ตะแบก (L. floribunda Jack) เปลือกลำต้นสีเทา เรียบ ลื่น เป็นมัน มักมีรอยแผลเป็นหลุมตื้น คล้ายเปลือกต้นฝรั่ง ใบอ่อนมีขนปกคลุม ใบแก่เกลี้ยง ช่อดอกออกตามปลายกิ่งโค้งชูเหนือเรือนยอด มีดอกจำนวนมาก ดอกขนาดเล็ก บานเต็มที่กว้าง ๔-๕ เซนติเมตร ดอกในช่อเรียงกันห่าง ๆ ทำให้ช่อดอกโปร่ง ดอกสีม่วงอมชมพู และสีจะจางซีดลงเกือบเป็นสีขาวเมื่อดอกโรย ผลผิวเรียบเป็นมันสีน้ำตาลเข้ม มีขนปกคลุมบาง ๆ ที่ส่วนปลาย ออกดอกในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน)
ตะแบก ขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณพื้นที่ที่ค่อนข้างชุ่มชื้นทางภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ส่วนภาคตะวันออก และภาคใต้มีขึ้นอยู่มากใน ป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วม และตามท้องนา ทั่ว ๆ ไป พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดสระบุรี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia floribunda Jack
วงศ์ LYTHRACEAE
ชื่ออื่น ตะแบกนา ตะแบกไข่ เปื๋อยนา เปื๋อยหางค่าง
ลักษณะ
ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 – 30 เมตร เปลือก เปลือกเรียบ เป็นมัน สีเทาอมขาว และมีรอยแผล เป็นหลุมตื้น ๆ ตลอดลำต้น
ประโยชน์ เนื้อไม้ละเอียดแข็ง ใจกลางมักเป็นโพรง ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่รับน้ำหนัก เสา กระดานพื้น และเครื่องมือการเกษตร และนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นนะแบกไว้ประจำบ้านจะทำให้มีฐานะสูงขึ้น และมีความมั่นคง แข็งแรง เพราะแบก คือ การแบกไว้ไม่ให้ตกสามารถยกขึ้นไว้ให้สูงไม่ให้ตกต่ำ ดังนั้น จึงมีแรงมากบางคนก็เรียกต้องตะแบกว่ เสลา หมายถึง ความแข็งแรง แข็งแกร่งเหมือนกับหิน นอกจากนี้ ยังมีคนโบราณเรียกต้นตะแบกว่า อินทนิล ซึ่งมีความหมายว่า พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์มาก ช่วยคุ้มครองปวงชนทั้งโลก ดังนั้น ต้นตะแบกจึงเป็นไม้มงคลนาม
ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๒, ธันวาคม ๒๕๓๒
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง