ชุมเห็ดเทศ ชาลดความอ้วน

9 ตุลาคม 2556 สมุนไพร 0

การกินเป็นยาถ่าย โดยนำใบของชุมเห็ดเทศมาต้มน้ำดื่มเพื่อระบาย ปัจจุบันใบชุมเห็ดเทศในรูปแบบของยาชงถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติของ ประเทศไทย สรรพคุณที่เด่นอยู่อีกอย่างของชุมเห็ดเทศ คือ การรักษากลาก โดยใช้ใบสดๆ ของชุมเห็ดเทศมาขยี้ให้แหลกละเอียด แล้วถูบริเวณผิวหนังที่เป็นกลาก ซึ่งข้อมูลงานวิจัยในปัจจุบันที่ยืนยันว่า ใบชุมเห็ดเทศเป็นยาแก้กลากได้ สามารถใช้สดๆ หรือดองใส่เหล้า ทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน หรือโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น น้ำกัดเท้า (ที่เราเรียกว่าฮ่องกงฟุต) โรคสังคัง ฯลฯ บางพื้นที่มีการใช้ใบแห้งต้มน้ำดื่มแก้หอบหืด แก้ไข้ นอกจากนี้ ยังนิยมนำดอกชุมเห็ดเทศมารับประทาน โดยนำมาย่างไฟก่อน หรือมาตากแห้งบดเป็นผงกินแก้หอบหืด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia alata Linn.
วงศ์ Leguminosae
ชื่ออื่น ชุมเห็ดใหญ่(ภาคกลาง), ขี้คาก, ลับมืนหลวง, หมากกะลิงเทศ(ภาคเหนือ), ชุมเห็ด(ภาคกลาง), เล็บมื่นหลวง(ภาคเหนือ), สัมเห็ด(เชียงราย), จุมเห็ด(มหาสารคาม),ตะสีพอ(กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่วไป

  • ไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-3 เมตร แตกกิ่งก้านแนวขนานกับพื้นดินกิ่งแผ่ออกด้านข้าง มีขนสั้นนุ่ม เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาล
  • ราก ชุมเห็ดเทศเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ จะมีระบบรากเป็นรากแก้ว มีรากแขนงและรากฝอยจำนวนมาก เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่รากแก้วจะเริ่มเจริญเติบโตช้า แต่ส่วนของรากแขนงและรากฝอยจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นไม้พุ่ม สูง 1 3 เมตร รากแก้วมีสีดำ ขนาด 8 10 เซนติเมตร ยาว 30 40 เซนติเมตร รากแขนง มีขนาด 0.5 0.8 เซนติเมตร ยาว 70 – 100 เซนติเมตร รากแก้วและรากแขนง มีลักษณะหนา เหนียว แผ่กระจายและขนานไปกับพื้นดิน ช่วยยึดดินไม่ให้เกิดการพังทลายของหน้าดิน ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของดิน รากฝอย สีดำ ยาว 0.5 6 เซนติเมตร แตกแขนงคล้ายเส้นใย
  • ลำต้น ชุมเห็ดเทศ ลำต้นตั้งตรงเมื่อเล็กจะมีสีเขียวสดเมื่อโตเต็มที่จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลอมเขียวและเป็นสีน้ำตาลเข้ม ลำต้นจะมีกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก เป็นไม้พุ่มลำต้น ต้นอ่อนอายุ 7 วัน มีขนาด 0.3 0.5 เซนติเมตร ต้นอ่อนผิวลำต้นจะเรียบ ส่วนต้นแก่ผิวลำต้นไม่เรียบ เป็นเส้นเห็นชัดเจน ลำต้นแข็ง ลำต้นแก่เมื่อวัดจากโคนต้นถึงความสูงของลำต้น 5 เซนติเมตร มีขนาด 1 2 เซนติเมตร มีลักษณะกลม โคนลำต้นมีสีน้ำตาลจนเกือบถึงกลางลำต้น ถัดจากนั้นลำต้นจะมีสีเขียวเข้ม แตกกิ่งออกทางด้านข้างในแนวขนานกับพื้น
  • ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับ ใบย่อย 8-20 คู่ ยาว 5-15 เซนติเมตร ใบย่อยรูปขอบขนาน ยาว 5-15 ซม. แกมรูปรี โคนใบมน ปลายใบมน กลม หรือเว้าเล็กน้อย ไม่มีต่อม ฐานใบมนไม่เท่ากันทั้งสองด้าน ขอบใบเรียบมีสีแดง แกนกลางใบหนา ยาวประมาณ 30-60 ซม. ก้านใบประกอบยาวประมาณ 2 ซม. หูใบรูปติ่งหู สามเหลี่ยม ยาว 6-8 มม. ติดทน
  • ดอกออกเป็นช่อใหญ่ตั้ง ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกแบบช่อกระจะ แคบๆ ออกตามซอกใบ ยาว 20-50 ซม. ดอกสีเหลืองทอง กลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองสด แผ่นกลีบรูปไข่เกือบกลม หรือรูปช้อน ยาวประมาณ 2 ซม. มีก้านกลีบสั้นๆ เกสรเพศผู้มีประมาณ 10 อัน อันยาว 2 อัน ก้านเกสรหนา ยาวประมาณ 4 มม. อับเรณูยาว 1.2-1.3 ซม. เกสรเพศผู้อันสั้น 4 อัน ก้านเกสรยาวประมาณ 2 มม. อับเรณูยาว 4-5 มม. เกสรเพศผู้ที่ลดรูป 4 อัน อับเรณูเปิดที่ปลาย รังไข่เกลี้ยง ออวุลจำนวนมาก ยอดเกสรขนาดเล็ก ใบประดับมีสีน้ำตาลแกมเหลือง หุ้มดอกที่ยังไม่บาน ใบประดับรูปรี ยาว 2-3 ซม. ร่วงง่าย ก้านดอกสั้น 2-4 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมในตาดอก รูปขอบขนาน ยาวไม่เท่ากัน ยาว 1-2 ซม.
  • ผลเป็นฝัก รูปแถบ ยาว แบน เกลี้ยง ขนาดกว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ฝักแก่มีสีดำแตกตามยาว มีสันกว้าง 4 สัน มีปีกกว้างประมาณ 5 มม. ฝักมีผนังกั้น เมล็ดมี 50-60 เมล็ดแบนรูปสามเหลี่ยมผิวขรุขระสีดำ
  • เมล็ดแบนเป็นรูปสามเหลี่ยม กว้าง 0.18 0.2 เซนติเมตร ยาว 0.40 0.42 เซนติเมตร

chumhedtesbai
chumhedteston

ส่วนที่ใช้เป็นยา คือ ใบสด หรือแห้ง

รสและสรรพคุณยาไทย รสเบื่อเอียน ใบตำทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ดอกและใบต้มทานแก้อาการท้องผูก

chumhedtesbi

ประโยชน์ทางยา ใบชุมเห็ดเทศมีสารแอนทราควิโนน (anthraquinone) ช่วยขับถ่าย ชุมเห็ดเทศใช้เป็นยารักษาอาการ ดังนี้

  • อาการท้องผูก ใช้ดอกชุมเห็ดเทศสด 2-3 ช่อ ต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือนำใบสดมาล้างให้สะอาด หั่นตากแห้ง ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ 12 ใบ หรือใบแห้งบดเป็นผง ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ครั้งละ 3 เม็ด รับประทานก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการท้องผูก
  • กลาก ใบชุมเห็ดเทศสด ขยี้หรือตำในครกให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย หรือใช้ใบชุมเห็ดเทศกับหัวกระเทียมเท่าๆกัน ผสมปูนแดง(ที่กินกับหมาก)นิดหน่อย ตำผสมกัน ทาบริเวณที่เป็นกลาก โดยเอาไม้ไผ่ขูดผิวให้แดงก่อน ทาบ่อยๆ จนหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน
  • ฝีและแผลพุพอง ใช้ใบชุมเห็ดเทศ และก้านสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยา แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 ชะล้างบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ถ้าเป็นมากให้ใช้ประมาณ 10 กำมือ ต้มอาบ

