ชิงชัน ประดู่ชิงชัน

6 มิถุนายน 2558 ไม้ยืนต้น 0

ไม้ชิงชังมี ชื่อพื้นเมืองว่า ประดู่ชิงชัน ดู่สะแตน เก็ดแดง อีเม็ง พยุงแกลบ กะซิบ หมากพลูตั๊กแตน Burma rosewood, Tamalan มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dalbergia oliveri Gamble โดยมีชื่อพ้อง 2 ชื่อ D.bariensis Pierre และ D.dongnaiensis Pierre ชิงชันจัดอยู่ในสกุลไม้ชิงชัน (Dalbergia Linn.) ในอนุวงศ์ประดู่ (Papilionatae) ของวงศ์ไม้ประดู่ (Leguminosae) ไม้สกุลไม้ชิงชัน มีอยู่ทั้งสิ้น ประมาณ 80 ชนิด ใน ประเทศไทยมีประมาณ 30 ชนิด แต่ที่หวงห้ามมีเพียง 3 ชนิด คือ พะยูง (D.cochinchinensis), ชิงชัน (D.oliveri) และกระพี้เขา (D.cultrata) มีถิ่นกำเนิดในพม่า, ลาว และไทย และถูกนำไปปลูกในมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นที่รู้จักกัน ทั่วโลกว่า ไม้ตระกูลนี้มีเนื้อไม้และแก่นที่สวยงาม แข็งแรง ทนทาน จึงนิยมใช้ทำเครื่องเรือน
เครื่องใช้ต่างๆ เครื่องแกะสลัก หวี มุถือและด้ามเครื่องมือ

chingchankan

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia oliveri Gamble
ชื่อวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ชื่ออื่น ประดู่ชิงชัน ดู่สะแดน เก็ดแดง อีเม็ง พยุงแกลบ กะซิก กะซิบ หมากพลูตั๊กแตน

ลักษณะทั่วไป
ไม้ชิงชันจัด เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 25 เมตร เปลือกหนามีสีน้ำตาลเทา กะเทาะล่อนเป็นแว่นหรือแผ่นขนาดเล็ก เปลือกในสีเหลือง เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง แก่นสีม่วง ถึงน้ำตาลอมม่วงมีเส้นแทรกดำและมีเสี้ยนสน

  • ยอดอ่อน ใบอ่อนออกสีแดงเกลี้ยง หรือมีขนเบาบาง ใบเป็นช่อ ก้านช่อยาว 5-30 เซนติเมตร ส่วนมากจะมีใบประกอบย่อย 11-17 ใบ เมื่อยังเล็ก จะมีลักษณะค่อนข้างกลมและมีลักษณะยาวรีหรือเรียวเป็นรูปขอบขนานแกมรูปหอก เมื่อต้นไม้มีอายุมากขึ้น ใบกว้าง 1-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ฐานใบกลมหรือเป็นรูปลิ่มกว้างๆ ปลายใบมนทู่หรือ ยักเว้าเล็กน้อยทางกด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าหลังใบ
  • ดอกมีสีขาวอมม่วง เกิดบนช่อดอกเชิงประกอบตามปลายกิ่ง ดอกจะเกิดพร้อมกับการผลิใบใหม่ในราวเดือน มีนาคม-พฤษภาคม เกสรผู้แยกออกเป็นสองกลุ่มๆ ละ 5 อัน
  • ฝักมีลักษณะยาวรี หรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-3.5 เซนติเมตร นาว 8-17 เซนติเมตร ส่วนที่หุ้มเมล็ดหนาแข็ง มีลักษณะเป็นกระเปาะผิวเรียบบางไม่เห็นเส้นแขนง ตัวของกระเปาะกลมหรือแกรมรีเล็กน้อยนูนเด่นออกมาเห็นได้ชัด รอบๆ กระเปาะจะมีลักษณะคล้ายปีกแผ่กว้างออกไปเห็นได้ชัด ฝักจะแก่ประมาณสองเดือนหลังจากออกดอก
  • เมล็ด ส่วนมากจะมีเมล็ดเดียวแต่อาจพบบ้างที่มีจำนวน 2-3 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะ คล้ายรูปไตสีน้ำตาล กว้าง 0.6 เซนติเมตร ยาง 1 เซนติเมตร
  • ระบบราก เท่าที่มีการศึกษาระบบรากของกล้าไม้พบว่าจะมีรากแก้วยาวมาก มีรากฝอยที่เกิดจากรากแขนงจำนวนปานกลาง และมักจะพบปมรากถั่วเกิดอยู่เสมอ

chingchanton chingchanking chingchandok

การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ
พบขึ้นอยู่ใน ประเทศพม่า, ลาว และไทยกระจายทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ที่มีสภาพแห้งแล้ง (dry type) มักพบเกิดอยู่ร่วมกับไม้สักและไม้ไผ่และบ่อยครั้งก็พบในป่าเต็งรังที่เป็น ดินลูกรัง ที่พบในประเทศไทย มีขึ้นอยู่ทุกภาค ยกเว้นภาคใต้

chingchankla

การใช้ประโยชน์
เนื่องจากเนื้อ ไม้สวยงาม มีความหนาแน่นสูง ( 905-1140 kg/cu.m ) มีอายุการ ใช้งานมากกว่า 25 ปี จึงมีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้เป็นไม้โครงสร้างในการก่อสร้าง เป็นไม้ฟื้น ตัวถังรถ เฟอร์นิเจอร์ ด้ามเครื่องมือ เครื่องกีฬา เครื่องมือเกษตร ตกแต่งภายใน เป็นไม้ข้อต่อ ใช้ทำเสา แกะสลัก ของเล่น ไม้หนอนรถไฟ ฯลฯ

chingchanmai
นอกจากประโยชน์ที่ได้รับจากเนื้อไม้โดยตรงแล้ว ไม้ชนิดนี้ยังอาจเป็นไม้ที่ปลูกเพื่อ การปรับปรุงพื้นที่ได้ เนื่องจากเป็นไม้ในตระกูลถั่ว สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ และจากการที่มีระบบรากลึกจึงทำให้สามารถทนแล้ง และสามารถใช้ประโยชน์ จากน้ำและธาตุอาหารพืชในระดับต่ำกว่า พืชชนิดอื่นได้ ซึ่งเป็นข้อดีในการปลูกร่วมกับพืชที่มีระบบรากตื้น

ที่มา
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ยืนต้น

แสดงความคิดเห็น