ตะไคร้เป็นพืชพื้นบ้านที่มีประโยชน์หลายอย่าง ได้ทั้งทำอาหาร เครื่องดื่ม เป็นยารักษาโรค และไล่แมลง เราใช้ประโยชน์จากตะไคร้กันมานานแล้ว ที่ชัดเจนที่สุดก็คือการตะไคร้ทำอาหาร ตะไคร้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอุตสาหกรรมเครื่องแกง ปัจจุบันตะไคร้ในตลาดยังไม่เพียงพอที่จะป้อนเข้าโรงงาน และในตลาดสดตะไคร้ก็ยังเป็นที่ต้องการของแม่บ้าน และผู้ประกอบการรายเล็กๆ อยู่
ชื่อสามัญ : Lemon Grass, Lapine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citrates (DC. Ex Nees) Stapf.
วงศ์ : GRAMINAE
ชื่ออื่น ๆ : คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), จะไคร(เหนือ), เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ไคร(ใต้)
ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก จะขึ้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นรูป ทรงกระบอก แข็ง เกลี้ยง และตามปล้องมักมีไขปกคลุมอยู่ เป็นพรรณไม้ที่มีอายุหลายปี
ใบ : ใบเดี่ยว แตกใบออกเป็นกอ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม และผิวใบจะสากมือทั้งสองด้าน เส้นกลางใบแข็ง ขอบใบจะมีขนขึ้นอยู่เล็กน้อย มีสีเขียวกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 2-3 ฟุต
ดอก : ออกเป็นช่อกระจาย ช่อดอกย่อยมีก้านออกเป็นคู่ ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ
การขยายพันธุ์ :
เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกกอ หรือหัวออกมาปลูกเป็นต้นใหม่ ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น หัว ใบ ราก และต้น
การปลูกตะไคร้
ตะไคร้เป็น พืชที่มีอายุหลายปี ลำต้นรวมกันเป็นกอ ใบยาวเรียว ปลายแหลมสีเขียวออกเทาและมีกลิ่นหอม ออกดอกเป็นช่อยาว มีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ผลมีขนาดเล็กไม่ค่อยติดดอกและผล ตะไคร้ปลูกง่ายเจริญได้ดีในดินแทบทุกชนิด ไถพรวนดินและตากดินไว้ประมาณ 7 – 10 วัน ย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้เข้ากับดินขุดหลุมปลุกระยะ 30 x 30 เซนติเมตร ก่อนนำตะไคร้ไปปลูก
นำพันธุ์ที่เตรียมไว้ตัดใบออก ให้เหลือต้นยาว ประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร มาแช่น้ำประมาณ 5 – 7 วัน เพื่อให้รากงอก รากที่แก่เต็มที่จะมีสีเหลืองเข้ม นำไปปลุกในแปลงวางต้นพันธุ์ ให้เอียง 45 องศา ไปด้านใดด้านหนึ่งแล้วกลบดิน จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกได้ประมาณ 30 วัน ก็ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เก็บเกี่ยวเมื่อตะไคร้อายุประมาณ 90 วัน
สรรพคุณ :
ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ หัวเป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลม
ใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญแต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย
ตำรับยา
มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด นำเอาตะไคร้ที่มีลำต้นแก่ และสด ๆ มา ประมาณ 1 กำมือ ทุบให้แหลกพอดีแล้วนำไปต้มน้ำดื่มหรืออีกวิธีหนึ่งเอาตะไคร้ทั้งต้นรากด้วยมาสัก 5 ต้นแล้วสับเป็นท่อนต้นกับเกลือ จากน้ำ 3 ส่วนให้เหลือเพียง 1 ส่วนแล้วทานสัก 3 วัน ๆละ 1 ถ้วยแก้วก็จะหาย
สารสำคัญที่พบ