สรรพคุณ

  • ใบ ใช้บดผสมกระเทียม หรือน้ำปูนใสใช้สำหรับทากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง หรือนำมาผสมสุราหรือปิ้งไฟทำเป็นชาดื่ม เป็นยาระบายแก้อาการท้องผูก และสมานธาตุ
  • ดอก เป็นยาระบายใช้แก้อากราท้องผูก
  • ฝัก แก้พยาธิ ระบาย ขับพยาธิตัวตืดพยาธิใส้เดือน
  • ต้น ใช้ขับพยาธิในท้อง
  • ต้น ราก ใบ แก้กษัยเส้น ทำให้หัวใจเป็นปกติแก้ท้องผูกและขับปัสสาวะ
  • ชุมเห็ดเทศใช้ในการเป็นยาระบาย บรรเทาอาการท้องผูก เนื่องจากสารจำพวกแอนทราควิโนนที่มีอยู่นั้นมีฤทธิ์ในการกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้เกิดการบีบตัวทำให้ขับถ่าย และสารแทนนินที่ช่วยสมานธาตุในตัวทำให้รู้ปิดรู้เปิดเองแม้จะให้ใช้ในปริมาณที่สูงก็ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

วิธีใช้

  • ใช้ใบย่อยที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป 8-12 ใบล้างน้ำให้สะอาดตากแห้ง และนำมาป่นให้เป้นผงชงน้ำเดือด 1-2 แก้ว รินเอาแต่น้ำมาดื่ม หรืออาจจะปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 3 เดก่อนนอน
  • ใช้ใบสด 8-12 .ใบปิ้งไฟให้เหลืองหั่นเป็นฝอยต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้วเติมเกลือเล็กน้อยรินดื่ม เฉพาะน้ำ
  • นำช่อดอกสด 2-3 ช่อมาต้มจิ้มน้ำพริก รับประทานเป็นอาหาร
  • หรือใช้ชาขุมเห็ดเทศที่บรรจุเสร็จ ชงดื่มครั้งละ 1-2 ซอง ในน้ำ 120 มล./ซองนาน 10 นาที รับประทานวันละ 1 ครั้งก่อนนอน

chumhedtest

ชุมเห็ดเทศกับการนำมาเป็นยารักษากลากเกลื้อน และผิวหนังวิธีใช้

  1. ใช้ใบสดของชุมเห็ดเทศ 3-4 ใบ ขยี้หรือตำให้ระเอียด ทาบริเวณที่เป็นกลากวันละ 2-3 ครั้ง ทุกวันกระทั้งหาย แล้วทาต่อไปอีก 1 สัปดาห์ แต่ถ้าต้องการให้ผลมากขึ้นควรใช้ใบชุมเห็ดเทศสดตำผสมกับกระเทียม 3-4 กลีบ และปูนแดงเล็กน้อย ใช้ทาบริเวณทีเป็น
  2. ส่วนฝีและแผลพุพอง ทำได้โดยการใช้ใบสดของชุมเห็ดเทศ 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วม จากนั้นเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน
  3. นำมาใช้ล้างแผลที่เป็นหนอง วันละ 2 ครั้งในช่วงเช้าและเย็น แต่ถ้ามีอาการมากก็ให้นำใบ 10 กำมือ มาต้มน้ำอาบ

ตำรายาไทย: ใช้ภายในแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ไปกระตุ้นทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวดีขึ้น สมานธาตุ รักษากระเพาะอาหารอักเสบ แก้กระษัยเส้น ทำหัวใจให้ปกติ ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ ใช้ภายนอก รักษาฝี และแผลพุพอง รักษากลาก เกลื้อน โรคผิวหนัง อมบ้วนปาก รักษาผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคัน เส้นประสาทอักเสบ
ตำรายาพื้นบ้าน: ใช้ใบตำพอก เพื่อเร่งให้หัวฝีออกเร็วขึ้น หรือจะใช้ใบผสมกับน้ำปูนใสหรือเกลือหรือน้ำมันตำพอก รักษากลาก แมลงสัตว์กัดต่อย โรคผิวหนัง นอกจากนี้ยังใช้ใบตำพอกหรือคั้นเอาน้ำผสมน้ำปูนใสทาหรือผสมวาสลิน ใช้ทำเป็นยาขี้ผึ้งทา

chumhedtesking

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
อาการท้องผูก
ใช้ใบจำนวน 12-15 ใบย่อย ตากแห้ง คั่ว (ใบชุมเห็ดเทศถ้าไม่คั่วเสียก่อน จะเกิดอาการข้างเคียง คืออาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เมื่อคั่วความร้อนจะช่วยให้สารที่ออกฤทธิ์ทำให้คลื่นไส้อาเจียนสลายไป) แล้วนำไปต้มกับน้ำพอควร ดื่มครั้งเดียวก่อนอาหารตอนเช้ามืด หรือก่อนนอน หรือใช้ผงใบ 3-6 กรัม ชงน้ำเดือด 120 มิลลิลิตร เป็นเวลา 10 นาที ดื่มก่อนนอน อาจทำเป็นยาลูกกลอนก็
ได้ หรือใช้ช่อดอกสด 1-3 ช่อดอก ลวก จิ้มน้ำพริก
รักษาฝีแผลพุพอง
ใช้ใบชุมเห็ดเทศ 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วม เคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 นำมาชะล้างฝีที่แตกแล้ว หรือแผลพุพอง วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น ถ้าบริเวณที่เป็นกว้างมากใช้สมุนไพร 10-12
กำมือ ต้มกับน้ำใช้อาบเช้าเย็น จนกว่าจะหาย
กลากเกลื้อน
ใช้ใบสด 4-5 ใบ ตำรวมกับกระเทียม 4-5 กลีบ แล้วเติมปูนแดงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็นซึ่งได้ใช้ไม้ไผ่บาง ๆ ฆ่าเชื้อแล้วขูดผิวบริเวณที่นั้นให้มีสีแดง(กรณีกลาก) ทาวันละ 3-4 จนกว่าจะหาย และเมื่อหายแล้วให้ทาไปอีก 1 สัปดาห์ หรือจะใช้ใบสดตำแช่เหล้า เอาส่วนเหล้าทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย พบว่าได้ผลดี แต่ไม่ค่อยได้ผลในกลากที่ผมและเล็บ
ขับพยาธิ
ใบสดประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 20 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม เหมาะใช้ถ่ายพยาธิตัวตืด

สารสำคัญที่พบในชุมเห็ดเทศ
ใบประกอบด้วย สารแอนทราควิโนน กลัยโคไซด์ (antraquinone glycosidesX ของ rhein, aloe emodin และ physcione และมีอะกรัยโคนอิสระ Zfree aglyconeX ได้แก่ rhein,emodin, aloe emodin, chrysophanol และ isochrysophanol นอกจากนี้ยังพบสาร kaempferol,b-sitosterol และ sennosides A, B, C และ D เมล็ดประกอบด้วยสาร lectin ส่วนผลหรือฝักประกอบด้วย aloe emodin, emodin,หรือ rhein

chumhedtes

ข้อควรระวังในการใช้

  1. เนื่องจากชุมเห็ดเทศเป็นยาระบายที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นลำไส้ให้เกิดการบีบตัว จึงห้ามใช้ในผู้ป่วยที่ลำไส้อุดตัน หรือมีอาการอักเสบของลำไส้อย่างเฉียบพลัน
  2. ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี
  3. ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจทำให้ลำไส้ชินต่อยาระบาย ไม่สามารถบีบตัวได้เองถ้าไม่ได้ใช้ยา รวมทั้งอาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะโปรแตสเซียม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความผิดปกติของลำไส้ ไต อักเสบ หรือใจสั่น
  4. การใช้ชุมเห็ดเทศในขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้ปัสสาวะมีอัลบูมิน หรือมีเลือดออกมา ด้วย
  5. ไม่ควรใช้ในสตรีมีครรภ์หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตร
  6. การใช้ชุมเห็ดเทศอาจก่อให้เกิดอาการปวดมวนท้อง มดลูกบีบตัว หรือท้องเสียในผู้ใช้บ้างรายได้

การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพดินฟ้าอากาศ ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิดโดยเฉพาะในดินร่วนซุย เป็นพืชชอบน้ำและดินที่ชุ่มชื้นมาก ไม่ชอบร่ม

chumhedteschor

การปลูก ปลูกขึ้นง่าย โดยอาจใช้วิธีขุดหลุมหยอดเมล็ดเลย หรือเพาะเป็นกล้าไม้แล้วย้ายไปก็ได้ ชุมเห็ดเทศเป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่ต้องการการเอาใจใส่ สามารถปล่อยให้เจริญได้เองตามธรรมชาติ สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนซุย ชอบน้ำและแสงแดด เจริญเติบโตเร็ว การปลูกโดยทั่วไปมักปลูก โดยใช้เมล็ด สามารถทำได้ 2 วิธี คือ หยอดลงหลุม หรือเพาะชำเมล็ดเป็นต้นกล้าก่อน จึงย้ายลงหลุม

  1. การปลูกแบบหยอดหลุม : เหมาะสำหรับการปลูกเป็นพืชแซมแปลงพืชไร่อื่นๆ ที่มีร่มเงาบังแสงในช่วงขณะเมล็ด งอกหรือกล้ายังเล็ก โดยเตรียมหลุม กว้าง ยาว และลึกประมาณ 30 ซม. ระยะห่างระหว่างหลุม 3-4 ม. นำเมล็ดหยอดลง หลุมๆละ 5-6 เมล็ด เกลี่ยดินกลบหน้าประมาณ 1 ซม. แล้วนำฟางคลุมบางๆบนหลุมเพื่อช่วยพรางแสง
  2. การปลูกแบบใช้กล้าปลูก : นำกล้าจากถุงเพาะชำ มาปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ หลุมละ 1 ต้น กลบดินโดนรอบ และกดดินที่โคนให้แน่น รดน้ำทันที ปักไม้ ค้ำยันและผูกมัดต้นกล้าเพื่อป้องกันต้นเอนล้ม คลุมโคนต้นด้วยฟาง เพื่อควบ คุมความชื้น การปลูกอาจจะปลูกโดยยกเป็นแปลงก็ได้เพื่อความสวยงามและสะดวกต่อการดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว

การดูแลรักษา
เมื่อต้นชุมเห็ดเทศอายุได้ 3 เดือนขึ้นไป ควรพรวนดินเข้าโคน และทำให้เป็นร่องโดยรอบรัศมีทรงพุ่ม เพื่อใช้สำหรับเก็บขังน้ำ และแนวใส่ปุ๋ย
การให้น้ำ
หลังจากปลูกระยะแรก ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำทุกวัน จนกว่าต้นจะตั้งตัว ช่วงอายุ 2-3 เดือนหลังปลูก ลดการให้น้ำเป็น 2-3 วัน/ครั้ง และลดการให้น้ำลงเรื่อยๆ เป็น 5-7 วัน/ครั้ง

การใส่ปุ๋ย
ควรให้ปุ๋ย 2 ระยะ คือ ระยะแรก อายุ 1-2 เดือน ใส่ปุ๋ยเดือนละ 1 ครั้ง ระยะที่สอง อายุ 3 เดือนขึ้นไป ทุกๆ 3 เดือน และลดการให้ปุ๋ยในช่วงเดือน ธ.ค.-ก.พ. เพราะเข้าฤดูหนาว และจะใส่ครั้งต่อไป เมื่อทำการตัดแต่งกิ่ง เสร็จเรียบ ร้อยแล้ว

chumhedtesko

การดูแลรักษา
โรคและแมลงที่พบ ได้แก่ โรคใบจุด โรคราแป้ง หนอนผีเสื้อกินใบ เพลี้ยอ่อน ไรแดง

การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวใบเพสลาดจากต้นที่มีอายุประมาณ 6-7 เดือนขึ้นไป เนื่องจากจะมีสารสำคัญอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และเก็บ เกี่ยวครั้งต่อไปห่างกัน 1-2 เดือน เลือกเก็บเฉพาะใบล่างๆ โดยวิธีการเก็บใบควรใช้กรรไกรตัดใบประกอบทั้งใบ ซึ่งเป็น วิธีเก็บเกี่ยวที่รวดเร็ว และไม่ทำให้ใบช้ำ

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น