ชะครามเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งและยังเป็นพืชสมุนไพรที่น่าสนใจในการนำมาแปรรูปเป็นอาหารและสามารถสกัดสารเพื่อใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคอันเป็นความหวังของผู้วิจัยและผู้ป่วยมะเร็งอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะสามารถช่วยชีวิตของผู้ป่วยและยืดอายุต่อไปได้ ในอนาคตคาดว่าชะครามนี้อาจจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่นำมาแปรรูปและพัฒนาเป็นรูปแบบอาหารที่มนุษย์นิยมรับประทานเพื่อสุขภาพ และใช้เป็นพืชเพิ่มพลังงานให้แก่ประเทศไทยได้ ทั้งนี้เนื่องจากชะครามเป็นพืชที่หาง่ายพบขึ้นทั่วไปตามป่าชายเลนและที่สำคัญที่สุด สารสกัดจากต้นชะครามยังมีประโยชน์ทางการแพทย์ทางเลือกได้อีกทางหนึ่งในอนาคตซึ่งมนุษย์ไม่ควรจะละเลย
ชะคราม Suaeda maritima (L.) Dumort. Chenopodiaceae
ชื่อพ้อง Chenopodium maritimum L. (basionym)
ชื่ออื่น ส่าคราม (สมุทรสาคร) ชักคราม
ชื่อวงศ์ CHENOPODIACEAE
ชะครามมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบทั่วไปในทวีปยุโรปและเอเซีย ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคใต้ พบตามชายป่าโกงกาง ที่รกร้างรอบๆ นาเกลือ
ลักษณะทางพฤกศาสตร์
- ลำต้น ไม้ล้มลุกที่มีอายุหลายปีเมื่ออายุมากขึ้นจะพัฒนาจนลำต้นมีเนื้อไม้เป็นพุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 เมตร ทรง แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นแก่มีผิวหยาบจากรอยแผลที่เกิดจากใบ ที่ร่วงหล่นไปแล้ว
- ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปทรงกระบอกแคบๆ โค้งเล็กน้อย ยาว 2-5 มม. ปลายเรียวแหลม ไร้ก้าน เรียงสลับ เบียดกันแน่น ไม่มีก้านใบ ใบรูปแถบยาว 1-6 เซนติเมตร. ใบอวบน้ำมีนวลสีเขียวสดหรือสีเขียวอมม่วงในฤดูแล้งจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วงอ่อนๆ
- ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ยาวประมาณ 15 ซม. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ยาวประมาณ 15 ซม. แต่ละแขนงดอกออกเป็นกระจุก 3-5 ดอกเรียงยาวตามช่อแขนง มีใบประดับคล้ายใบ ลดรูปตามช่อกระจุกช่วงปลายช่อ ประดับย่อยขนาดเล็ก มี 2-3 อัน ติดใต้กลีบรวม ยาว 0.5-1 มม. ติดทน ลักษณะคล้ายใบ และมีขนาดเล็กลงไปทางปลายช่อ ใบประดับย่อยที่ฐาน วงกลีบรวม มี 2-3ใบรูปขอบขนานมนโปร่งใสและติดคงทนวงกลีบรวม สีเขียว หรือสีเขียวอมม่วง
- ผล มีลักษณะกลม ขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5เซนติเมตร. อยู่ภายในวงกลีบรวม แต่ละผลมีเมล็ดจำนวนมาก
สรรพคุณตามตำรับยาไทย
ผักชะครามมีสรรพคุณ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรามาก เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบขึ้นในที่เค็ม จึงดูดเกลือไว้ในลำต้น ทำให้มีธาตุไอโอดีนสะสมอยู่ สามารถป้องกันโรคคอพอกได้ นอกจากนี้ ทั้งต้นยังรักษารากผม แก้ผมร่วง ได้ ใครยังไม่เคยรับประทานชะครามลองไปหามามารับประทานดู แล้วจะติดใจ
ส่วนที่ใช้และสรรพคุณ
- ราก ใช้รากรับประทานเป็นยาบำรุงกระดูก แก้พิษฝีภายใน ดับพิษในกระดูก น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน โรคผิวหนัง และเส้นเอ็นพิการ
- ลำต้นและใบของชะคราม
