ดินดี คือดินที่มีชีวิต

4 มกราคม 2557 ดิน 0

การทำการเกษตรโดยอาศับหลักการใช้ธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี “ดิน” ที่อุดมสมบูรณ์จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่เราจะลงมือทำการเกษตรในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง นอกจากสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ แหล่งน้ำ และต้องศึกษาเรื่องของดินเป็นสำคัญ ต้องรู้จักดินในพื้นที่ของเรา ตามหลักของเกษตรธรรมชาติถือว่า “ดินดี” คือ “ดินที่มีชีวิต” หมายถึงดินที่มีความสมดุลของสิ่งมีชีวิตในดินรวมไปถึง “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในดินด้วย ทั้งความหลากหลายของชนิดจุลินทรีย์และปริมาณของจุลินทรีย์

ความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร
จุลินทรีย์มีหลายชนิด เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา แอคติโมมัยซิท สาหร่าย โปรโตซัว ไมโครพลาสมา โรติเฟอร์ และไวรัส เป็นต้น บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์มีมากมายดังนี้

  1. จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญทั้งในแง่การเป็นประโยชน์และการเกิดโรค จุลินทรีย์หลายชนิดอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคพืชและสัตว์ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร แต่ในขณะเดียวกันความหลากหลายในธรรมชาติก็จะมีจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ป้องกัน กำจัด และยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชด้วยเช่นกัน
  2. จุลินทรีย์มีความสำคัญในการหมุนเวียนทรัพยากรธรรมชาติให้ใช้ประโชน์ได้ใหม่ในวัฏจักรของธาตุอาหารโดยจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายวัสดุสารอินทรีย์ต่างๆ ให้เป็นธาตุอาหาร เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ของสารอินทรีย์ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือเศษอาหารเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมทางการเกษตร ให้กลับมาอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชโโยผ่านกระบวนการย่อยสลาย หรือสังเคราะห์สารชนิดอื่น เช่นกระบวนการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ในดินให้อยู่ในรูปฮิวมัส เปลี่ยนจากรูปสารอินทรีย์ไปเป็นอนินทรีย์ เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชได้แก่ กระบวนการตรึงไนโตรเจนโดยจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถสร้างอาหารได้เองโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เช่น แหนแดง(สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่อาศัยอยู่กับพืชตระกูลเฟิร์น) และจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถดึงไนโตรเจนจากอากาศและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินได้ เช่น เชื้อไรโซเบียม
  3. จุลินทรีย์บางชนิดมีบทบาทในการสังเคราะห์สารประกอบอนินทรีย์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน เช่น จุลินทรีย์บางชนิดสามารถสร้างกรดอนินทรีย์ที่สามารถละลายแร่ธาตุอาหารพืชในดินให้เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช และยังสามารถผลิตสารต่างๆ รวมถึงสารปฏิชีวนะ เอนไชม์ และกรดแลคติค

บทบาทของจุลินทรีย์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ และกระบวนการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของแหล่งธาตุอาหารของพืช ทั้งนี้ หากเราต้องการพลิกฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับผืนดินที่ผ่านการทำการเกษตรที่ใช้สารเคมี ควรเริ่มจากการรักษาดิน รักษาชีวิตของเจ้าจุลินทรีย์ตัวน้อยซะก่อนนะครับ และในบทความต่อไปผมจะแนะนำการเอาจุลินทรีย์มาปรับปรุงดิน และประโยชนอื่นๆ ของจุลินทรีย์

chulincheepah

บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร

เกษตรธรรมชาติ ถือว่า ดินดี คือ ดินที่มีชีวิต เป็นดินที่มีความสมดุลของสิ่งมีชีวิตในดินรวมถึงจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน สมดุลของจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินสภาพธรรมชาติก็คือ ความเหมาะสมในด้านของจำนวนจุลินทรีย์ และความหลากหลายของจุลินทรีย์ ดินที่เหมาะสมที่สุดในการทำการเกษตรคือ ดินที่มีจุลินทรีย์อยู่หลายกลุ่ม ตัวอย่างของดินดีชนิดหนึ่งคือ ดินป่า นั่นเอง

ในอดีตสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะมีอยู่ในดินป่า ในป่าซึ่งมีสารอินทรีย์ในรูปใบไม้หรือซากพืชซากสัตว์ที่เพิ่มลงไปกับประมาณธาตุอาหารพืชที่ถูกนำไปใช้และถูกเก็บเกี่ยวเป็นผลผลิตออกไปจากพื้นที่ที่สมดุลกัน ก็คือ มีธาตุอาหารพืชที่ถูกใช้ไปกับส่วนที่เพิ่มเติมลงมาในดินเท่ากัน จากการที่มีเศษซากอินทรียวัตถุหล่นลงดินหรือที่พืชตรึงไนโตรเจนจากอากาศลงสู่ดิน โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวช่วยในกระบวนการย่อยสลายและเปลี่ยนรูปธาตุอาหารให้เป็นประโยชน์ เป็นกระบวนการที่เรียกว่าการนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต ผลิดอกออกผลเป็นดอกไม้ ผัก ผลไม้ และอื่นๆ ส่วนสิ่งที่ถูกนำออกมาจากพื้นที่นั้นๆ คือธาตุอาหารพืชที่สูญเสียไปจากดิน ซึ่งในพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ เกษตรกรมักจะนำผลผลิตทางการเกษตรที่ได้ออกมาจากพื้นที่ โดยไม่ได้คำนึงถึงปริมาณธาตุอาหารพืชที่จะเพิ่มเข้าไปในพื้นที่ ทำให้พื้นที่ที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ในปัจจุบันเกิดความไม่สมดุลกัน จึงมีผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินเสื่อมโทรมลงเป็นลำดับ

