ำ ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม
ประโยชน์
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามริมน้ำทั่วไป เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ ต้นไม้ชนิดนี้เป็นนิยมปลูกกันมาก เพราะเชื่อว่าเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้ปลูก คนโบราณนิยมเรียกต้นคล้าว่า พุทธรักษาน้ำ ซึ่งหมายความว่า มีพระพุทธเจ้าคอยปกป้องรักษา ส่วนคำว่า คล้า หรือ คลุ้ม คือการปกป้อง คุ้มครอง รักษา และมีอีกหลายคนที่เชื่อว่าคล้า หมายถึงคล้าคลาด คือ การคลาดแคล้วจากศัตรู หรือ เรื่องร้ายๆ ดังนั้น ชาวไทยจึงปลูกต้นคล้าเอาไว้ในบริเวณบ้านมาตั้งแต่โบราณ เพราะเชื่อว่า การปลูกต้นคล้านั้น จะช่วยให้ทุกคนในครอบครัวนั้น รอดพ้นจากเรื่องราวร้ายๆ ได้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์กาย หรือทุกข์ใจ
คล้าเป็นพรรณไม้ที่มีหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน การเจริญเติบโตของลำต้นแตกเป็นกอ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นเป็นไม้อวบ น้ำในเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ออกใบเป็นกาบหุ้มลำต้นสลับกันและมีก้านใบต่อกับแผ่นใบใบมีลักษณะคล้ายรูปไข่ ปลายใบเว้าหรือแหลม ขนาดใบ สีสรร และลักษณะใบจะแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ ที่พบเห็นจะพบอยู่ 2 ชนิด คือ
การดูแลรักษา : ต้องการแสงแดดร่ม รำไร จนถึงแดดจัด หรือกลางแจ้ง โดยปลูกลงดินในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณสวน หรือปลูกในกระถางก็ได้ซึ่งกระถาง ควรใช้กระถางทรงสูงหน่อยควรเปลี่ยนขนาดกระถาง 1- 2 ปีต่อครั้ง เพราะการขยายตัวของรากและการแตกกอแน่น และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพ ถ้าปลูกเพื่อประดับภายในอาคาร ควรให้ได้รับแสงแดดบ้าง อย่างน้อย 3 – 5 วันต่อครั้ง
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด แยกหน่อ
ที่มา
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5
ป้ายคำ : บำบัดน้ำเสีย, ไม้ประดับ