จำปา หอมกลิ่นหอมกรุ่นยามพลบค่ำ

ดอกจำปา มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทางตอนใต้ของจีน อินเดีย ไทย มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย และยังมีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า จำปากอ (มลายู-ใต้) จำปาเขา จำปาทอง (นครศรีธรรมราช) จำปาป่า (สุราษฎร์ธานี) ดอกจำปาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 20 ฟุตมีสีน้ำตาลปนขาวเล็กน้อย กิ่งเปราะ ใบสีเขียวใหญ่เป็นมัน ดอกเริ่มแย้มจะมีกลิ่นหอมในช่วงพลบค่ำ ออกดอกเกือบตลอดปี แต่จะมีปากในช่วงฤดูฝน ปลูกนานกว่า 3 ปี จึงจะออกดอก ดอกจำปาเป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ไม่ชอบที่น้ำขังจะทำให้ตายได้ ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินร่วน โปร่ง อุดมสมบูรณ์ และจำปาเป็นไม้ที่มีประโยชน์ทางด้านสมุนไพร ยี่หุบเป็นพันธุ์ไม้ของไทยแท้ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ แม็กโนเลีย ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวางในโลกมากนัก พืชในวงศ์นี้อาจมีไม่เกิน 100 พันธุ์ ซึ่งรวมถึง จำปี จำปา มณฑา และมณฑาดอยด้วย

champas

ชื่อวิทยาศาสตร์: Michelia champaca Linn.
ชื่อวงศ์: MAGNOLIACEAE
ชื่อสามัญ: Champaca
ชื่อพื้นเมือง: จัมปา จำปากอ (มลายู ภาคใต้) จำปาเขา (ตรัง) จำปาทอง (นครศรีธรรมราช) จำปาป่า (สุราษฎร์ธานี) มณฑาดอย

ลักษณะทั่วไป
ต้น เป็นไม้ยืนต้นลำต้นขนาดกลาง ลำต้นกลมสูงประมาณ 20 ฟุตมีสีน้ำตาลปนขาวเล็กน้อย กิ่งเปราะ เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง ยอดอ่อนมีหูใบหุ้ม ลำต้นและกิ่งมีเส้นควั่นเป็นรอย และมีตุ่มเล็กๆ

  • ใบ ใบสีเขียวใหญ่เป็นมัน เดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ถึงรูปใบหอก กว้าง 410 ซม. ยาว 520 ซม. ปลายใบแหลม ใบกว้างประมาณ 5 นิ้ว ยาวประมาณ 10 นิ้ว โคนใบกลม มน หรือสอบ เส้นแขนงใบ 1620 คู่ ก้านใบยาว 24 ซม. ใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ท้องใบมีขนอ่อนด้านล่าง
  • ดอก ดอกเป็นดอกเดียว มีขนาดใหญ่กว่าดอกจำปา มีสีเหลืองอมส้ม ออกตามง่ามใบ กลีบดอกยาว มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกรวมกัน 1215 กลีบ กลีบด้านนอกรูปหอกกลับ ยาว 44.5 ซม. กว้าง 11.5 ซม. ปลายเรียวแหลม กลีบดอกชั้นในสั้นและแคบกว่าชั้นนอก เกสรเพศผู้มีจำนวนมากมีขนาดใหญ่กว่าดอกจำปา มีสีเหลืองอมส้ม รังไข่รวมกันเป็นแท่งสีเขียวอ่อน ยอดแหลมคล้ายฝักข้าวโพดเล็กๆ ก้านดอกยาว 12 ซม. เวลาบานกลีบใหญ่โค้งงอเข้าภายในดอก ไม่บานกระจายแบบดอกจำปา
  • ฝัก/ผล รูปรี หรือรูปไข่ เปลือกแข็ง ขนาดยาว 12 ซม. ออกเป็นกลุ่ม เปลือกผลมีจุดสีขาวขรุขระโดยรอบ ผลแก่สีน้ำตาล แตกด้านข้าง
  • เมล็ด เมล็ดสีดำ ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงส้ม

champaton champabai

champachor

champapol
ฤดูกาลออกดอก: ออกดอกเกือบตลอดปี
การดูแลรักษา: เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ควรเป็นดินร่วน โปร่ง อุดมสมบูรณ์
การขยายพันธุ์: ตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอกหอมมาก

ประโยชน์ของจำปา

  • ประโยชน์ของดอกจำปา ดอกใช้ในการแต่งกลิ่นอาหาร
  • ประโยชน์ของจำปา นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ให้ความหอมและความสวยงาม และยังเป็นต้นไม้ให้ร่มเงาในสนามได้ดีมากชนิดหนึ่งอีกด้วย
  • น้ำมันจากดอกจำปา สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอางได้
  • ไม้จากต้นจำปามีสีเหลืองถึงสีน้ำตาลอ่อน มีความเหนียว เป็นมัน ทนปลวกได้ดี เลื่อยไสตกแต่งได้ง่าย จึงนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น การสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ทำเครื่องมือ เครื่องกลึง หีบใส่ของ เครื่องแกะสลักต่างๆ รวมไปถึงของเล่นเด็ก ฯลฯ

ส่วนที่ใช้ : ดอก เปลือกต้น เปลือกราก ใบ กระพี้ เนื้อไม้ เมล็ด ราก น้ำมันกลั่นจากดอก

champaban

สรรพคุณ :