chulincheepai

จุลินทรีย์มีบทบาทอย่างมากในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการแปรสภาพอินทรียวัตถุในดินให้กลายเป็นธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืช โดยจุลินทรีย์จะมีขั้นตอนของความหลากหลายในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ เพราะมีวงจรชีวิตที่สั้น และมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีปริมาณที่มาก ซึ่งมีหน้าที่และบทบาทต่อกระบวนการต่างๆ ในดินแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นจึงถือได้ว่าจุลินทรีย์ก็คือ ตัวการที่จะทำให้สารอินทรีย์จากซากพืชซากสัตว์ย้อนกลับไปเป็นธาตุอาหารพืชใหม่ได้อีกครั้ง นั่นคือทำให้เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารพืชในดิน ดังนั้นดินป่าจึงมักมีอินทรียวัตถุอยู่สูงมีการหมุนเวียนในระบบนิเวศอย่างสมดุล แต่ในปัจจุบันการทำการเกษตรมีการใช้ปุ๋ยเคมีกันมากเพราะความต้องการผลผลิตที่มากขึ้น เมื่อต้องการผลผลิตมากขึ้นก็จำเป็นต้องนำเอาปัจจัยการผลิตอื่นๆ ใส่เข้าไปเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการใช้อย่างไม่สมดุล เป็นการใช้อย่างทำลายมากกว่า จะเห็นได้จากกรณีการเปิดป่า หรือการนำพื้นที่มาใช้จะเริ่มต้นด้วยการเผา ซึ่งทำให้จุลินทรีย์ส่วนหนึ่งตายไป และอินทรีย์วัตถุส่วนหนึ่งหายไป ส่วนทีเคยอยู่ในระบบก็หายออกไปอยู่นอกระบบ เมื่อจุลินทรีย์หลายชนิดตายไปอีกหลายชนิดก็ลดจำนวนลง อัตราการเกิดกระบวนการหมุนเวียนย้อนกลับไปเป็นปัจจัยการผลิตก็ลดน้อยลง

dinsidern

ทันทีที่เปิดหน้าดินทำลายพืชที่ปกคลุมผิวดิน เกษตรกรก็จะเริ่มทำการเผาก่อน สิ่งทีหายไปคืออินทรียวัตถุในดิน ชนิดของจุลินทรีย์และปริมาณของจุลินทรีย์ เมื่อปลูกพืชต่อเนื่องไปได้ 2-3 ปี จะสังเกตเห็นได้ว่าผลผลิตที่ได้เริ่มลดลงและเพาะปลูกไม่ได้ผล ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพราะดินไม่ดี โรคแมลงศัตรูพืชมากขึ้นต้องใช้ปัจจัยการผลิตที่สูงมากขึ้น นั่นคือการขาดความสมดุลในพื้นที่ การทำการเกษตรในบางพื้นที่จะทิ้งพื้นที่บริเวณนั้นไว้ 3-5 ปี จนกระทั่งอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้นพื้นดินจึงฟื้นกลับมามีความสมดุลอีกครั้ง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการปล่อยพื้นที่ไว้โดยไม่เข้าไปยุ่ง จะทำให้พืชพันธุ์ต่างๆ เจริญเติบโต และตายลงสลายตัวกลายเป็นธาตุอาหารพืชย้อนกลับสู่ดิน และจากสารอินทรีย์ที่รากพืชปลดปล่อยออกมาในบริเวณใกล้ๆ ราก สิ่งเหล่านี้จะชักนำให้จุลินทรีย์เพิ่มจำนวนขึ้นและเกิดความหลากหลายของจุลินทรีย์อีกครั้ง นอกจากนี้ยังชักนำให้มีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในดินตามมา ทำให้ดินในพื้นที่นั้นกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ฉะนั้นถ้าให้เวลาธรราชาติสัก 3-5 ปี ทุกอย่างจะพื้นคืนสภาพได้เอง แต่ในปัจจุบันเกษตรกรไม่สามารถรอเวลานั้นได้ เนื่องจากพื้นที่มีจำกัดและความต้องการผลผลิตที่รวดเร็วและปริมาณมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ ดังนั้นระบบเกษตรแผนปัจจุบันจึงเลือกใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการแก้ปัญหานี้ ในขณะที่ระบบเกษตรธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์จะใช้วิธีการที่ดีกว่าคือ เติมปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือขยะอินทรีย์ต่างๆ ที่สามารถนำมากลับมาใช้ได้ใหม่ และเพิ่มจุลินทรีย์ธรรมชาติเข้าไปด้วย

dindee

จุลินทรีย์ที่มีบทบาทต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน
จุลินทรีย์มีหลายชนิดได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา แอคติโนมัยซีส และสาหร่าย แต่ละชนิดจะมีบทบาทและกิจกรรมต่อความอุดมสมบูรณ์ ได้แก่
1. แบคทีเรีย (Bacteria) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อรา โปรโตซัว และ สาหร่าย มีรูปร่างแบบง่ายๆ 3 รูปร่างคือ กลม (Cocci) ท่อน (Rod) เกลียว (Spiral) ไม่มีรงควัตถุภายในเซลล์ คือ เซลล์มักจะใส มีทั้งเคลื่อนที่ได้และไม่เคลื่อนที่ เราสามารถแบ่งชนิดของจุลินทรีย์ได้หลายประเภทดังนี้

