ยึดหลัก แห้งชาม และ น้ำชาม ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนําเปรียบเทียบกับความรู้ที่ได้ให้ความหมายใหม่ว่า แห้งสาม น้ำสอง
แห้งสาม คือสิ่งที่มีชีวิตในดินเล็กๆที่เรียกว่าจุลินทรีย์ในดิน 3 ชนิดเป็นของ แห้ง คือ
- ดินรากข้าว หรือรากผักตบชวา
- ดินบริเวณกอไผ่ หรือใต้ใบไผ่
- ดินบริเวณจอมปลวก
น้ำสอง คือสิ่งที่มีชีวิตเล็กเล็กๆที่เรียกว่าจลุ ินทรีย์ที่อยู่ในของเหลว คือ
- น้ำหมัก หรือนมเปรี้ยว
- น้ำตาลหมัก หรือน้ำข้าวหมาก
ความหมายทางวิทยาศาสตร์ แห้งสาม ได้แก่
- แบคทีเรียสังเคราะห์แสง (Photosynthesis Bacteria) มีอยู่มากบริเวณรากข้าวและรากผักตบชวา เป็นบักเตรีที่ใช้แสงอาทิตย์เป็นพลังงาน ดึง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ กับ แก๊สไข่เน่า(ไฮโดรเจนซัลไฟด: H2S) มาปรุงเป็นอาหารได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้สีเป็นเครื่องจําแนก คือ กลุ่มสีเขียว (Chlorobiales) กลุ่มสีกุหลาบม่วงอมแดง(Rhodospirillales)
- แบคทีเรียที่มีเส้นใย (Actinomycetes) เป็นบักเตรีที่มีเส้นใยคล้ายราที่อยู่ในลําไส้ปลวก ดนบร ิ ิเวณจอมปลวก
- เชื้อราขาว (Mycorrhyzal fungi) เป็นราที่อยู่คู่กับรากพืชมาตั้งแต่ยุคดึกดําบรรพ์ เป็นราที่พืชอุปการะไว้ โดยให้อาหารและให้อาศัยอยู่ในรากอ่อน เพื่อทําหน้าที่หาน้ำและแร่ธาตุในดินมาป้อนให้พืช และคุ้มครองป้องกันรากอ่อน มีมากอยู่บริเวณกอไผ่ หรือกอกล้วย
ความหมายทางวิทยาศาสตร์ น้ำสอง ได้แก่
- แบคทเรียย่อยน้ำนม (Lactobacillus Bacteria) เป็นแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นท่อนๆ ซึ่งมนุษยชาติรู้จักดีและนํามาใช้หมักน้ำนม นมส้มเพื่อบริโภคบํารุงสุขภาพ มีมากในอาหารประเภทหมัก ดอง
- ราประเภทยีสต์ (Yeast) เป็นราเซลล์เดี่ยว ที่มนุษยชาติรู้จักสรรพคณและนำมาใช้หมักแป้งทําขนมอบ ขนมทอด, เบียร์, ไวน์, น้ำส้มสายชู และอื่นๆ ยีสต์ชํานาญการหมักย่อยแป้ง ให้เป็น น้ำตาล จากน้ำตาลเป็น น้ำเมาหรือแอลกอฮอล์ และจากแอลกอฮอล์เป็นกรด หรือ น้ำส้ม
วิธีทำ
- นำดินรากข้าว ดินกอไผ่ และดินจอมปลวก อัตราส่วนเท่ากันโดยน้ำหนัก คลุกเค้าให้เข้ากัน นำไปผสมกับ นมเปรี้ยวและข้าวหมาก พอหมาดๆ
- เติมอาหารสัตว์เล็ก และมูลสัตว์แห้ง อัตราส่วน 1 : 1 คลุกเค้าให้เข้ากัน เติมน้ำสะอาดพอหมาดๆ
- ปั้นเป็นก้อนเท่ากำมือ วางเรียงไว้ ปิดด้วยกระสอบป่านหรือผ้า เก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิห้อง จนครบ 7 วัน จะเกิดเส้นใยจุลินทรีย์สีขาว สามารถนำไปใช้ได้
