ชาอินคา ชาที่มีกลิ่นหอมและรสชาติกลมกล่อม อีกทั้งยังคงคุณค่าสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างมากมาย เช่น สาร ซาโปนิน ที่ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค ฟื้นฟูพละกำลัง และสาร ฟลาโวนอยด์ วิตามิน A,E ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยต่อต้านเซล์มะเร็งลดความเสื่อมสภาพของเซลล์ ปรับสมดุลในร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ผิวพรรณสดใส สามารถลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน ลดความดันสำหรับผู้ที่มีความดันสูง ที่เห็นผลแน่นอน พร้อมสามารถลดหน้าท้องเมื่อชงดื่มอย่างต่อเนื่อง และยังมีโอเมก้า 3 เพื่อบำรุสมอง มีสารต้านอะนุมูลอิสระและ ลดระดับคอลเรสตอรอลไขมันเส้นเลือด ช่วยไขข้อกระดูก ช่วยในการไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้น ที่สำคัญไม่มีคาเฟอีน สามารถชงดื่มได้ทุกวัย
ประโยชน์ของต้นถั่วดาว
ยอดของต้นถั่วดาวอินคา : สามารถนำไปประกอบอาหาร มีรสชาดิอร่อย มีโอเมก้า 3 6 9 และวิตามิน A E
ใบของต้นถั่วดาวอินคา : สามารถนำไปทำเป็นใบชาหรือนำไปสกัดเป็นคลอโรฟิลล์ ซึ่งมีคุณค่ามากกว่าคลอโรฟิลล์ทั่วๆ ไปถึง 200 เท่า , สกัดน้ำจากใบเป็นน้ำเพื่อสุขภาพ
ดอกหรือฝักต้นถั่วดาวอินคา : นิยมนำมาสกัดเป็นน้ำมัน ซึ่งมีประโยชน์สำหรับมนุษย์มี เพราะมีโอเมก้า 3 6 9 และวิตามิน A E (นำมาบรรจุแคปซูล) , นำมาประกอบอาหารหรือทำน้ำสลัด ทางด้านความงานและอาหารเสริม เช่น โฟม สบู่ ครีมบำรุงผิว โลชั่น เป็นต้น ซึ่งเป็นที่ต้องการของต่างประเทศมาก ในปัจจุบัน
เปลือกของต้นถั่วดาว : นำมาเป็นปุ๋ยเกษตรอินทรีย์หรือจะอัดก้อน ใช้เป็นพลังงานความร้อน ชีวมวล อีกก็ได้
วิธีทำ
นำมาใบต้นถั่วดาวอินคา มาผลิตเป็นชาชงดื่ม เพื่อสร้างรายได้ โดยเลือกเก็บใบจากต้นอายุ 6 เดือนขึ้นไป
นำใบถั่วดาวอินคา มาล้างน้ำให้สะอาด 3-4 ครั้ง ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ นำเข้าเครื่องอบจนใบแห้งสนิท โดยใบสด 7 กิโลกรัม อบแห้งแล้ว จะเหลือเพียง 1 กิโลกรัมเท่านั้น จากนั้นนำไปบด แล้วบรรจุลงซองชา ก่อนจะใส่บรรจุภัณฑ์แบบต่างๆ
กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 6 และ9 จัดเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากร่างกายสร้างเองไม่ได้ และพบในน้ำมันทั่วไปได้น้อยมาก หากขาดจะทำให้ร่างกายขาดความสมดุล รวมทั้งมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่างๆ ดังนั้นร่างกายจึงต้องได้รับกรดไขมันจำเป็นเหล่านี้เข้าไปในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการ กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3และ 6 จัดเป็นสารตั้งต้นของ prostaglandins ในร่างกายซึ่งมีผลต่อระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ระบบหลอดเลือดและหัวใจ, ระบบการขนส่งสารผ่านเส้นเลือด , กลไกการแข็งตัวของเลือด, การส่งผ่านของสารสื่อประสาท, กระบวนการเมทาบอลิซึมของไขมัน, กลไกการอักเสบ และระบบภูมิคุ้มกันดังนั้นจึงมีผลช่วยควบคุมอาการของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น อาการอักเสบและโรคไขข้ออักเสบ,โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันกลุ่ม โอเมก้า 3และ 6 ทดแทนไขมันอิ่มตัวจะไม่เพิ่มระดับไขมันในร่างกาย ส่วนกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 9 มีคุณสมบัติคล้าย โอเมก้า-3 และ 6 รวมทั้งยังช่วยเสริมฤทธิ์ของสารทั้งสองตัวให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 9 ทดแทนไขมันอิ่มตัวจะช่วยลดระดับLDL cholesterol ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดีก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบได้ ในสภาวะปกติจะมีสมดุลที่เหมาะสมระหว่างโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 ในอาหาร เนื่องจากทั้งสองสารจะทำงานไปด้วยกันเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่ปกติ หากมีความไม่สมดุลระหว่างกรดไขมันจำเป็นทั้ง 2 ชนิด จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นมา
ลดความดัน ป้องกันความดันโลหิตสูง ลดระดับคอลเรสตอรอล ช่วยให้เลือดลมใหลเวียนดียิ่งขึ้น ลดไขมันในเลือด เพิ่มความแข็งแรงให้ผนังหลอดเลือด ไม่ให้เปราหรือแตกง่าย จึงช่วยป้องกันเส้นเลือดแตกได้ บำรุงหัวใจ ระงับประสาทบำรุงสมอง ลดหน้าท้องช่วยเร่งระบบการเผาผลาน ในร่างกาย จึงทำให้ไขมันที่สะสมนำมาใช้เป็นพลังงานได้ง่าย ลดน้ำตาลในเลือดป้องกันโรคเบาหวาน มีสารต้านอนุมูลอิสระหรือสารแอนตี้ออกซิแดนซ์สูง ช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็ง อีกทั้งยังทำให้ดูอ่อนกว่าวัย ลดความเสื่อมของเซลล์ภายในร่างกายจากมลพิษ และจากอาหารที่เราบริโภคเข้าไป
สรรพคุณ
ป้ายคำ : แปรรูปอาหาร