  1. แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามช่วงอุณหภูมิ
    ก. พวก Psychophilic Bacteria คือแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ
    ข. พวก Mesophilic Bacteria คือแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิปานกลางมีอยู่มากในดินส่วนใหญ่
    ค. พวก Thermophilic Bacteria คือแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง
  2. แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามความต้องการออกซิเจน
    ก. แบคทีเรียพวกที่ต้องการออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน
    ข. แบคทีเรียพวกที่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Bacteria) เป็นแบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพที่ไม่ออกซิเจน
  3. แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามลักษณะทางนิเวศวิทยา
    ก. Autochthonous (Indigenous Group) เป็นแบคทีเรียที่มีอยู่ดั้งเดิมในธรรมชาติ ได้รับสารอาหารจากธรรมชาติ อยู่ได้โดยไม่ต้องมีการเพิ่มสารอาหารและแหล่งพลังงานจากภายนอก แบคทีเรียกลุ่มนี้จะมีปริมาณคงที่ทุกฤดูกาล
    ข. Zymogenous (Fermentation Producing Group) เป็นแบคทีเรียที่สามารถแปรรูปสารเคมีต่างๆ ได้โดยขบวนการหมัก (Fermentation) ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หลายอย่าง แต่กลุ่มนี้มีอยู่ตามธรรมชาติน้อยมาก จะเพิ่มจำนวนเมื่อมีการเพิ่มสารอาหารและแหล่งพลังงานจากภายนอก
  4. แบ่งประเภทของแบคทีเรียตามการสร้างอาหาร
    ก. Autotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้คาร์บอน (C) จากกาซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และสารประกอบอินทรีย์อื่นๆ เช่น HCO3
    ข. Heterotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้คาร์บอนจากอินทรีย์คาร์บอนหรือสารประกอบอินทรีย์ทั่วไป
    ค. Chemotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพขาดแสงสว่างและได้พลังงานจากปฏิกิริยาเคมี และขบวนการออกซิเดชั่นของสิ่งมีชีวิต (Biological Oxidation)
    ง. Chemoheterotrophic คือ แบคทีเรียพวกที่เจริญได้ดีในสภาพขาดแสงสว่างและได้พลังงานจากอินทรีย์สาร
    จ. Phototrophic คือ แบคทีเรียพวกที่ได้พลังงานจากการสังเคราะห์แสง แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์ที่พบเป็นจำนวนมากที่สุดในจุลินทรีย์ทั้งหมด โดยจำนวนแบคทีเรียคิดเป็น 50% ของน้ำหนักจุลินทรีย์ทั้งหมด และมีกิจกรรมคิดเป็น 95% ของจุลินทรีย์ทุกชนิดรวมกัน พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ จัดได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีบทบาทอย่างมากในธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต

2. เชื้อรา (Fungi)

  1. ยีสต์ เป็นเชื้อราซึ่งมีลักษณะแปลกตรงที่ มีการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพเซลล์เดียว (Unicellular) แทนที่จะเจริญเป็นเส้นใยเหมือนเชื้อราอื่นๆ ทั่วไป จริงอยู่แม้ยีสต์บางชนิดมีการสร้างเส้นใยบ้าง แต่ก็ไม่เด่นเช่นเชื้อรา ปกติยีสต์เพิ่มจำนวนและแบ่งเซลล์โดยการแตกหน่อ (Budding) เซลล์ยีสต์จะใหญ่กว่าแบคทีเรียและมีนิวเคลียสที่เห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ในเซลล์ยีสต์เรามักจะสังเกตเห็นแวคคูโอล (Vacuole) ขนาดใหญ่ พร้อมทั้งเม็ดสาร (Granule) ต่างๆ ในไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) อยู่เสมอ
  2. ราเส้นใย เป็นจุลินทรีย์ที่มีการพัฒนามาดำรงชีวิตอยู่ในสภาพหลายเซลล์ (Multicellular) โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะการเจริญเป็นเส้นใย (Hyphae) ซึ่งอาจมีผนังกั้น (Septate Hypha) หรือไม่มีผนังกั้น (Non Septate Hypha หรือ Coenocytic Hypha) เชื้อราเป็นจุลินทีรย์ที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างกันมากในด้านขนาดรูปร่างของโครงสร้างและระบบการสืบพันธุ์ โดยทั่วไปเชื้อรามีการสืบพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ ซึ่งมีทั้งสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual Spores) และสปอร์แบบอาศัยเพศ (Sexual Spores)

3. แอคติโนมัยซิท (Actinomycetes) เป็นจุลินทรีย์จำพวกเซลล์เดี่ยวที่มีลักษณะคล้ายคลึงทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา โดยมีขนาดเล็กคล้ายแบคทีเรีย แต่มีการเจริญเป็นเส้นใยและสร้างสปอร์คล้ายเชื้อรา มีเส้นใยที่ยาวเรียวและอาจจะแตกสาขาออกไปเส้นใยเรียกว่า Hyphae หรือ Filaments

4. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue Green Algae หรือ Cyanobacteria) แตกต่างจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นตรงที่มีคลิโรฟิลล์มักเห็นเซลล์เป็นสีเขียว เซลล์เป็น Procaryote ซึ่งเหมือนกับแบคทีเรีย และมีสาร Mucopeptide เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์เช่นเดียวกับแบคทีเรีย สาหร่ายพวกนี้ไม่มีคลอโร พลาสต์ ดังนั้นคลอโรฟิลล์จึงกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์

chulincheemai

บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร

จุลินทรีย์มีหลายชนิต ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา แอคติโนมัยซิท สาหร่าย โปรโตซัว ไมโครพลาสมาโรติเฟอร์ และไวร้ส เป็นต้น บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์มีอยู่มากมายดังนี้

