จิกมีขึ้นทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคกลางของอินเดีย ตลอดลังกาถึงย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยก็มีขึ้นอยู่ทั่วประเทศ ในที่ค่อนข้างราบลุ่มตามชายห้วย หนอง แม่น้ำ สามารถเป็น พันธุ์ไม้สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกได้อย่างดี และมีชื่อเรียกต่าง ๆ ไปตามท้องที่ เช่น จิกน้ำ จิกบก กระโนทุ่ง กระโดนน้ำ ตอง กระโนสร้อย มุ่ยลาย และลำไพ่ เป็นต้น การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดหรือตอน และจะตัดกระโงจากรากก็ได้ ใบอ่อนรสฝาดเล็กน้อย ใช้รับประทานได้ รากของต้นจิกใช้เป็นสมุนไพร แก้โรคลมต่าง ๆ ประชาชนนิยม ปลูกไว้ตามชายน้ำ เพื่อกันดินพัง อาศัยร่มเงา ปลูกเป็นไม้ประดับ และใช้รับประทานกันทั่ว ๆ ไป
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.
ชื่อวงศ์ : Lecythidaceae
ชื่อสามัญ : Indian oak, Chee
ชื่อพื้นเมือง : กระโดนทุ่ง กระโดนน้ำ จิกน้ำ ตอง
ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มรีหรือแผ่กว้าง ปลายกิ่งมักลู่ลง เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็นสันแหลมตามยาวลำต้น
- ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบรูปหอกหรือรูปไข่กลับ กว้าง 10-13 เซนติเมตร ยาว 20-30 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือมีติ่งแหลม โคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยง
- ดอก (Flower) : สีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ช่อดอกห้อยลงยาว 0.3-1 เมตร กลีบเลี้ยงสีเชียว 4 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก 4 กลีบ ปลายกลีบม้วนออก กลีบดอกบิด ดอกร่วงง่าย ดอกบานเต็มที่กว้าง 1-2 เซนติเมตร
- ผล (Fruit) : ผลสด รูปชอบชนานหรือทรงกลม มีสันเป็นเหลี่ยม 4 สัน เรียงตามยาวผล เมล็ดรูปไข่ มีเมล็ดเดียว
การกระจายพันธุ์
พบได้ทั่วไปในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พบทุกภาค ตามริมฝั่งน้ำ คลอง บึง ป่าพรุ และป่าชายเลน
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ : ปลูกริมน้ำหรือศาลาในสวน ดอกสวยงาม ทนน้ำท่วมขัง รากช่วยยึดตลิ่ง
ประโยชน์
- น้ำจากใบแก้ท้องเสีย เปลือกเป็นยาลดไข้ และรักษาไข้มาลาเรีย ผลแห้ไอ แก้หวัด เมล็ดแก้จุกเสียด น้ำคั้นจากเมล็ดเป็นยาหยอดตา รากเป็นยาระบายอ่อน ๆ และทำให้อาเจียนน้ำจากใบแก้ท้องเสีย เปลือกเป็นยาลดไข้ และรักษาไข้มาลาเรีย ผลแห้ไอ แก้หวัด เมล็ดแก้จุกเสียด น้ำคั้นจากเมล็ดเป็นยาหยอดตา รากเป็นยาระบายอ่อน ๆ และทำให้อาเจียน
- ยอดอ่อนและดอกอ่อน ทานเป็นผักสด รากใช้เป็นยาระบาย เปลือกใช้ชะล้างบาดแผล และเบื่อปลาใบแก้ท้องร่วง เมล็ดเป็นยาขับลมแก้ร้อนใน
- ใช้เปลือกจากต้นแก่ประมาณ 3 กำมือ เคี่ยวในน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน กินแก้ท้องเสียขณะมีอาการ กินประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ข้อพิจารณาในการใช้ ถ้ากินยามากเกินไป จะทำให้ท้องผูก ใบ แก้ท้องร่วง ต้นแก้ปวดศรีษะ แก้เลือดออกตามไรฟัน เมล็ด แก้แน่นท้อง แน่นหน้าอก ช่วยให้คลอดบุตรง่าย แก้เยื่อตาอักเสบ แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง เปลือก ใช้เบื่อปลา