ศาสตร์การจัดการและการอนุรักษ์น้ำของพระราชา
…จากฟากฟ้าลงภูผา ผ่านทุ่งนาสู่มหานที…
โครงการฝนหลวง
วิธีทำฝนหลวงมีอยู่๓ขั้นตอนคือ
ขั้นตอนที่๑ ก่อกวนคือการดัดแปรสภาพอากาศหรือก้อนเมฆในขณะนั้นเพื่อกระตุ้นให้มวลอากาศชื้นไหลพาขึ้นสู่เบื้องบนอันเป็นการชักนำไอน้ำหรืออากาศชื้นเข้าสู่กระบวนการเกิดเมฆ
ขั้นตอนที่๒ เลี้ยงให้อ้วนคือการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อทำให้เมฆเจริญขึ้นจนมีขนาดใหญ่หนาแน่นและพร้อมที่จะตกลงมาเป็นฝน
ขั้นตอนที่๓ โจมตีคือการดัดแปรสภาพอากาศที่จะกระตุ้นให้เม็ดละอองเมฆปะทะชนกันแล้วรวมตัวเข้าด้วยกันจนมีขนาดใหญ่ขึ้นขณะเดียวกันก็เป็นการลดแรงไหลพาขึ้นเบื้องบนเพื่อให้เม็ดน้ำมีขนาดใหญ่ตกลงสู่เบื้องล่างแล้วเกิดเป็นฝนตกลงมาสู่เป้าหมาย
ฝายชะลอความชุ่มชื้น(CheckDam)
ใช้วัสดุธรรมชาติที่หาง่ายในท้องถิ่นเช่นก้อนหินและไม้เพื่อก่อเป็นฝายขวางร่องน้ำหรือห้วยเล็กๆทำหน้าที่กักกระแสน้ำไว้ให้ไหลช้าลงและให้น้ำสามารถซึมลงใต้ผิวดินสร้างความชุ่มชื้นในบริเวณนั้นอีกทั้งยังช่วยดักตะกอนดินและทรายไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง
แฝก
การปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับเพื่อช่วยชะลอความชุ่มชื้นไว้ในดินโดยรากของหญ้าแฝกจะขยายออกด้านข้างเป็นวงเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน๕๐เซนติเมตรและจะแทงลงไปเป็นแนวลึกใต้ดิน๑-๓เมตรแล้วสานกันเป็นแนวกำแพงดูดซับความชุ่มชื้นให้แก่ผิวดิน
ทฤษฎีใหม่
เป็นการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กบนผิวดินในพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรโดยแบ่งที่ดินสำหรับใช้ขุดเป็นสระเก็บน้ำให้สามารถใช้ทำการเกษตรได้ตลอดปีและสามรถเลี้ยงปลาไปพร้อมๆกันนอกจากนี้บริเวณขอบสระยังสามารถใช้ปลูกพืชผักสวนครัวได้อีกด้วย
โครงการแก้มลิง
หลักการของโครงการคือเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองชักน้ำให้ไหลมารวมกันเก็บไว้ในแหล่งพักน้ำแล้วจึงค่อยทำการระบายลงสู่ทะเลผ่านทางประตูระบายน้ำในช่วงที่ปริมาณน้ำทะเลลดลงขณะเดียวกันก็สามารถสูบน้ำออกจากคลองที่เป็นแก้มลิงลงสู่ทะเลตลอดเวลาเพื่อที่น้ำจากตอนบนจะได้ไหลลงมาได้เรื่อยๆและเมื่อใดก็ตามที่ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงกว่าระดับน้ำในคลองที่เป็นแก้มลิงก็ให้ปิดประตูระบายน้ำกั้นไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนกลับเข้ามา
การใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย
เป็นการนำน้ำคุณภาพดีจากแม่น้ำเจ้าพระยาส่งเข้าไปไล่น้ำเสียตามคลองในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลได้แก่คลองบางเขนคลองบางซื่อคลองแสนแสบคลองเทเวศร์และคลองบางลำภูเพื่อช่วยลดปัญหาความเน่าเสียของน้ำในคลองต่างๆคล้ายกับการชักโครกคือปิดและเปิดน้ำให้ได้จังหวะตามเวลาน้ำขึ้น-น้ำลงหากน้ำขึ้นสูงก็เปิดประตูน้ำให้น้ำดีเข้าไปไล่น้ำเสียครั้นน้ำทะเลลงก็เปิดประตูถ่ายน้ำเสียออกจากคลองไปด้วย
กังหันน้ำชัยพัฒนา
ใช้บำบัดน้ำเสียที่เกิดจากชุมชนและอุตสาหกรรมลักษณะเป็นเครื่องกลหมุนช้าแบบทุ่นลอยเพื่อช่วยเติมออกซิเจนที่ผิวน้ำ
การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์
เญาะ หมฺรำ กล่ำ ซั้ง
เญาะ (อีสาน) หมฺรำ (ใต้) กล่ำหรือซั้ง (ตะวันออก) เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย เพื่อดึงดูดสัตว์น้ำให้เข้ามาอยู่อาศัย เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็กจำนวนมาก และช่วยให้สะดวกในการทำประมง มักสร้างด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นเช่น กิ่งไม้ กอไผ่ ใบมะพร้าว เครื่องมือชนิดนี้ นอกจากจะถูกประยุกต์มาเป็นแหล่งอนุรักษ์สัตว์น้ำแล้ว ยังช่วยป้องกันเรือประมงขนาดใหญ่ เช่น เรืออวนลาก เข้ามาทำประมงในเขตน่านน้ำหวงห้ามได้อีกทางหนึ่งด้วย
ป้ายคำ : ทฤษฎีใหม่, ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง, ฝายชะลอน้ำ, เศรษฐกิจพอเพียง, แก้มลิง, โครงการฝนหลวง