  1. จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญทั้งในแง่การเป็นประโยชน์และการเกิดโรค จุลินทรีย์หลายชนิดอาจเป็นสาเหตุของโรคพืชและสัตว์ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร แต่ในสภาพธรรมชาติจุลินทรีย์ที่มีอยู่อย่างหลากหลายจะมีการควบคุมกันเองในวัฏจักรของสิ่งมีชีวิต มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่ทำหน้าที่ป้องกัน กำจัด และยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดอื่นรวมทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช
  2. จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญในการหมุนเวียนทรัพยากรให้ใช้ประโยชน์ได้ใหม่ในวัฏจักรของธาตุอาหาร โดยจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายวัสดุสารอินทรีย์ต่างๆ (Organic Decomposition) ให้เป็นธาตุอาหาร เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ของสารอินทรีย์ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมทางการเกษตร ให้กลับอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช โดยกระบวนการย่อยสลายหรือสังเคราะห์สารชนิดอื่นๆ ขึ้นมาใหม่ในธรรมชาติ เช่น การย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ในดินให้อยู่ในรูปฮิวมัส เปลี่ยนจากรูปสารอินทรีย์ไปเป็นสารอนินทรีย์ (Mineralization) เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชได้แก่ กระบวนการตรึงไนโตเจน (N2 Fixation) โดยจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถสร้างอาหารเองได้โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เช่น แหนแดง และจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถดึงไนโตรเจนจากอากาศและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินได้ เช่น เชื้อไรโซเบียม
  3. จุลินทรีย์หลายชนิดมีบทบาทในการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน เช่น จุลินทรีย์บางชนิดสามารถสร้างกรดอนินทรีย์ที่สามารถละลายแร่ธาตุอาหารพืชในดินให้เป็นประโยชน์ต่อพืช บางชนิดสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชหรือฮอร์โมน ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และยังสามารถผลิตสารต่างๆ รวมถึงสารปฏิชีวนะ เอนไซม์ และกรดแลคติค เช่นแบคทีเรียบางชนิดสามารถสร้างสารพวก Gramicidine และ Tyrocidine เชื้อราบางชนิดสามารถสร้างสารพวก Pennicilin และ Gliotoxin เชื้อแอคติโนมัยซิทบางชนิดสามารถสร้างสาร Actinomycin และ Aureomycin ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถใช้ในการยับยั้งเชื้อโรคต่างๆ และยังช่วยสนับสนุนปฏิกิริยาทางเคมีในดินให้เกิดขึ้นเป็นปกติได้ โดยถ้าปราศจากเอนไซม์ปฏิกิริยาทางเคมีที่ซับซ้อนในดินก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาอันสั้น (1)

ลักษณะ ของดิน
ดิน ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกนั้น จะต้องประกอบด้วยสมบัติ 3 ประการ คือ

  1. สมบัติทางเคมี คือ ดินต้องมีความสมดุล ของแร่ธาตุอาหารพืช ซึ่งประกอบด้วย ธาตุอาหารพืชหลักไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซี่ยม ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน ธาตุอาหารเสริมประกอบด้วย เหล็ก สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม แมงกานีส และ คลอรีน และ มีปฏิกิริยา ของดิน ที่เป็นกลาง คือดินต้องไม่เป็นกรดเป็นด่างหรือมีความเค็มจนเกินไป
  2. สมบัติทางกายภาพ คือ ดินต้องมีความสมดุล ของอากาศ และ น้ำ กล่าวคือ ดินต้องมีโครงสร้างที่ดี มีการร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้ดี มีความสามารถ ในการอุ้มน้ำได้ดี เม็ดดินเกาะกัน อย่างหลวมๆ เพื่อช่วยให้รากพืชสามารถแผ่ขยาย และ ชอนไชไปหาแร่ธาตุอาหารพืชได้ง่าย ในระยะที่กว้าง และ ไกล เป็นดิน ที่อ่อนนุ่มไม่แข็งกระด้าง
  3. สมบัติทางชีวภาพ คือ เป็นดิน ที่มีความสมดุล ของจุลินทรีย์ กล่าวคือ เป็นดิน ที่มีจุลินทรีย์ และ สิ่ง ที่มีชีวิตเล็กๆ ในดิน ที่เป็นประโยชน์ ในปริมาณมาก ซึ่งสามารถควบคุมจุลินทรีย์ และ สิ่ง ที่มีชีวิตเล็กๆ ในดิน ที่เป็นโทษ แก่พืชได้เป็น อย่างดี และ จุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ ในดิน สามารถสร้างกิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ แก่พืชได้ดี เช่น สามารถย่อยแร่ธาตุ ในดิน ที่ยังไม่เป็นประโยชน์ แก่พืช หรือให้ประโยชน์น้อยให้เป็นประโยชน์ แก่พืช และ เพิ่มปริมาณ ที่มากขึ้น ตรึงธาตุอาหารพืชจากอากาศให้เป็นประโยชน์ แก่พืช สร้างสารปฏิชีวนะปราบโรค และ ศัตรูพืช ในดินได้ เสริมสร้างพลังให้ แก่พืช และ ทำลายสารพิษ ในดินได้

dinlaed

ดิน ที่มีปัญหา
ดิน ที่ใช้ทำการเพาะปลูกทั่วไป ของประเทศไทยส่วนใหญ่ มักจะขาด ความอุดมสมบูรณ์ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โครงสร้าง ของดินไม่ดี แน่นทึบ ไม่อุ้มน้ำมีจุลินทรีย์ ในดินน้อย เนื่องจากสภาพ ที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ อันเนื่องมาจากได้ใช้ดิน เพื่อการเพาะปลูก อย่าง ต่อเนื่อง โดยขาดการปรับปรุง และบำรุงรักษา การทำการเกษตรกรรม ที่ไม่เหมาะสม ใช้ ที่ดินผิดประเภทตลอดจนแหล่งกำเนิด ของดินเอง เช่น ดินทราย ดินลูกรัง ดินเปรี้ยว ดินเค็มดินด่าง เป็นต้น ทำให้ขาดความสมดุล ในด้านสมบัติทางเคมี กายภาพ และชีวภาพ จำเป็นต้องทำการปรับปรุง และ หาทางแก้ไข เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ เพื่อการเพาะปลูก ต่อไป ต่อไปนี้ขอแนะนำให้ท่านทราบถึงดินที่มีปัญหาชนิดต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งต้องหาทางปรับปรุงให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งจากการสำรวจ ของกรมพัฒนา ที่ดินพบว่า ทรัพยากรดินของประเทศไทย มีปัญหาด้านกายภาพหรือด้านคุณภาพ ซึ่งจำแนกได้ดังต่อไปนี้

