ในวิถีเกษตรธรรมชาติ เรามีผู้ช่วยคือ ตัวห้ำและตัวเบียน มาช่วยงาน ช่วยปรับสมดุลธรรมชาติ ช่วยปราบแมลงด้วยกันเอง ทำให้พืชผักที่เราปลูกอยู่ได้ตามธรรมชาติ
ตัวห้ำตัวเบียน เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติ ที่ช่วยสร้างความสมดุลของธรรมชาติ ตัวห้ำ คือแมลงที่กินแมลงชนิดเดียวกันเป็นอาหาร ส่วนตัวเบียนคือ แมลงที่เกาะอาศัยอยู่ในหรือนอกร่างกายของแมลงตัวอื่นและเบียดเบียนหรือดูดกินแมลงที่มันอาศัยอยู่ ในทำนองเดียวกับพยาธิหรือกาฝาก
ตัวเบียน เป็นแมลงที่อาศัยผู้อื่นอยู่และเบียนเบียนแมลงตัวที่มันอาศัย ในทำนองเดียวกับกาฝาก หรือพยาธิ์ในท้องของคนเรา เรียกว่าปาราสิต (Parasites)
แมลงตัวห้ำ หมายถึง แมลงที่กินแมลงเป็นอาหาร แมลงตัวห้ำจะมีลักษณะที่สำคัญต่างจากแมลงตัวเบียนคือ
ส่วนมากมีขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่าเหยื่อที่ใช้เป็นอาหาร ส่วนมากกินเหยื่อโดยการกัดกินตัวเหยื่อ ทำให้เหยื่อตายทันที
ตัวห้ำจะกินเหยื่อหนึ่งตัวหรือมากกว่าในแต่ละมื้ออาหาร ดังนั้นจึงกินเหยื่อได้หลายตัวตลอดช่วงชีวิตการเจริญเติบโตของมัน ตัวห้ำจะอาศัยอยู่คนละที่กับแมลงที่เป็นเหยื่อ และออกหาอาหารในที่ต่าง ๆ กันในแต่ละมื้อ
ตัวห้ำ
ตัวห้ำ กินแมลงชนิดเดียวกันเองเป็นอาหาร เรียกว่าเป็นนักล่า (Predator) แบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
แมลงตัวหํ้าที่มีปากแบบกัดกินจะกัดเหยื่อเป็นชิ้นๆ แล้วเคี้ยวกินเป็นอาหารเช่น ตั๊กแตนตำข้าว แมลงปอ เป็นต้น ส่วนตัวหํ้าที่มีปากแบบแทงดูดจะแทงปากเข้าไปดูดกินของเหลวต่าง ๆ ในตัวแมลงจนแห้งเหลือแต่ซากแล้วทิ้งไป เช่น มวนเพชฌฆาต
แมลงบางชนิดเป็นแมลงตัวหํ้าทั้งในระยะที่เป็นตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เช่นแมลงปอ ด้วงดิน แต่แมลงบางชนิดเป็นตัวตัวหํ้าเฉพาะตอนที่เป็นตัวอ่อน เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะกินนํ้าหวานหรือเกสรดอกไม้แทน เช่น แมลงวันดอกไม้ และบางชนิดก็เป็นแมลงตัวหํ้าในช่วงที่เป็นตัวเต็มวัย ในขณะที่เป็นตัวอ่อนจะกินซากสัตว์เป็นอาหาร เช่น แมลงวันหัวบุบ เป็นต้น
แมลงที่เป็นตัวห้ำ มีทั้งหมด ประมาณ 84 ชนิด เช่น แมลงปอ แมลงช้าง ด้วง ด้วงดิน ด้วงดิ่ง ด้วงเต่าลาย มวน
ตัวห้ำที่และเหยื่อของมัน
แมลง | แมลงระยะที่เป็นตัวห้ำ | เหยื่อที่กินๆ |
ตั๊กแตนตำข้าว | ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย | หนอนและแมลงชนิดต่าง ๆ |
แมลงปอ | ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย | แมลงตัวเล็ก ๆ |
มวนเพชฌฆาต | ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย | แมลงชนิดต่าง ๆ |
ด้วงดิน | ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย | แมลงที่อาศัยในดิน |
ด้วงเต่า, เต่าลาย | ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย | เพลี้ยอ่อนเพลี้ยหอย |
ด้วงเสือ | ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย | แมลงชนิดต่าง ๆ |
ด้วงก้นกระดก | ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย | แมลงที่อาศัยในดิน |
แมลงวันหัวบุบ | ตัวเต็มวัย | แมลงชนิดต่าง ๆ |
แมลงวันดอกไม้ | ตัวอ่อน | เพลี้ยอ่อน ตัวอ่อนมด ปลวก |
ต่อรัง | ตัวเต็มวัยหาเหยื่อ มาเลี้ยงตัวอ่อน | หนอนผีเสื้อ |
ต่อหมาร่า | ตัวเต็มวัยหาเหยื่อ มาเลี้ยงตัวอ่อน | หนอนผีเสื้อ เพลี้ยอ่อน |
มด | ตัวเต็มวัย | แมลงชนิดต่าง ๆ |
