“ชุมชนคอยรุตตั๊กวา” ตั้งอยู่หมู่ ๕ แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ชุมชนลำไทร” ชุมชนแห่งนี้ได้รับการบุกเบิกเมื่อประมาณ ๑๓๐ ปีที่ผ่านมา โดย “นายอิบรอฮีม-นางซานี บีดิล” สองสามีภรรยาที่อพยพถิ่นฐานจากปัตตานีมาอยู่แถบลุ่มน้ำแสนแสบ (บริเวณบ้านเจียรดับในปัจจุบัน) จากพื้นที่ป่าก็ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาเป็นเรือกสวน ไร่ นา จนทำเป็นอาชีพหลัก โดยยึดหลักการปกครองดูแลเป็นระบบครอบครัวและลูกหลานสืบมา ประชากรในหมู่บ้านลำไทรร้อยละ ๙๐ เป็นชาวมุสลิมนับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพหลักคือการทำเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด เลี้ยงหงส์ เลี้ยงนก เลี้ยงวัว เลี้ยงแพะ
ลำไทร เป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งที่ถูกบุกเบิกเมื่อประมาณ 140 ปีที่ผ่านมาโดย นายอิบรอฮีม นางซานี บีดิล และสองสามีภรรยาที่อพยพถิ่นฐานมาจากปัตตานีมาอยู่แถบลุ่มน้ำแสนแสบ (บริเวณบ้านเจียรดับในปัจจุบัน) จากพื้นที่ที่เคยเป็นป่าได้ปรับปรุงและพัฒนาเป็นที่ที่ทำสวน ไร่ นา เป็นอาชีพหลัก โดยระบบครอบครัวและลูกหลานสืบมา ความเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ความสัมพันธ์ในชุมชนเป็นระบบเครือญาติเกือบทั้งชุมชน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามโดยยึดแนวปฏิบัติตามคัมภีร์ อัล กุรอานอย่างเคร่งครัด ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ใช้เป็นทางนำของชีวิตของหมู่บ้านลำไทรตลอดมา ได้นำหลักปฏิบัติของศาสนามาดำเนินวิถีชีวิตตั้งแต่อดีตและมีการปรับใช้ตามความรู้ที่ได้รับของศาสนาอิสลามแต่ละสมัย ที่ได้เกิดการเรียนรู้ ที่ได้มีนักวิชาของศาสนาเข้ามาอบรมสั่งสอนกันเป็นช่วง ๆ เช่น นายหะยีมูฮำมัด แม้นมินทร์ จากอัลอิสละห์สมาคม อาจารย์อิสมาแอล วิสุทธิปราณี มูลนิธิสันติชน และนักวิชาการคนอื่น ๆ ทำให้ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา หรือหมู่บ้านลำไทร มีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติศาสนากิจและการใช้ประเพณีดั่งเดิมถูกยกเลิกไปและมีประเพณีและวัฒนธรรมใหม่อยู่บนฐานศาสนาอิสลามอย่างชัดเจน เช่น พิธีแต่งงาน พิธีแห่เจ้าบ่าว เจ้าสาว พิธีเข้าสุนัต พิธีโกนผมไฟ ฯลฯ และมีการพัฒนามากกว่าในหมู่บ้านอื่น ๆและตั้งอยู่บนฐานของศาสนาอิสลามสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมั่นคงจนถึงทุกวันนี้ 133 หลังคาเรือนที่จะกระจายรายล้อมมัสยิดคอยรุตตั๊กวา และโรงเรียนอิสลามลำไทรเป็นรากฐานที่จะสืบสายจากเจตนารมณ์ของเหล่าบรรพชนที่ได้กอร์ปจิตกุศลสร้างคุณงามความดีไว้เป็นแบบอย่าง ผืนแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ด้วย
ทรัพยากรมากค่าแห่งนี้ได้มาอย่างเด็ดเดี่ยวและโดดเด่นให้ลูกหลานได้พักพิงและพึ่งพาตามสมญานามว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว และยังคงรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ดีที่เรียบง่ายและครองความเป็นชนบทในเมืองของถิ่นของกรุงเทพมหานคร 12 กลุ่มบ้านเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สืบสานมาจากประวัติศาสตร์ พัฒนามาเป็นวัฒนธรรมการครอบครองของท้องถิ่นที่สำคัญ ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวามีการแบ่งกลุ่มการบริหารงานการดูแลภายในชุมชนออกเป็น 12 กลุ่มบ้าน โดยยึดจากเครือญาติ สภาพทางภูมิศาสตร์ ทำเลที่ตั้งและการรวมตัวกันอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน คณะกรรมการชุมชนมีการกระจายอำนาจให้แต่ละกลุ่มบ้านมีคณะกรรมการซึ่งจัดตั้งขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อที่จะสามารถดูแลและประสานงานภายในชุมชนให้เป็นระบบอย่างทั่วถึง ความสุขสมบูรณ์วัดได้จากค่าของการมีสิ่งแวดล้อมที่ดี คนดี สิ่งแวดล้อมดี ที่ยังคงรักษาชุมชนชนบทหรือคอยเอื้ออำนวยในการพัฒนาคุณภาพชีวิต สีเขียวของต้นไม้ที่คอยดูดซับความฟุ้งกระจายของมลพิษที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นซึ่งมีไม่มากนัก เพราะไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในชุมชน สีเขียวของร่มไม้ สร้างความร่มรื่นให้เกิดขึ้นโดยทั่วไป ถึงแม้ในยามแล้งน้ำอาจเหือดแห้งไปตามฤดูกาลแต่เป็นช่วงคงมีไม่มากนัก มิช้ามินานฤดูฝนที่หว่านล้อมความชุ่มชื้นให้หวนกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่งในรอบปีเช่นเคยชุมชนเมือง ประกอบกับมีความเจริญทางด้านเทคโนโลยีมาผสมผสานที่คอยเอื้ออำนวยในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
หมู่บ้านลำไทร ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งย่านชานเมืองหลวงของกรุงเทพมหานคร น้อยคนที่จะรู้จักหมู่บ้าน เว้นแต่เพียงพื้นที่เท่านั้นในเขตหนองจอก ที่แวะเวียนเข้าไปรับจ้างเกี่ยวข้าว หาปลา รับจ้างอื่น ๆ โดยทั่วไปในช่วงแรก ๆ เพราะเป็นพื้นที่ชนบท สาธารณูปโภคทุกชนิด เข้าไม่ถึงหมู่บ้านนี้ชาวบ้านอยู่กันตามลำพังอย่างโดดเดี่ยว แต่เอาชีวิตอยู่รอดมาไม่น้อยกว่า 140 ปี ความวิริยะอุตสาหะ ความขยันขันแข็ง การรู้จักอดออม การต่อสู้ การดิ้นรน ฯลฯ จึงทำให้หมู่บ้านลำไทรแห่งนี้กลับกลายเป็นที่โจทย์ขานและกล่าวถึงในวงการต่างๆ ส่วนราชการจะหยิบยื่นนำสู่การยกย่องเชิดชูเกียรติว่าเป็นชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนดีเด่น เป็นกรณีศึกษาชุมชนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะวิถีชีวิตที่มีความสง่างาม สมยานามว่า ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา นั่นหมายถึง แผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทั้งในน้ำบนบก และสติปัญญาที่ถูกปลูกฝังถ่ายทอดผ่านชนรุ่นหลังคนแล้วคนเล่า ที่ใช้ในการดำรงชีวิต ที่มีวันหมดสิ้น ต่อบ่าวผู้ภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าที่สมควรกราบเคารพบูชา นั่นคือ อัลลอฮ (พระเจ้าของศาสนาอิสลาม) สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสันติสุข ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกาภิวัฒน์ที่โหมกระหน่ำพัดถ่ายเข้ามาอย่างในเขตเมืองหลวงของกรุงเทพมหานคร
คำว่า ลำไทร เป็นชื่อเรียกของชาวบ้านที่มีลักษณะตามบริบททางสังคมดังกล่าวคือ ลำ คือลำน้ำที่ไหลคดเคี้ยวไปตามร่องน้ำธรรมชาติ
ไทร ชื่อต้นไม้น้ำชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นตามริมขอบ คันคูน้ำ เป็นตระกูลไม้ใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขา มีอายุยาวนาน ลำไทรจึงเป็นลำน้ำที่มีต้นไทรขึ้นปกคลุมหนาทึบบนพื้นที่ตามร่องน้ำธรรมชาติอย่างเช่น ลำไทรแห่งนี้ เมื่อมีการจัดตั้งหมู่บ้านตามระเบียบการปกครองของกระทรวงมหาดไทย จึงได้นำชื่อของคุณลักษณะของท้องถิ่นมาตั้งชื่อเป็นหมู่บ้านที่เรียกกันมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ปัจจุบันนี้จะเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็นชุมชนแล้วก็ตาม ก็ยังเรียก ลำไทร ไว้ต่อท้ายชื่อของชุมชนแห่งนี้ไว้ด้วยว่า ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา ลำไทร เพื่อสื่อความหมายว่าที่นี่คือ หมู่บ้านลำไทรดั่งเดิมนั่นเอง