1.) ปัญหาความอุดมสมบูรณ์ ของดินต่ำ และ เสื่อมลง จากรายงานการสำรวจ และ จำแนกชนิดดิน ของกรมพัฒนาที่ดิน ที่ดำเนินการ ในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทยพบว่า ดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โดยธรรมชาติทั้งนี้เนื่องจาก ประเทศตั้งอยู่ ในเขตศูนย์สูตร อุณหภูมิสูง และ มีปริมาณฝนตกมาก การสลายตัว ของหินแร่ ที่เป็นวัตถุต้นกำเนิด ของดินเป็นไป อย่างรวดเร็วและ มีการชะล้างแร่ธาตุอาหารพืช ออกไปจากดิน ในอัตรสูง ในช่วง ฤดูฝนถูกพัดพาไป กับน้ำ ที่ไหลลงสู่ ที่ต่ำ ได้ แก่ แม่น้ำลำคลอง และ ลงสู่ทะเล ในที่สุดจากการสลายตัว ของหินแร่ ในดินดำเนินไป อย่างมาก และ รวดเร็วนี้เอง ทำให้ดิน ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ ประกอบไปด้วย แร่ดินเหนียว เคโอลิไนท์(Kaolinite) แร่เหล็ก และ อลูมินัมออกไซด์ (hydrous oxide clay) ซึ่งแร่ดินเหนียว พวกนี้มีบทบาท ในการดูดซับแร่ธาตุอาหาร และ การเปลี่ยนประจุบวกต่ำ (low activity clay) จึงทำให้ความอุดมสมบูรณ์ ของดินตามธรรมชาติต่ำด้วย

dinchan

2.) ดินที่มีปัญหาพิเศษ (problem soils) จากการสำรวจ และ ทำแผนที่ดินของ กรมพัฒนาที่ดินพบว่ามีดินบางชนิดที่มีสมบัติทางกายภาพ และ ทางเคมีเป็นอุปสรรคหรือข้อกำจัด ในการใช้ประโยชน์ ในการเกษตร โดยเฉพาะการเพาะปลูกพืช จำเป็นต้องมีการพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไข เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต ของดินเหล่านั้น ดินที่มีปัญหาพิเศษที่กล่าวนี้ พอแยกออกได้ตามสภาพ ของปัญหาหรือข้อจำกัด ดัง ต่อไปนี้