การนํา เบญจคุณ ไปใช้
- ใช้โดยตรง ด้วยการปั้นขยายปริมาณ 1 น้ำหนักให้มากขึ้น เมื่อหมักได้ 7 วันแล้วนําลงดิน และเติมปุ๋ยหมักธรรมดา หรือมูลสัตว์แห้ง เตรียมดินไว้ 1- 2อาทิตย์ล่วงหน้าเพื่อปลูกพืชผักในภาชนะบรรจุ หรอแปลงปล ื ูกในสวนหน้าบ้านหลังบ้านไว้บริโภคเองได้ เหลือก็ขายตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนําไว้
- ขยายเป็นเบญจคุณน้ำตามสูตรที่แนะนําไว้ในเอกสาร ใช้ทําเป็นปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง หรือทาเปํ ็นโรงงานเล็กๆ หรือใชหม้ ักขยะฟางข้าวและอินทรียวัตถุอื่นๆเพื่อเป็นแหล่งสร้างปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติในดิน
- ใช้หมักกับผัก ผลไม้ทําเป็นเอ็นไซม์ (Enzyme) บํารุงพืช หรือผสมอาหารสัตว์ได้ทุกชนิด
- ใช้หมักสมุนไพรไล่แมลงได้
อัตราการใช้
- ก้อนเบญจคุณ 1 ก้อน (0.2 กก.(2 ขีด) ราคาประมาณ 3 บาท) ใช้ได้กับพื้นที่ 1ตารางเมตร
- น้ำหมักเบญจคุณ 200 ลิตร (ราคาประมาณลิตรละ 6.30 บาท) ใช้ได้หลายอย่างเช่น ผสมน้ำ 20 เท่า เพื่อใช้สลายอินทรียวัตถุธรรมชาติได้ทุกอย่าง และใช้น้ำหมักเบญจคุณ 200 ลิตรหมักปุ๋ยอินทรีย์เบญจคุณได้ 1 ตัน
- น้ำหมักเบญจคุณนําไปทําปุ๋ยอินทรีย์เบญจคุณ (รายละเอียดของสูตรจะกล่าวในตอนต่อไป) จะได้ปุ๋ยไปใช้ในอัตรา 200 กิโลกรรมต่อไร่ ราคาไม่เกินตันละ7,000 บาท ปุ๋ย 1 ตัน ใช้ได้ 5 ไร่ และผสมมูลสัตว์ 100 กิโลกรรมต่อไร่
วิธีทําน้ำหมักชีวภาพเบญจคุณ
วัสดุ
- ก้อนหัวเชื้อเบญจคุณ 15 ก้อน
- รําอ่อน 10 กก.
- น้ำตาลทรายแดง 5 กก.
- นมเปรี้ยว หรือน้ำนมหมัก 1 ลิตร (ดูวิธีการทําน้ำหมักประกอบ)
- ถังหมักขนาด 200 ลิตร 1 ถัง
วิธีทํา
- เดิมน้ำธรรมดา 50 ลิตร
- เทน้ำ 50 ลิตรลงไปในถังขนาด 200 ลิตร แล้วนําส่วนผสมในข้อ 2. ข้อ 3. ข้อ 4. ใส่ลงไปกวนให้เข้ากัน
- เติมน้ำเพิ่มลงไปให้ได้ 180 ลิตร (ใส่ไปแล้ว 50 ลิตร) แล้วใส่ก้อนหัวเชื้อเบญจคุณ 15 ก้อน ในข้อ 1. ลงไปกวนให้เข้ากัน
- ปิดฝาให้สนิท และเจาะรูระบายอากาศ เพื่อป้องกันไม่ให้ระเบิด หมักทิ้งไว้ 4 5 วัน จะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว และมีฝ้าสีขาวอมเหลืองระเรื่อขึ้น (ถ้ามีกลิ่นเหม็นจะต้องแก้ไข เพราะอาจขาดอะไรบางอย่างให้ปรึกษาอาจารย์ผู้สอน)
วิธีใช้
- พ่นสลายอินทรียวัตถุ เชนเศษว่ ัชพืช ตอซัง ใช้ในอัตราส่วนผสมน้ำธรรมดา 1 : 20 ลิตร
- นําไปทําปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง โดยใช้อัตราส่วน น้ำหมัก 200 ลิตร ทําปุ๋ยอินทรีย์ได้ 1 ตัน
การทําปุ๋ยหมักอินทรีย์ 1 ตัน ประกอบด้วย
- มูลสัตว์แห้ง 700 กิโลกรัม
- รําอ่อน 300 กิโลกรัม
- น้ำหมักเบญจคุณ 200 ลิตร
หมักทิ้งไว้โดยใส่กระสอบปุ๋ยเก่า มัดปากถุงเก็บไว้ 15 วันเป็นอย่างน้อย จึงจะสามารถนําไปใช้ได้ถ้าจะหมักเป็นแบบกระจายกอง ให้หมกบนพั ื้นซีเมนต์ สูงประมาณ1 ศอก แล้วใช้กระสอบป่านชุบน้ำคลุมไว้ 15 วัน ไม่ต้องพลิกกลับ
การทํานมเปรี้ยว (น้ำหมักนม)
ส่วนผสม การทําน้ำหมักเชื้อตั้งต้น
- น้ำมะพร้าวออน่ หรือน้ำซาวข้าว 10 ลิตร
- น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
นําน้ำตาลทรายเทใส่น้ำมะพร้าว คนให้เข้ากันหมักใส่ภาชนะพลาสติกปิดฝาให้สนิท (เป็นการจํากัดอากาศ) หมักทิ้งไว้ 7 15 วัน เป็นเอ็นไซม์ที่มีรสเปรี้ยวส่วนผสมการทํานมเปรี้ยว
- หัวเชื้อจากนามะพร้าว 1 ลิตร
- นมสด นมตกเกรด (นมผงผสมน้ำก็ได้) 10 ลิตรนํานมผสมกับน้ำเอ็นไซม์หัวเชื้อ แล้วใส่ถังหมักไว้ 21 วัน จะเกดการแยก ิชั้นไขมัน (ถ้าเป็นหางนมไขมันจะไม่ลอย แต่เนื้อนมจะตกตะกอน) ชั้นล่างจะเป็นน้ำสีเหลืองอ่อนใสคล้ายเซรุ่ม เรียกว่า นมเปรี้ยวเบญจคุณ
สามารถนํา นมเปรี้ยวเบญจคุณไปใช้เป็นเอนไซม์ฮอร์โมน ฉีดพ่น ผักข้าว ผลไม้ โดยใช้ในอัตราส่วนผสมกับน้ำ 1 : 20 (น้ำ 20 ลิตร ต่อน้ำนมเปรี้ยวเบญจคุณ 1 ลิตร
การทําฮอร์โมนเบญจคุณ
ฮอร์โมนมีอยู่ 3 ประเภท คือ
- ฮอร์โมนผลไม้ ได้จากการหมักผลไม้ทุกชนิด
- ฮอร์โมนพืช ได้จากการหมักเศษผักต่างๆ
- ฮอร์โมนสัตว์ ได้จากการหมักเศษหอย ปู ปลาต่างๆ
ส่วนผสมการทําน้ำหมักเอนไซม็ ์ฮอร์โมนจากผลไม้ปริมาณ 200 ลิตร ดังนี้
- ผลไม้ 50 กก. (อยางน่ ้อย 5 ชนิด)
- น้ำตาลทรายแดง 5 กก.
- นมเปรี้ยวเบญจคุณ 1 ลิตร
- ก้อนจุลินทรีย์เบญจคุณ 15 ก้อน
วิธีการทํา หั่น หรือสับผลไม้ให้เป็นชิ้นเล็กๆแล้วนําส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้า
ให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำให้เตม็ (ประมาณ 160 ลิตร) ปิดฝาทิ้งไว้อย่างน้อย 45
วัน จึงนําไปใช้
วิธีการใช้ ใช้ฉีดพ่นทางใบเป็นอาหรเสริมให้พืช อัตราในการฉีดพ่น
- ข้าว พ่นเมื่อข้าวแตกกอ ฉีด 1 : 100 ลิตร ทุก 15 หรือ 30 วัน
- ผัก ผลไม้ 1 : 40 ลิตร (ถ้าเข้มเกินไปเริ่มจาก 1 : 80 ก่อน)
เอกสารประกอบ : จุลินทรีย์เบญจคุณ