- ป้องกันโรคคอพอก เพราะชะครามดูดเกลือจากดินมาเก็บไว้ ทำให้มีธาตุไอโอดีนสะสมอยู่ ซึ่งสามารถป้องกันโรคคอพอกได้
- รักษารากผม แก้ผมร่วงได้ด้วย
- ใช้ทำอาหาร
ใบของชะคราม ทำอาหารได้อร่อยหลายเมนู โดยที่ใบของชะครามจะดูดเอาความเกลือจากดินมาเก็บไว้ จึงทำให้ใบมีรสเค็ม ดังนั้นในการปรุงอาหารจึงใช้ใบอ่อน นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วต้ม คั้นน้ำทิ้งไป 2-3 ครั้ง เพื่อให้ลดความเค็มลง อาหารที่ทำได้เช่น
- ยำชะคราม ใส่ลงไปในแกงเผ็ดกับปูหรือกุ้ง
- ผักลวกจิ้มราดกะทิกินคู่กับน้ำพริก
- ใบชะครามชุบไข่ทอด แทนชะอม
- ใบชะครามไปชุบแป้งทอดก็อร่อยเหมือนกัน
- ชะครามมีสารอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็ง
ชะครามเป็นพืชสมุนไพรที่น่าสนใจชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำมาสกัดสารทดลองเพื่อยับยั้งหรือฆ่าเซลล์มะเร็งในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนี้ยังมีข้อดีคือ ชะครามขยายพันธุ์ได้ง่ายและมีปริมาณมาก หาง่ายจากป่าชายเลน อันเป็นความหวังของผู้ป่วยมะเร็งอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะสามารถช่วยชีวิตของผู้ป่วยและยืดอายุต่อไปได้และเพื่อหาทางรักษาในรายที่เป็นมะเร็งในระยะเริ่มแรกได้ ซึ่งงานวิจัยทางด้านนี้ยังมีการศึกษาน้อยมากในประเทศไทย นอกจากนี้ชะครามยังสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารตามบ้านเรือน และด้วยความชาญฉลาดของท้องถิ่นชาวบ้านได้นำวัชพืชชนิดนี้มาทำการปรุงเป็นอาหารแบบดั้งเดิมจนเป็นการสืบทอดความรู้ของคนโบราณมาจวบจนปัจจุบันโดยรวบรวม ถ่ายทอด และนำมาสั่งสอนให้คนรุ่นใหม่ได้รับรู้ถึงวิธีการดัดแปลงการทำอาหารจากวัชพืชที่ไร้ค่าแล้วสามารถเก็บมาใช้ประโยชน์ได้อีกเช่น ต้ม ยำ ทำแกงได้ โดยเก็บใบมาทำแกงส้ม หรือนำใบมารับประทานกับจิ้มน้ำพริกกะปิ หรือเป็นเครื่องเคียง ในอนาคตคาดว่าชะครามอาจจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่นำมาแปรรูปเป็นอาหารที่มนุษย์นิยมรับประทานเพื่อสุขภาพ ทั้งนี้เนื่องจากชะครามเป็นพืชที่หาง่ายพบขึ้นทั่วไปตามป่าชายเลน และที่สำคัญที่สุดคือ สารสกัดจากต้นชะครามยังมีประโยชน์ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคในทางการแพทย์ได้ดีอีกด้วย
ยำใบชะคราม
เครื่องปรุง
- ใบชะคราม 1 ถ้วย
- กุ้งชีแฮ้ 8 ตัว
- กะทิสำหรับลวกกุ้ง 1 ถ้วย
- หมูสับรวน 100 กรัม
- หัวกะทิเคี่ยวข้น ถ้วย
- ถั่วลิสงคั่ว ถ้วย หอมแดงเจียว ถ้วย
- พริกขี้หนูแห้งทอดหรือคั่ว 10 เม็ด
- น้ำยำ
- น้ำมะนาว 4 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ เกลือป่น 1 /2 ช้อนชา
วิธีทำ
- ล้างใบชะคราม รูดใส่ลงต้มในหม้อน้ำด้วยไฟกลางให้สุกนุ่มนานประมาณ 15-20 นาที เทใส่อ่างผสม ขยำกับน้ำ 3-4 ครั้ง บีบน้ำให้แห้ง ใส่จาน พักไว้
- ทำน้ำยำโดยผสมน้ำมะนาว น้ำตาล และเกลือ คนให้ น้ำตาลละลายในถ้วย พักไว้
- ล้างกุ้ง แกะเปลือก เด็ดหัวไว้หาง ผ่าหลังดึงเสันดำ ออก ลวกกุ้งในหม้อกะทิด้วยไฟกลางพอสุก ตักใส่ถ้วย พักไว้
- ใส่ใบชะครามต้มลงในจาน ตักหมูรวนใส่ ราดด้วย น้ำยำและหัวกะทิเคี่ยว วางกุ้งลวกข้างบน โรยถั่วลิสงคั่ว หอมแดงเจียว และพริกขี้หนูแห้งทอดหรือคั่ว คลุกเคล้าให้ เข้ากันก่อนรับประทาน