  1. ดินเปรี้ยวจัด หรือดินกรดกำมะถัน (acid sulphate soils)เป็นดินที่มีค่า ของความเป็นกรด (pH) ต่ำกว่า 4.0 ตั้ง แต่ชั้นถัดจากผิวดินลงไป (sud surface) และ ในชั้นที่มี สารสีเหลือง ฟางข้าวเกิดขึ้น (jarosite) ค่า ของ PH อาจลงต่ำถึง 3.5 หรือต่ำกว่า ถ้าในกรณี เช่น นี้ดินไม่สามารถปลูกพืชอะไรขึ้นแม้ แต่ข้าว จึงมักถูกทอดทิ้งให้เป็น ที่ว่างเปล่า มีหญ้าขึ้นปกคลุม การที่ไม่สามารถปลูกข้าวหรือพืชอย่างอื่นก็เนื่องจาก มีสารพวกเหล็ก และ อะลูมินัมละลาย ออกมาเป็นพิษ ต่อพืช และ ยังทำให้ธาตุ ที่จำเป็น ต่อการเจริญเติบโต ของพืชบาง อย่างไม่ละลายมาเป็นประโยชน์ ต่อพืชด้วย โดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัส จะถูกตรึงไว้ (fixation) และ อยู่ในรูป ที่ไม่เป็นประโยชน์ ต่อพืช ดังนั้น จึงถือว่าเป็นดิน ที่มีปัญหาพิเศษ ที่จะต้องปรับปรุง และ แก้ไขให้เกิดประโยชน์ ในการใช้เพาะปลูกได้ ดินเปรี้ยวจัด หรือดินกรดกำมะถันทีกล่าว พบมีเนื้อที่ประมาณ 9.0 ล้านไร่หรือร้อยละ 2.81 ของพื้นที่ประเทศ พบมาก ในที่ราบภาคกลางตอนใต้ภาคตะวันออก และ ภาคใต้ พบกระจัดกระจาย บริเวณชายฝั่งทะเล ในสภาพพื้นที่ ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน
  2. ดินเค็ม (saline and sodic soils) เป็นดิน ที่มีเกลือที่ละลายน้ำได้เป็นองค์ประกอบอยู่สูงจนเป็นอันตราย ต่อพืชที่ปลูก ดินเค็ม ที่พบ ในประเทศไทยพบมากที่สุด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ประมาณ 17 ล้านไร่ หรือร้อยละ 5.5 ของพื้นที่ทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังพบดินเค็มบริเวณชายฝั่งทะเล (coastal saline soils) มีเนื้อที่รวมกันแล้วประมาณ 3 ล้านไร่ รวม กับดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ถึง 20 ล้านไร่ ซึ่งดินเค็ม ที่กล่าวนี้มีศักยภาพ ในการให้ผลผลิตพืช ที่ปลูกต่ำ บางแห่งไม่สามารถปลูกพืชได้เลย โดยเฉพาะบริเวณดินเค็ม ที่กล่าว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีคราบเกลือ (salt crusts) ปรากฏ ขึ้น ที่ผิวดิน ในช่วงฤดูแล้งซึ่งแสดงว่าดินเค็มจัด ส่วนดินเค็มชายทะเลมีใช้ประโยชน์ในการทำนาเกลือ ปลูกผลไม้ โดยการยกร่องเป็นต้นว่า มะพร้าว และยังคงสภาพป่าชายเลนปกคลุมอยู่ นอกจากนี้ บางพื้นที่ใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น กุ้ง หอย ปู และ ปลา เป็นต้น
  3. ดินทรายจัด (sandy soils) ที่พบ ในประเทศไทย พอแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ดินทรายธรรมดา ที่มีเนื้อที่เป็นทรายจัดลงไปลึก และ ดินทราย ที่มีชั้นดานจับตัวกันแข็ง โดยเหล็ก และ ฮัวมัส เป็นตัวเชื่อม เกิดขึ้นภาย ในความลึก 2 เมตร แต่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นต่ำกว่า 1 เมตร จากผิวดินบน ดินทรายทั้ง 2 ประเภทนี้ มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ และ มีความสามารถ ในการอุ้มน้ำต่ำด้วย นอกจากนี้ ดินทราย ที่มีชั้นดินดานแข็ง เมื่อน้ำไหลซึมลงไปจะไปแช่ขังอยู่ เพราะชั้นดินดาน ที่กล่าวน้ำซึมผ่านได้ยาก ทำให้เกิดสภาพน้ำขัง รากพืชขาดอากาศ ทำให้ต้นพืช ที่ปลูกชะงักการเจริญเติบโตในสภาพปัจจุบัน ดินทราย จัดมีศักยภาพ ในการผลิตต่ำ และ จำกัด ในการเลือกชนิด ของพืช ที่จะนำมาปลูก โดนเฉพาะดินทรายจัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ ในช่วงฤดูแล้งจะแห้งจัด และ ในช่วงที่ทิ้งช่วง ในฤดูฝน ก็จะแห้งเร็ว เช่น เดียวกัน สำหรับดินทรายจัด ที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลนั้นมักมีความชื้นสูงกว่า และ สามารถปลูกไม้ผลบางชนิดให้ผลอยู่ ในเกณฑ์พอใช้ หรือค่อนข้างดี ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะใช้ปลูกมะพร้าว แต่ อย่างไรก็ตาม ดินทรายจัดก็ยังนับว่าเป็นดิน ที่มีปัญหาพิเศษต้องทำการปรับปรุงแก้ไข เป็นต้นว่าด้านความอุดมสมบูรณ์ ความสามารถ ในการอุ้มน้ำ ของดิน และ การเลือกชนิด ของพืช ที่จะนำมาปลูก
  4. ดินปนกรวด (skeletal soils) เป็นดิน ที่มีชั้นลูกรัง (laterite or iron stone) เศษหิน (rock fragment) กรวดกลม (cobble) และเศษหินอื่นๆ เกิดขึ้น ในความลึก 50 เซนติเมตร จากผิวดินบน และในชั้น ที่มีดินปนกรวดนั้น จะประกอบไปด้วยกรวด และ เศษหินต่างๆที่มีขนาด 2 มิลลิเมตร อยู่มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตรชั้นกรวดหินนี้จะเป็นอุปสรรค ต่อการชอนไช ของรากพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้ ดิน ที่มีชั้นกรวดหินอยู่มักเป็นดินที่ขาดความชุ่มชื้น ในดินได้ง่าย และ ปัญหาอีก อย่างหนึ่งก็คือมีข้อจำกัดในการเลือกชนิด ของพืชมาปลูกถ้านำมาใช้ปลูกพืชบางชนิดโดยเฉพาะไม้ยืนต้น ต้องจัดการเป็นพิเศษ ในการเตรียมหลุมปลูกดินปนกรวด ที่พบ ในประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 52 ล้านไร่ หรือร้อยละ16.3 ของพื้นที่ทั้งประเทศพบมาก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ ปัจจุบันยังใช้ประโยชน์ ในการเพาะปลูกน้อยปกคลุมด้วยป่าแดงโปร่งการที่ใช้ประโยชน์น้อยก็เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่มีชั้นลูกรัง และ เศษหินอยู่ตื้นบางแห่งพบ ที่ผิวดินบน เป็นดิน ที่มีศักยภาพ ในการเกตรต่ำ ควรพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ซึ่งนับเป็นการใช้ประโยชน์ ที่เหมาะสม ที่สุด สำหรับดินประเภทนี้
  5. ดินบริเวณพื้นที่พรุ หรือ ดินอินทรีย์ (organic soils)เป็นดิน ที่เกิด ในที่ลุ่มต่ำ (lagoon) มีน้ำเค็ม และ น้ำกร่อยจากทะเลเข้าท่วมถึง มีชั้นเศษพืชหรือชั้นอินทรียสาร ที่สลายตัวดีแล้วและ กำลังสลายตัวสะสมกันเป็นชั้นหนตั้ง แต่ 50 เซนติเมตร ถึง 3 เมตรหรือหนากว่า เป็นดิน ที่มีศักยภาพเป็นกรดจัด (potential acidity)มีสภาพไม่อยู่ตัวขึ้นอยู่ กับระดับน้ำใต้ชั้นอินทรีย์สาร และ เป็นดินที่ขาดธาตุอาหาร ที่จำเป็น ต่อการเจริญเติบโต ของพืชค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากข้อจำกัด ที่กล่าวนี้เองดินอินทรีย์ จึงนับว่าเป็นดิน ที่มีปัญหาพิเศษการพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขค่อนข้างยาก และ ลงทุนสูง เมื่อเปรียบ กับดิน ที่มีปัญหา อย่างอื่นดินอินทรีย์ ที่พบมาก ในภาคใต้มีพื้นที่รวมกันประมาณ 5 แสนไร่ แต่ที่พบมากและ เป็นพื้นที่แปลงใหญ่ ได้ แก่ จังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่ประมาณ 4 แสนไร่การใช้ประโยชน์มีน้อย จะใช้ ในการปลูกข้าวบริเวณริมๆ ขอบพรุเท่านั้นส่วนใหญ่ ในจังหวัดอื่นๆ ของภาคใต้ และ ภาคตะวันออกพบบ้างเป็นพื้นที่เล็กๆและ กระจัดกระจายอยู่ ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล
  6. ดินเหมืองแร่ร้าง (Tin mined tailing lands) ถึงแม้จะพบเป็นเนื้อที่ไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบ กับดิน ที่มีปัญหาพิเศษ ที่กล่าวมาแล้ว ส่วนใหญ่พบ ในภาคใต้ โดยเฉพาะ ในจังหวัดพังงา ภูเก็ต และระนอง มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 159,000 ไร่ นอกจากนี้ยังพบ ในภาคตะวันออก และ ภาคเหนือ ที่มีการทำเหมืองแร่ แต่ยังไม่ได้ทำการสำรวจหาพื้นที่ว่ามีปริมาณเท่าไร แ ต่ อย่างไรก็ตาม ดินเหมืองแร่ ่ร้างนับว่าเป็นดิน ที่มีปัญหา ต่อการใช้ทางการเกษตรเป็นอย่างมาก การปรับปรุงแก้ไขหรือการพัฒนาพื้นที่ และ ดินเสื่อมคุณภาพลง อย่างมาก พื้นที่เป็น ที่ราบขรุขระสูงๆ ต่ำๆ เนื้อดินมีหิน ทราย และ กรวดปนอยู่มาก และ มักแยกกันเป็นส่วน ของเนื้อดินหยาบปนกรวดทรายส่วนหนึ่ง และ เนื้อดินละเอียดจะไปรวมอยู่กัน ในที่ต่ำ (slime area) พวกแร่ธาตุอาหารพืชถูกชะล้างออกไปในระหว่างขั้นตอนการทำเหมืองแร่ ฉะนั้นความอุดมสมบูรณ์ของดินเหมืองแร่ร้าง จึงต่ำมาก การปรับปรุงดินเหมืองแร่ร้างต้องคำนึงทั้งการปรับระดับพื้นที่ สมบัติทั้งด้านกายภาพ และ เคมีรวมทั้งการเลือกชนิด ของพืชมาปลูกให้เหมาะสมด้วย

dinpropet

3. ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน (soil erosion) ที่ทำให้ดิน เสื่อมโทรม นับว่าเป็นปัญหาสำคัญ อย่างหนึ่ง ในประเทศ และ จำเป็นต้องมีการป้องกัน และ แก้ไข เพื่อรักษาคุณภาพ ของดินให้เหมาะสม และ ใช้ประโยชน์ในระยะเวลายาวนาน การชะล้างพังทลาย ของดิน ในประเทศไทยเกิดขึ้น ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ การชะล้างพังทลาย ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (egologicerosion) เนื่องจาก ประเทศไทยตั้งอยู่ศูนย์สูตร และ ีปริมาณฝนตกมากดินบริเวณ ที่ลาดเทจะถูกน้ำฝนกัดกร่อนชะล้างออกไปสู่ ที่ต่ำ เมื่อน้ำฝนไหลบ่าบนผิวดิน (run off) ในขณะฝนตก และ หลังฝนตกเกิดขึ้น ตามธรรมชาติจะเกิดขึ้นมากบริเวณ ที่เป็นภูเขามีความลาดเท ของพื้นที่สูง และ มีป่าไม้ คลุมไม่หนาแน่น ถ้าเป็นบริเวณ ที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ไม้ขึ้นปกคลุมหนาแน่น การชะล้างพังทลาย ในขณะนี้มักไม่เกิดหรือเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ อย่างไรก็ตาม การชะล้างพังทลายแบบเกิดขึ้น ตามธรรมชาติจะน้อยขึ้นอยู่ กับปัจจัยหลาย อย่าง เช่น ชนิดหรือลักษณะ ของดิน ความลาดเท ของพื้นที่ ความหนาแน่นของพืชพรรณ ที่ขึ้นปกคลุม และ ปริมาณฝน ที่ตกลง สำหรับการชะล้างพังทลายอีกลักษณะหนึ่งนั้น เกิดขึ้นจากการกระทำ ของมนุษย์ หรือมนุษย์เป็นตัวเร่งให้เกิดหรือมากขึ้น (accelerated erosion หรือ manmade erosion) การชะล้างพังทลาย ในลักษณะนี้นับว่าเกิดขึ้นมาก และ รุนแรง ในประเทศไทยโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ดินดอน ที่มีความลาดเทตั้ง แต่ 5 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ที่ใช้ในการเพาะปลูก โดยไม่มีการอนุรักษ์ดิน และ น้ำ ที่เหมาะสม และ จะมี ความรุนแรงมากขึ้น ในบริเวณบนพื้นที่ภูเขา ที่เปิดป่าทำการเพาะปลูก หรือบริเวณ ที่ทำไร่เลื่อนลอย ปัญหาการชะล้างพังทลาย ของดิน ในประเทศไทย นับว่าเป็นปัญหารุนแรงที่ทำให้ทรัพยากรดิน และ ที่ดินเสื่อมโทรมทั้งสมบัติทางด้านกายภาพ และ เคมีนอกจาก นี้ยังก่อให้เกิดความเสื่อมโทรม ทางด้านสภาพ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติเป็นต้นว่า ก่อให้เกิดสภาพความแห้งแล้ง ของดิน แม่น้ำ ลำคลองธรรมชาติ และแหล่งน้ำ ที่พัฒนาขึ้นมา ตื้นเขิน อันเนื่องจากตะกอนดินถูกชะล้างลงมาตกตะกอนในแหล่งน้ำ ที่กล่าว ทำให้อายุการใช้งาน ของแหล่งน้ำสั้นลง บางครั้งตะกอนดินที่ถูกชะล้างลงสู่ ที่ราบต่ำอาจทับถมทำให้พื้นที่การเกษตร และ พืช ที่ปลูกเสียหายต้องมีการลงทุน เพื่อปรับปรุงแก้ไขไม่ใช่น้อย

dinna

แนวทางการปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติ
ดิน ที่ใช้ทำการเพาะปลูก ที่มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นดิน ที่เสื่อมค่า ขาดความอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินทราย ดินกรวด ดินลูกรัง ดินเหมืองแร่ดินพรุ ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดิน ที่มีหน้าดินถูกชะล้าง ดินเหล่านี้ สามารถปรับปรุงให้เกิดประโยชน์ใช้ ในการเพาะปลูกได้ การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติเป็นทางหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ได้ เป็นวิธี ที่ทำได้ง่าย เป็นการใช้วัสดุ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือวัสดุเหลือใช้มาทำ ให้เกิดประโยชน์ ในการปรับปรุงบำรุงดินเป็นการใช้พืช และ สัตว์เป็นแหล่ง ของธาตุอาหารพืช ในดิน ตลอดจนการเขตกรรม และ ระบบการจัดการเกษตร ที่เหมาะสม เป็นการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์มาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ทำให้เกิดผลผลิตที่บริสุทธิ์ เป็นประโยชน์ ต่อผู้ผลิต และ ผู้บริโภค ช่วยลดต้นทุนการผลิต และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เป็นพิษอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาตินั้น จะต้องคำนึงถึงความสมดุลทางเคมี ชีวะ และ กายภาพ เป็นหลัก

dinkhee

ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยวิธีต่างๆ ดังนี้

  1. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ระบบพืชประกอบด้วย
    1.1 การปลูกพืชต่างชนิดแบบผสมผสาน
    1.2 การปลูกพืชหมุนเวียน
    1.3 การปลูกพืชสดเป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน
    1.4 การปลูกพืชคลุมดิน
    วิธีดังกล่าวจะให้ประโยชน์ดังนี้