พบน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ในเหง้าและกาบใบ ซึ่งประกอบด้วยสารซิทราล (Citral) ยูจีนอล (Eugenol) เจอรานิออล (Geraniol) ซิโทรเนลลอล (Citronellol) เมอร์ซีน (Myrcene) การบูร (Camphor) เป็นต้น
ข้อมูลทางคลีนิค :
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา :
ใบและต้นแห้งนั้นจะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ส่วนปลายของสัตว์ที่ตัดแยกจากลำ ตัว เช่น กระต่ายส่วนรากแห้งจะนำมาสกัดด้วยน้ำร้อนขนาด 2.5 ก./ก.ก. ซึ่งผลออก มาแล้วจะไม่มีผลในการลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายเลยและถ้านำทั้งต้นมาสกัดจาก แอลกอฮอล์อยู่ 95% จะมีฤทธิ์ขับพยาธิไส้เดือน โดยทำให้เกิดเป็นอัมพาตภายใน 24ชม. แต่พยาธินั้นจะไม่ตายเลย
สารเคมีที่พบ :
ในใบมีสารพวก Citral, Methylheptenone, Eugenol, Iso-orientin, Methylheptenol, Furfural, Luteolin,Phenolic substance, Cymbopogonol, Cymbopogone, Citral A,Citral B, Essential oil, Waxes, Nerol, Myrcene,l-Menthol, Linalool, Geraniol, Dipentene, d-Citronellic acid, Cymbopol, 1,4-Cineolie
อื่น ๆ
น้ำมันระเหยภายในต้นนั้น จะมีปริมาณสูงขึ้นเมื่อดินมีความชื้นสูง และพบว่าการคลุมดินกันน้ำระเหยจะทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยสูงเช่นกันซึ่งการใส่ปุ๋ยนั้นมีผลน้อยกว่า และถ้าใส่ปุ๋ยสูงเกินไปกลับจะทำให้ citral ลดลงและอุณหภูมิก็มีส่วนเช่นกันถ้าอุณหภูมิต่ำปริมาณน้ำมันก็ลดลง
รสและสรรพคุณ
ไทย กลิ่นหอม บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ ทำให้เจริญอาหารแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลาและเนื้อสัตว์ได้ดีมาก
วิธีใช้ ตะไคร้เป็นยารักษาอาการต่างๆดังนี้
อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้ลำต้นแก่สดๆทุบพบแหลก ประมาณ 1 กำมือต้มน้ำดื่มหรือประกอบเป็นอาหารอาการขับเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัด ไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม) ใช้ตะไร้แก่สด ต้มดื่มวันละ 3 ครั้งๆ ละ 1 ถ้วยชาก่อนอาหาร หรือใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดินหั่นฝานเป็นแว่นบางๆคั่วไฟอ่อนๆพอเหลืองชงเป็นยาดื่ม วันละ 3 ครั้งๆละ 1 ถ้วยชาแก้หวัด ใช้ตะไคร้ 1 ต้น หั่นเป็นแว่นๆและขิงสด 5-6 แว่น ใส่น้ำ 3-4 แก้ว ต้มจนเดือดทิ้งไว้ให้อุ่น ดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว วันละ3 เวลา หลังอาหาร
น้ำตะไคร้
ส่วนผสม
– ตะไคร้ 20 กรัม (1ต้น )
– น้ำเชื่อม 15 กรัม ( 1 ช้อนโต๊ะ )
– น้ำเปล่า 240 กรัม ( 16 ช้อนโต๊ะ )
วิธีทำ
นำตะไคร้มาล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนสั้น ทุบให้แตก ใส่หม้อต้มกับน้ำ ให้เดือดกระทั่งน้ำตะไคร้ออกมาปนกับน้ำจนเป็นสีเขียวสักครู่จึงยกลง กรองเอาตะไคร้ออก เติมน้ำเชื่อม ชิมรสตามชอบหรืออาจเอาเหง้าแก่ ที่อยู่ใต้ดิน ล้างให้สะอาดฝานเป็นแว่นบางๆคั่วไฟอ่อนๆพอเหลือง ชงเป็นชา ดื่มวันละ 3 ครั้งๆละ 1 ถ้วยชา จะช่วยขับปัสสาวะให้สะดวก
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
คุณค่าทางอาหาร : มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้กับอาหาร
คุณค่าทางยา : แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อได้ดี ช่วยลดพิษของสารแปลกปลอมในร่างกาย รวมทั้งช่วยลดความดันโลหิตสูง
ป้ายคำ : สมุนไพร