คำแสดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ ใบเดี่ยว รูปร่างคล้ายใบโพธิ์ ดอก ออกเป็นช่อที่ยอด ดอกสีชมพูร่วงง่าย ผลมีสีแดงคล้ายลูกเงาะภายในผลกลวง มีเมล็ดสีแดง ค่อนข้างกลม มีเนื้อสีแดงฉํ่าน้ำหุ้มเมล็ดอยู่ ผลเมื่อแก่แตกได้ สีจากเมล็ดใช้แต่งสีอาหารให้มีสีแดงส้ม เช่น แต่งสีขนม ไอสครีม เนย นํ้ามัน และใช้ย้อมผ้าฝ้ายและผ้าไหมให้มีสีแดงส้มได้อีกด้วย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bixa orellana L.
ชื่อสามัญ : Annatto Tree
วงศ์ : BIXACEAE
ชื่ออื่น : คำเงาะ คำแงะ คำไทย คำแฝด คำยง ชาตี จำปู้ ส้มปู้ (เขมร-สุรินทรฒ) ชาด (ภาคใต้) ซิติหมัก (เลย) มะกายหยุม แสด (ภาคเหนือ) หมากมอง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3-8 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหนาทึก แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบบาง เกลี้ยงนุ่ม สีเขียวเหลือบแดง ใบอ่อนมีสีแดง กว้าง 8-10 ซม. ยาว 11-18 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตั้งบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมี 5-10 ดอก กลีบดอกรูปไข่ยาว สีขาวแกมชมพูหรือสีชมพูอ่อน กลีบรองดอกมีขนาดเล็ก สีเขียว กลีบดอกมี 5 กลีบ ดอกอ่อนจะกลม ผิวสีแดง มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก มีเกษรตัวเมีย 1 อัน ภายในมีช่อง 1 ช่อง มีไข่อ่อนจำนวนมาก ผล เป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม มีขนสีแดงเข้มหนาทึบคล้ายผลเงาะ ผลแก่จัดแตกออกได้ 2 ซีก ภายในมีเมล็ดกลมเล็กๆ สีน้ำตาลแดงจำนวนมาก เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีแดงหรือสีแสด
สรรพคุณ :
เมล็ด
** องค์การอนามัยโลกกำหนดให้รับประทานสีที่สกัดจากเมล็ดคำแสดได้ไม่เกิน 0.065 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน
วิธีเตรียมสีแดงส้มจากเมล็ดคำแสด
นำเมล็ดมาบดแล้วแช่นํ้าจะได้สารละลายซึ่งมีตะกอนแดงละลายอยู่ กรองเอากากออก ตั้งทิ้งไว้สีจะตกตะกอนนอนก้น รินน้ำใสๆ ข้างบนออก นำที่เหลือไประเหยนํ้าออกจะได้ผงสีแดงส้มนำไปใช้แต่งสีอาหารตามต้องการ
ดอก
ใบ
เนื้อหุ้มเมล็ด
เปลือกราก
สารเคมีที่พบ
วิธีเตรียมสีจากเมล็ดคำแสด : โดยแกะเมล็ดออกจากผลที่แก่จัด แช่น้ำร้อนหมักทิ้งไว้หลายๆ วันจนสารสีตกตะกอน แยกเมล็ดออก นำน้ำสีที่ได้ไปเคี่ยวจนงวดเกือบแห้ง แล้วนำไปตากแดดจนแห้งเป็นผงเก็บไว้ใช้
แหล่งข้อมูล
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1, ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden
ป้ายคำ : สมุนไพร