ไม้ชนิดนี้ มีขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า BOMBAX CEIBA LINN อยู่ในวงศ์ BOMBACACEAE เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 10-20 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม กิ่งแผ่ออกเกือบตั้งฉากกับลำต้น ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 5-7 ใบ เป็นรูปไข่หรือรูปรี ปลายเรียวแหลม โคนใบสอบ สีเขียวสด
ชื่อสามัญ : Kapok Tree, Cotton Tree, Red Cotton Tree, Silk Cotton Tree, Shaving Brus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gossampinus Malabarica (DC.) Merr.
วงศ์ : BOMBACAEAE
ชื่ออื่นๆ บักมี้ (จีน), งิ้วปง, งิ้วปกแดง,สะเน้มระกา งิ้วแดง (กาญจนบุรี),งิ้วบ้าน
ลักษณะทั่วไปของต้นงิ้ว
ต้นงิ้ว เป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ จะแตกกิ่งก้านสาขาออกตามเรือนยอดของต้นซึ่งตามลำต้นจะมีหนามปลายแหลมคมติดอยู่ทั่วไปทั้งลำต้นมีเนื้อฟ่าคล้ายไม้คอร์กหนาลำต้นจะ สูงประมาณ 25-30 เมตร
การขยายพันธุ์
งิ้วเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ต้องการน้ำและความชื้นปานกลางเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์ทางอาหาร
เกสรตัวผู้จากดอกนำไปตากแห้งโรยในขนมจีนน้ำเงี้ยวรับประทานและปรุงเป็นแกงแคทางภาคเหนืออร่อยมาก ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
สรรพคุณทางสมุนไพรและประโยชน์ใช้สอย
ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาทำให้อาเจียนถอนพิษ เปลือกต้น ใช้ทำเชือก ยาง จากต้นแก้ท้องร่วง ไม้ทำฟืน ฝา หีบใส่ของ ของเล่นเด็กๆแบบยุคโบราณหลายรูปแบบ ทำก้านไม้ขีด กล่องไม้ขีด ไม้จิ้มฟัน ไม้อัด เยื่อกระดาษ ใบแห้งหรือใบสดตำ ทาแก้ฟกช้ำ ดอกแห้ง ทำยาทาระงับปวด แก้พิษไข้ดีมาก
ส่วนที่ใช้
เราจะนำดอก ราก และเปลือกของลำต้นมาทำเป็นยา
สรรพคุณของต้นงิ้ว
ดอกงิ้ว เอาดอกที่บานเต็มที่และร่วงหล่นลงมาแล้ว นำมาตากแห้งหรือผิงไฟซึ่งดอกก็จะแห้ง เหี่ยว ควรเก็บไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพราะถ้าเราเก็บไว้ในที่ชื้นแล้วจะทำให้เป็นเชื้อราได้ดอกนี้จะมีรสจืดและต้องนำดอกแห้งประมาณ 6-10กรัมเอามาต้มกับน้ำรักษาแก้ท้องร่วง ใช้ห้ามเลือดหรือแผลที่เป็นฝีหนองถ้าเป็นดอกแดงก็ใช้แก้บิดเลือด และถ้าเป็นดอก เหลืองแก้บิดมูก รากนี้เราจะใช้สดหรือตากแห้งก็ได้ แต่ต้องเป็นรากของต้นอ่อน ซึ่งนำมาต้มกินหรือใช้พอก สมานแผลก็ได้ ห้ามเลือดแช่เหล้า แก้แผลในกระเพาะอาหารก็ได้หรือ โรคกระเพาะอาหาร อักเสบเรื้อรัง เปลือกโดยการนำเปลือกของต้นที่อ่อนมาตากแห้งแล้วต้มกับน้ำหรือจะบดเป้นผงก้ได้ซึ่งจะ มีรสฝาด และฉุนใช้แก้คนที่เป็นอัมพาตครึ่งตัวก็ได้ แก้กระทบกระเทือน ทำให้เลือดไหลเวียนดี กระเพาะอาหารอักเสบท้องร่วง บิด
ตำรับยาสำหรับงิ้ว
สารเคมีที่พบ
ในเมล็ดมีน้ำมัน 24-25% ในยางมีเกลือแร่ 8.9%ในเปลือกมีสารที่สกัดด้วยน้ำอยู่ 9.92% รากมีโปรตีน,ไขมัน,แป้ง,tannins,galactose, arabinose, gum ในใบมี condensed tannins, เปลือกรากมีพวกเกลือแร่,แป้ง,ไขมัน,โปรตีน และมีความชื้นอยู่ 7.5%
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง