ซั้ง ปะการังเทียมภูมิปัญญาชาวบ้าน

25 กันยายน 2557 ภูมิปัญญา 0

ปัจจุบันชาวประมงพื้นบ้านประสบปัญหาทรัพยากรทางทะเลเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีสาเหตุมาจากการจับสัตว์นํ้าจนเกินกําลังการผลิตของธรรมชาติ การทําการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงที่ทําลายล้างสูงโดยผิดกฎหมาย เช่น อวนลาก อวนรุน ทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพ โดยเฉพาะชาวประมงพื้นบ้าน ที่ทํามาหากินแถบชายฝั่งทะเลด้วยเครื่องมือทําการประมงที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน และเลือกจับสัตว์นํ้าเฉพาะอย่าง เช่น เบ็ด แห ลอบ ไซ อวนจมปู อวนลอยปลา และอวนลอยกุ้ง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ซั้ง หรือปะการังเทียมพื้นบ้าน เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาแต่อดีต เป็นเครื่องมือดึงดูดสัตว์นํ้าให้มาอยู่รวมกันเป็นจํานวนมาก เพื่อความสะดวกในการทําการประมง โดยการนําซั้ง หรือทุ่นปะการังเทียมไปทิ้งไว้ในทะเลอ่าวไทย เพื่อใช้เป็นแหล่งอาศัยและแหล่งอนุบาลสัตว์นํ้าขนาดเล็ก โดยชาวบ้านสร้างขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นที่สามารถย่อยสลายในน้ำได้ กล่าวคือ นำไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อน แล้วใช้เถาวัลย์ผูกติดกับใบหรือทางมะพร้าวทำเป็นซั้ง นอกจากนี้ประโยชน์ทางอ้อมของซั้งคือ ป้องกันเรือประมงขนาดใหญ่ เช่น เรืออวนลาก มาทำการประมงในเขตน่านน้ำหวงห้ามได้อีกทางหนึ่งด้วย

shungpoog

ซั้ง หมายถึง อุปกรณ์ที่ทําให้ปลามา อยู่รวมกัน ซึ่งมีที่มาจากสิ่งของลอยนํ้า ต่างๆ โดยมีปลาเล็กปลาน้อยอาศัยร่มเงาอยู่ และจะมีปลาขนาดใหญ่กว่าติดตามหาอาหารไปด้วย การวางซั้งก็จะเลียนแบบสิ่งของลอยนํ้า โดยใช้วัสดุต่างๆ มาผูกมัดรวมกัน เช่น เศษอวน, เชือกเก่า, ไม้ไผ่ และทางมะพร้าว เหล่านี้เป็นต้น เพียงแต่ซั้งจะถ่วงด้วยก้อนหิน หรือผูกติด กับโขดหินใต้นํ้า ไม่ให้ลอยออกไปจากจุดที่ต้องการ

shungsong shungkan

การจัดทำซั้งจะเลือกใช้วัสดุที่มีราคาถูกสามารถจัดหาซื้อได้ในท้องถิ่น เช่น ลำไม้ไผ่ ใบมะพร้าว เชือก กระสอบ กิ่งไม้ เป็นต้น มาประกอบกันเป็นซั้งแล้วนำไปวางบริเวณชายฝั่งทะเลที่เป็นแหล่งทำการประมงหรือบริเวณแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเล โดยรูปแบบของการทำซั้งจะแตกต่างกันตามภูมิปัญญาของแต่ละชุมชน ส่วนประกอบของซั้งประกอบด้วย ลำไม้ไผ่ 1 ลำ ยาว 7-10 เมตร ซึ่งสั้นกว่าลำไม้ไผ่ที่ใช้ในที่อื่น ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-4 นิ้ว ใช้ใบมะพร้าว เพียง 4 ใบ ขนาดยาว 1.5-2.5 เมตร กิ่งเสม็ดจำนวน 3-4 กิ่ง แทนใบมะพร้าวบริเวณตอนล่างของเชือกซึ่งอยู่ใกล้กับกระสอบทราย ใช้เชือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร และกระสอบ 1 ถุงต่อซั้ง 1 ชุด แหล่งจัดวางซั้งบ้านทอนอยู่ในเขต 3 กิโลเมตรจากฝั่ง

ซั้งอาจจะมีส่วนของการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำได้น้อยกว่าปะการังเทียม แต่ซั้งจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับกิจกรรมการตกปลา และอุตสาหกรรมอาหารทะเล โดยเฉพาะกับการทำปลากระป๋อง ซึ่งจะลงทุนทำซั้งเป็นจำนวนมากกลางทะเล เพื่อให้ปลาเล็กเข้าอยู่อาศัย เช่น ปลากุแร, ปลาทูแขก, ปลาสีกุน เป็นต้น แล้วจับปลาเหล่านั้นส่งโรงงานได้คราวละมาก ๆ ปลาเล็กดังกล่าวเป็นอาหารของปลาที่ใหญ่กว่า เช่น ปลาอินทรี, สาก, อีโต้มอญ, กะโทงแทง, กะโทงร่ม เป็นต้น จึงทำให้ซั้งเป็นประโยชน์ต่อวงการตกปลามากกว่าปะการังเทียม

shungkhon shungtae shungtun

ซึ่งในเชิงอนุรักษ์ ซั้งเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่จะช่วยฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อให้สัตว์นํ้าได้เข้ามาอยู่อาศัยเพาะพันธุ์ วางไข่ ก่อนที่จะเจริญเติบโต ต่อไปซั้งในลักษณะภูมิปัญญาชาวบ้านนี้ ไม่สร้างมลภาวะให้แก่ทะเล เพราะสามารถย่อยสลายได้เองที่ผ่านมาซั้งได้รับการยอมรับจากชาวบ้านแถบชายทะเลเป็นอย่างดี เพราะทําให้ปริมาณสัตว์นํ้าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดชาวบ้านไม่ต้องออกไปทําอาชีพประมงในพื้นที่ไกลๆนอกจากนี้ประโยชน์ทางอ้อมของซั้งคือ ป้องกันเรือประมงขนาดใหญ่ เช่น เรืออวนลาก มาทําการประมงในเขตน่านนํ้าหวงห้ามได้อีกทางหนึ่งด้วย

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ภูมิปัญญา

แสดงความคิดเห็น