ส่วนคำว่า คอยรุตตั๊กวา นั้น เป็นภาษาอาหรับ คำว่า คอยรุต มีความหมายว่า ความดี และคำว่า ตั๊กวา มีความหมายว่า มีวินัยต่อพระเจ้า ดังนั้นคำว่า คอยรุตตั๊กวา เมื่อนำมาใช้เป็นชื่อของมัสยิดเป็นชื่อและจดทะเบียนเลขที่ 30 ว่า มัสยิดคอยรุตตั๊กวา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 จึงมีความหมายโดยรวมว่า ผู้ที่มีความภัคดีต่อพระผู้เป็นเจ้า (อัลลอฮ) นั่นเอง
ชื่อของ หมู่บ้านลำไทร หรือ ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา จึงเป็นพื้นที่เดียวกัน จะใช้ชื่อว่าหมู่บ้านลำไทรชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา ตามความเหมาะสมกับเหตุการณ์
ปี 2537 “ชุมชนคอยรุตตั๊กวา” ได้จดทะเบียนขึ้นเป็นชุมชนตามระเบียบของ กทม. โดยใช้ชื่อว่า “ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา”
กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดตั้ง โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ กรุงเทพมหานคร แห่งแรกที่ ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียนฯ เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา หมู่ ๕ แขวงโคกแฝด เขตหนองจอกนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จาก นายบุญเหลือ สมานตระกูล และญาติ ให้ใช้ที่ดินจำนวน ๑๔ ไร่ เศษ ให้กรุงเทพมหานครใช้เป็นโรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ มีระยะเวลา ๑๐ ปี ซึ่งขณะนี้สำนักงานเขตหนองจอกได้เข้าปรับพื้นที่เป็น ๔ ส่วนคือ
บนพื้นที่ ๑๔ ไร่ ๘๑ ตารางวา ตามอัตราส่วน
ความรู้เรื่องบ้านกับต้นไม้
ฐานนี้มีการทำการศึกษาจริงๆแล้วมีเกือบ 120 กว่าชนิด ปลูกมาตั้งแต่สมัยพ่อแม่ ของภรรยาอาจารย์ ก็ไม่ได้มีตั้งหลักเกณฑ์อะไรจริงจังว่าจะปลูกกันกี่สายพันธุ์หรือกี่ชนิด ซึ่งบางต้นก็มีเพียงแค่ต้นเดียวก็มี สิ่งหนึ่งที่น่าเสียดายมากคือ การปลูกไม้ป่า เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ซึ่งจริงๆทางการก็อนุญาตให้เราปลูกไว้ได้ คิดดูถ้าปลูกมาถึงสมัยนี้มันจะมีคุณค่าขนาดไหนเพราะ มันมีราคา มันได้ราคาดี เป็นที่ต้องการ เพราะป่าไม้ประเภทนี้ในป่าจริงๆแทบจะไม่เหลือแล้ว มันไม่ใช่แค่ช่วงอายุคนรุ่นนี้เท่านั้น แต่มันสามารถสืบต่อถึงช่วงลูกช่วงหลานได้ มันเป็นผลประโยชน์ในระยะยาว เพราะมันเป็นไม้เนื้อแข็งที่สามารถนำไปแปลงรูปได้หลายอย่าง
ความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่
ฐานนี้เป็นฐานเกี่ยวกับไร่นาสวนผสม และเกษตรทฤษฎีใหม่ อาจารย์ได้ให้ความหมายนไว้ว่า เป็นโครงการหนึ่งที่เกี่ยวกับการเกษตร ซึ่งโครงการของในหลวงทั้งหมดมีกว่า 4,000 โครงการ โดยเกษตรทฤษฎีใหม่ จะมีการแบ่งที่ดิน 100% ออกเป็น 4 ส่วน คือ 30% เป็นไร่นา 30% ปลูกพืชผักสวนครัวต้นไม้ต่างๆ 30% บ่อน้ำ 10% เป็นที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งพื้นที่ของอาจารย์แบ่งเป็น น้ำ 4 ไร่ นา 4 ไร่ ปลูกพืชผัก 4 ไร่ ที่อยู่ 2 ไร่
ไร่นาสวนผสมและการเกษตรทฤษฎีใหม่ จะมีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันคือ เกษตรทฤษฎีจะมีการแบ่งพื้นที่เกษตรกรรมเป็นสัดส่วน ส่วนไร่นาสวนผสมจะมีการใช่พื้นที่ไม่เป็นสัดส่วน
สำหรับปัญหาในฐานนี้คือ พบเพลี้ยกัดกินพืวสวนครัว