    • 1. เพิ่มอินทรียวัตถุให้ แก่ดิน
    • 2. สะสมธาตุอาหารให้ แก่ดิน
    • 3. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ให้ แก่ดิน
    • 4. ป้องกันดินเป็นโรค
    • 5. ป้องกันการชะล้าง และ พังทลาย ของดิน
    • 6. ลดศัตรูพืช ในดิน
    • 7. รักษาอุณหภูมิดิน
    • 8. ทำให้ดินร่วนซุยอ่อนนุ่มไม่แข็งกระด้าง
  2. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
    2.1 การใช้ปุ๋ยคอก
    2.2 การใช้ปุ๋ยหมัก
    2.3 การใช้เศษพืช
    การใช้วัสดุดังกล่าวปรับปรุงบำรุงดินจะก่อให้เกิดประโยชน์คือ

    • 1. เพิ่มอินทรียวัตถุให้ แก่ดิน
    • 2. เพิ่มธาตุอาหารพืชให้ แก่ดิน
    • 3. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ให้ แก่ดิน
    • 4. ช่วยลดความเปรี้ยว ความเค็ม ความเป็นด่าง ของดินให้น้อยลง
    • 5. ลดศัตรูพืช ในดิน
    • 6. ช่วยให้ดินร่วนซุย ดินอุ้มน้ำ ได้ดีขึ้น ดินไม่แข็ง
    • 7. ช่วยดินมีพลังสามารถรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น
    • 8. รักษาอุณหภูมิดิน
    • 9. ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
  3. การใช้จุลินทรีย์ (microorganisms) การใช้จุลินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดินจะช่วย
    3.1 สร้างธาตุอาหาร
    3.2 แก้ไขการขาดสมดุล ของจุลินทรีย์ ในดิน
    3.3 ช่วยป้องกันดินเป็นโรค
    3.4 ช่วยย่อยอินทรีย์สาร และ อนินทรีย์สาร ในดินให้เกิดประโยชน์
    3.5 ลดสารพิษ ในดิน และ ทำให้ดินสะอาด
  4. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้วัสดุ ที่เกิดจากแหล่งธรรมชาติ
    4.1 การใช้ปุ๋ยมาร์ล (Mar) โดโลไมท์ (Dolomite) หินฟอสเฟต (Rock phosphate) หินฝ่นปะการัง และ เปลือกหอย กระดูกป่น (Ground bone) เป็นวัสดุปรับปรุง ดินเปรี้ยว เพื่อลดความเปรี้ยว ของดินให้น้อยลง และ เป็นการเพิ่มธาตุอาหารพืช เช่น แคลเซี่ยม แมกนีเซียม และ ฟอสฟอรัสให้ แก่ดิน
    4.2 การใช้แร่ยิปซัม (CaSO 4 2H2O) ลดความเค็ม และ เพิ่มธาตุอาหาร เช่น แคลเซียม และ กำมะถันให้ แก่ดิน
  5. การใช้เขตกรรม (Deep Cultivation) การไถพรวนลึก ช่วยปรับปรุงดินได้ คือ
    5.1 ป้องกันการเกิดโรค ในดิน
    5.2 ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ของดิน
    5.3 เพิ่มชั้นดินให้สูงขึ้น
  6. การใช้น้ำฝน (Rain water)
    น้ำฝนเป็นน้ำ ที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติ ขณะ ที่ฝนตกมีฟ้าแลบ ทำให้ก๊าซไนโตรเจนทำปฏิกิริยา กับก๊าซไฮโดรเจนเป็นแอมโมเนีย (NH3) ก๊าซนี้ละลายปะปนมา กับน้ำฝนช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจน ในดินเป็นประโยชน์ ต่อพืช ที่ปลูกได้
  7. การปรับปรุงดิน โดยใช้ไส้เดือน (Eargth worm) ประโยชน์
    7.1 พรวนดินทำให้ดินร่วนซุย
    7.2 สร้างอินทรียวัตถุ
    7.3 เพิ่มธาตุอาหารพืช
    7.4 ป้องกันน้ำท่วม
    7.5 เพิ่มช่องอากาศ ในดิน

กล่าว โดยสรุปพบว่า ดิน ที่ทำการเกษตรทั่วไป และ ดิน ที่มีปัญหา ถ้านำมาใช้ในการเกษตรนั้น เราสามารถใช้วิธีธรรมชาติปรับปรุงบำรุงดินได้ โดยเฉพาะการเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ซึ่งปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์นำมาใช้ปรับปรุงบำรุงดิน การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติก็ยิ่งมีความจำเป็น เพราะเป็นวิธีการที่ช่วยให้เกิดความสมดุลภาย ในดิน เป็นการช่วยรักษาทรัพยากรดิน ให้เกิดประโยชน์ในการเพาะปลูกได้ อย่างถาวร ผลผลิตทางการเกษตร ที่ได้ จะเป็นผลผลิต ที่มีคุณภาพบริสุทธิ์ และ ปลอดภัย (Safety food) จะเป็นคุณประโยชน์ ต่อผู้ผลิต และผู้บริโภค ช่วยลดต้นทุน ในการผลิต และ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นด้วย

dinpui

ที่มา
(1) เกษตรธรรมชาติประยุกต์ โดย ดร.อานัฐ ตันโช ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
(2) สวทช.

ป้ายคำ : , ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ดิน

แสดงความคิดเห็น