  • ใบ – แก้โรคเส้นประสาทพิการ แก้ป่วงของทารก
  • ดอก – แก้วิงเวียนอ่อนเพลีย หน้ามืดตาลาย บำรุงหัวใจ กระจายโลหิต
  • เปลือกต้น – ฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้เสมหะในลำคอเกิด
  • เปลือกราก – เป็นยาถ่าย ทำให้ประจำเดือนมาปกติ รักษาโรคปวดตามข้อ
  • กระพี้ – ถอนพิษผิดสำแดง
  • เนื้อไม้ – บำรุงโลหิต
  • ราก – ขับโลหิตสตรีที่อยู่ในเรือนไฟให้ตก
  • น้ำมันกลั่นจากดอก – แก้ปวดศีรษะ แก้ตาบวม

การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ จำปา นิยมใช้วิธีตอนกิ่ง โดยจะทำการตอนในช่วงฤดูฝนเพราะจะออกรากดีที่สุด ในฤดูอื่นไม่นิยมการตอนกิ่งเลย ส่วนการเพาะเมล็ดจะไม่นิยมทำกันเพราะการติดเมล็ดยากกว่าจำปา จำปา นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เนื่องจากการติดเมล็ดง่ายและมีจำนวนมาก ในปัจจุบันมีการขยายพันธุ์โดยการตอนอีกด้วย เพราะว่าจะได้ต้นที่เจริญเติบโตเร็วกว่าการเพาะเมล็ด แต่ยังไม่นิยมทำกันมากนัก เพราะจำปาจะออกรากยาก เมื่อเราจะตอน จะต้องเตือนกิ่งทิ้งไว้ก่อน จึงจะทำการตอนได้

champaking

การปลูก
การปลูก การเตรียมดิน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะทำการยกร่องแล้วปลูกบนร่อง ถ้าหากสภาพพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องปลูก หลังจากนั้นทำการเตรียมดินโดยการขุดไถพรวนดิน ใส่ปูนขาว ตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน ทำการขุดหลุมปลูกโดยใช้ระยะปลูก 4 x 6 เมตร ขนาดของหลุม 1 x 1 x 1 เมตร แล้วนำปุ๋ยคอกประมาณ 1 บุ้งกี๋และปุ๋ยผสมคลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมาให้เข้ากันดี แล้วใส่ลงไปในหลุม ก่อนที่จะนำต้นมาปลูกต่อไป นอกจากนี้อาจมีการนำเอาเศษกระดูกสัตว์จากโรงงาน มาใส่ในหลุมปลูกด้วย เพื่อช่วยให้ออกดอกมากขึ้น

ขั้นตอนการปลูก
นำต้นกล้าจากที่เตรียมเองหรือซื้อมาจากสวนเกษตรกรหรือสวนจตุจักร โดยจำปา-จำปา ราคาต้นละ 50-100 บาท มาปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ หลังจากปลูกแล้วควรรดน้ำทุกวันจนกว่าจะตั้งตัวได้ ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมคือ เดือนตุลาคม-ธันวาคม แต่อาจจะปลูกเดือนมีนาคม-เมษายน เพื่อที่ว่าพฤษภาคม ซึ่งเริ่มเข้าฤดูฝนทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดีอีกเช่นกัน

champakla

การดูแลรักษา

  1. การให้น้ำ จำปาเป็นไม้ที่ชอบน้ำมาก แต่อย่าให้น้ำขัง จึงจำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งมาก ๆ อาจต้องรดวันละ 2 ครั้ง ก็ได้ ถ้าให้น้ำไม่เพียงพอจะให้ดอกน้อยลง
  2. การให้ปุ๋ย หลังจากจำปา ตั้งตัวได้ดีแล้ว (ประมาณ 24 สัปดาห์) ควรมีการใส่ปุ่ยอัตรา 2-3 กก./ต้น/ปี โดยเจาะใส่เป็นหลุม ตามแนวของทรงพุ่ม การใส่ปุ๋ยควรใส่เดือนละครั้ง หลังจากใส่ปุ๋ยแล้วควรรดน้ำตามด้วย นอกจากนี้ยังมีการใส่ปุ๋ย คอกและปูนขาวทุกปีเพื่อปรับสภาพดินให้ดีขึ้น
  3. การตัดแต่งกิ่ง เมื่อต้นมีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะมีลำต้นสูง จะต้องตัดแต่งโดยตัดยอดให้ต่ำลง เพื่อให้แตกกิ่งใหม่ สะดวกในการเก็บดอก แล้วควรตัดกิ่งแก่ กิ่งแห้งออกด้วย เพื่อให้ทรงต้นโปร่งไม่เป็นที่สะสมของโรคและแมลง

champadok

โรคแมลงและการป้องกันกำจัด

  1. โรคใบแก้ว จะพบในจำปา ส่วนจำปาไม่ค่อยพบ สาเหตุเกิดจากการเตรียมดินไม่ดีอาการเหมือนกับโรคใบแก้วของส้ม คือ ใบจะเป็นสีเหลืองบริเวณยอด ส่วนเส้นใบจะเป็นสีเขียว ขนาดดอกเล็กลง และมีสีเปลี่ยนไป การแก้ไข ทำได้โดยการปรับปรุงดินให้มีสภาพดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยคอก และปูนขาว
  2. โรคกิ่งแตก สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร อาการจะพบว่าที่กิ่งและลำต้นเปลือกนอกของกิ่ง จะแตกเต็มไปหมด ทำให้ออกดอกน้อยลง จะพบในต้นที่มีอายุมาก ๆ การแก้ไข ให้โค่นต้นทิ้งแล้วปลูกใหม่
  3. หนอน จะทำลายทั้งต้นและดอก ทำให้ใบเหี่ยวและดอกเสียหายถ้าปล่อยไว้ ต้นอาจตายได้

 

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ดอกไม้ประดับ

แสดงความคิดเห็น