อาจารย์ให้ความหมายของคำว่าพออยู่พอกินไว้ดังนี้ คือการรู้จักใช้ รู้จักจ่าย รู้จักเก็บ พออยู่พอกิน มีรายรับมากกว่ารายจ่าย ไม่ฟุ่มเฟือย
อาจารย์สมชาย สมานตระกูล กล่าวถึงความสำเร็จของชุมชนที่มีผู้มาเยี่ยมชมศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่องว่า ความสำเร็จของชุมชน เกิดจากทุน ๓ ประการ
“พื้นฐานอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ เรื่องของหลักการในศาสนาอิสลามที่ชาวบ้านใช้ในวิถีชีวิตของเขามาตลอด วิถีของอิสลามมันเป็นวิถีของการพึ่งตนเองเป็นอันดับต้นๆ เลย คำสอนของศาสนาอิสลามมีตอนหนึ่งกล่าวว่า มนุษย์ที่ดียิ่งก็คือมนุษย์ที่ช่วยเหลือตนเองได้ และช่วยเหลือผู้อื่น เพราะฉะนั้นพึ่งตนเองได้ไม่พอ ต้องช่วยเหลือผู้อื่นด้วย ตรงนี้ทำให้เกิดการช่วยเหลือทางสังคมขึ้นมา การช่วยเหลือนี่เองที่เป็นเป้าประสงค์ของศาสนาอิสลาม เพราะฉะนั้นความเอื้ออาทร ความพอประมาณ ก็เป็นหลักการของศาสนาอิสลามที่เราใช้ในการดำรงชีวิตมาตลอด”
“ในหลักการของศาสนาอิสลาม ความพอประมาณก็คือการใช้คุณภาพชีวิตที่เหมาะสมกับตัวเอง พอประมาณกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ เช่นพอประมาณกับพื้นที่ พอประมาณกับแรงกาย แรงงาน พอประมาณกับทรัพยากร พอประมาณกับค่าใช้จ่าย มันเป็นเรื่องที่เป็นชีวิตมาโดยตลอด”
บ้านพักโฮมสเตย์ของชุมชนคอยรุตตั๊กวา
ชุมชนคอยรุตตั๊กวาจะจัดบ้านของตนเองเป็นบ้านพักโฮมสเตย์ ไม่มีการสร้างที่พักเพื่อเป็นธุรกิจ จึงไม่มีเครื่องปรับอากาส ไม่มีเครื่องทำน้ำอุ่น ผู้ที่เข้าพักต้องอาศัยอยู่กับเจ้าของบ้าน เน้นให้ผู้มาเยือนได้เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น ดังนั้นผู้เข้าพักควรจะได้ศึกษาธรรมเนียมปฏิบัติของชุมชนมุสลิมก่อน เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงไม่ประพฤติผิด กระทำสิ่งน่าอาย หรือ กระทำผิดข้อห้ามทางศาสนา
โฮมสเตย์ที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา เขตหนองจอก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์สมชาย สมานตระกูล โทร.๐๘-๗๑๔๕-๐๕๕๗
ระเบียบปฏิบัติระหว่างกิจกรรมพักโฮมสเตย์ มีดังนี้
๑. ปฏิบัติตามหลักการของศาสนาที่ตนเองเคารพนับถืออย่างเคร่งครัด
๒. ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ของมึนเมาทุกชนิด บริเวณบ้านพักและชุมชน
๓. ห้ามนำหรือพกพาอาวุธทุกชนิด
๔. ห้ามเกี้ยวพา ชู้สาว หยอกล้อ ส่งเสียงดัง ก่อความไม่สงบในที่พักและบริเวณบ้านพัก
๕. ห้ามแต่งกายที่ขัดต่อวัฒนธรรมไทย-มุสลิม สุภาพสตรีไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่เปิดเผยเนื้อตัว เช่น เสื้อเกาะอก ขาสั้น
๖. ไม่สมควรออกนอกบริเวณบ้านพัก ก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของบ้าน
๗. ห้ามนำอาหารที่เป็นที่ต้องห้ามของศาสนาอิสลามติดตัวมาและเข้ามาในบ้านพัก เช่น เนื้อหมู เนื้อของสัตว์เลื้อยคลาน
๘. ห้ามนำสัตว์เลี้ยงติดตัวมาเลี้ยงดูระหว่างเข้าที่พัก
๙. ห้ามเล่นการพนัน เกมส์เสี่ยงทาย ดูหมอทำนายทายทัก
๑๐. ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าของบ้านหรือเจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร กรรมการชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา
๑๑. ห้ามลักขโมยหรือกลั่นแกล้งคนอื่น ๆ
๑๒. อื่น ๆ ตามที่เจ้าของบ้านและเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น ไม่ควร ร้องเพลง เต้นรำ เปิดเพลง หรือเล่นดนตรีอึกทึก
ป้ายคำ : ทฤษฎีใหม่, ศูนย์เรียนรู้