แมลงตัวห้ำมีมากมายหลายชนิด และมีอยู่ในเกือบทุกกลุ่มของแมลง เช่น ตั๊กแตนตำข้าว ด้วงบางชนิด แมลงวันบางชนิด ต่อแตนและมวนบางชนิด ส่วนแมลงปอ และแมลงช้างนั้นเกือบทุกชนิดเป็นแมลงตัวห้ำที่สำคัญทางการเกษตร แมลงตัวห้ำแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ พวกที่มีความว่องไว กะตือรือล้นในการออกหาเหยื่อ พวกนี้มักจะมีอวัยวะที่ดัดแปลงไปเพื่อช่วยในการจับเหยื่อ เช่น มีขายื่นยาวสำหรับจับเหยื่อ เช่น ตั๊กแตนตำข้าว บ้างก็มีตาใหญ่เพื่อจะได้เห็นเหยื่อได้ชัดเจน เช่น แมลงปอ เป็นต้น อีกพวกได้แก่ พวกที่กินเหยื่ออยู่กับที่ เช่น ด้วงเต่าลายกินเพลี้ยอ่อน ซึ่งไม่มีอวัยวะดัดแปลงเป็นพิเศษแต่อย่างใด แมลงตัวห้ำที่มีปากแบบกัดกินจะกัดเหยื่อเป็นชิ้น ๆ แล้วเคี้ยวกินเป็นอาหารเช่น ตั๊กแตนตำข้าว แมลงปอ เป็นต้น ส่วนตัวห้ำที่มีปากแบบแทงดูดจะแทงปากเข้าไปดูดกินของเหลวต่าง ๆ ในตัวแมลงจนแห้งเหลือแต่ซากแล้วทิ้งไป เช่น มวนเพชฌฆาต แมลงบางชนิดเป็นแมลงตัวห้ำทั้งในระยะที่เป็นตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เช่น แมลงปอ ด้วงดิน แต่แมลงบางชนิดเป็นตัวห้ำเฉพาะตอนเป็นตัวอ่อนเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะกินน้ำหวานหรือเกสรดอกไม้แทน เช่น แมลงวันดอกไม้ และบางชนิดก็เป็นตัวห้ำตอนเป็นตัวเต็มวัยในขณะที่เป็นตัวอ่อนจะกินซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร เช่นแมลงวันหัวบุบ เป็นต้น
ได้มีการนำแมลงตัวห้ำมาใช้กำจัดแมลงศัตรูทางการเกษตรประสบผลสำเร็จมาแล้วหลายตัวอย่าง ในต่างประเทศได้ใช้ด้วงเต่าลายทำลายเพลี้ยแป้งในสวนส้มด้วงเต่ายังสามารถกำจัดเพลี้ยอ่อนได้เป็นอย่างดีจนกระทั่งมีการผลิตด้วงพวกนี้จำนวนมากเป็นการค้า เกษตรกรสามารถหาซื้อแล้วนำมาปล่อยในสวนของตนเพื่อช่วยกำจัดเพลี้ยอ่อนได้ แมลงช้างปีกใสก็เช่นกันมีการผลิตออกมาขายในลักษณะเป็นไข่ที่สามารถนำไปวางในสวนเพื่อช่วยกำจัดเพลี้ยอ่อนและมด เป็นต้น
ตัวเบียน
แมลงตัวเบียนที่เบียดเบียนเกาะอาศัยแมลงชนิดเดียวกัน มันจะค่อย ๆ ดูดกินอาหารจากเหยื่ออย่างช้าๆ และทำให้เหยื่อตายในที่สุด ส่วน แมลงตัวเบียนที่เกาะอาศัยสัตว์ชนิดอื่น เช่น หมัด ไรไก่ หรือ เหา จะแค่ดูดเลือดและแร่ธาตุ เท่านั้น
แมลงตัวเบียนเป็นศัตรูธรรมชาติที่สำคัญทางเศรษฐกิจของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด แมลงตัวเบียนจะกินแมลงชนิดอื่นเป็นอาหารในลักษณะที่แตกต่างจากแมลงตัวห้ำ คือ
แมลงตัวเบียนของแมลงด้วยกันเองแตกต่างจากแมลงตัวเบียนสัตว์ชนิดอื่น คือทำให้แมลงที่เป็นเหยื่อตายในที่สุด แต่แมลงตัวเบียนสัตว์ชนิดอื่น เช่น หมัด ไรไก่ หรือเหา จะแค่ดูดเลือดและแร่ธาตุอาหารก่อให้เกิดอันตรายบ้างแต่ไม่ถึงกับตาย ความสัมพันธ์ระหว่างแมลงตัวเบียนและแมลงศัตรูพืชนั้นค่อนข้างเฉพาะเจาะจง บางชนิดจะทำลายแมลงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น เฉพาะแมลงในกลุ่มพวกต่อแตนและแมลงวันบางชนิดเท่านั้นที่เป็นแมลงตัวเบียน (ตารางที่ 3) แมลงตัวเบียนจะทำลายเหยื่อในระยะต่าง ๆ กัน บางชนิดทำลายไข่ของเหยื่อบางชนิดทำลายตัวอ่อนหรือดักแด้ โดยปกติจะไม่ทำลายตัวเต็มวัยของแมลง แมลงส่วนมากเป็นตัวเบียนตอนเป็นตัวอ่อน เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะหากินเป็นอิสระ ตัวเบียนบางชนิดอาศัยในตัวแมลง และเจริญเติบโตโดยใช้น้ำเลี้ยงในตัวแมลงเป็นอาหารแต่บางชนิดก็อาศัยอยู่ภายนอกและทำแผลขึ้นที่ผิวหนังของเหยื่อเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงจากภายใน
วงจรชีวิตของแมลงตัวเบียนเริ่มต้นจากตัวเบียนมาวางไข่ โดยใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปวางไข่ในตัวเหยื่อหรือบนตัวเหยื่อ ส่วนมากจะวางไข่หลายฟองแล้วจากไปหาเหยื่อตัวอื่น เพื่อวางไข่ต่อไป โดยมิได้ดูแลตัวอ่อนที่จะฟักออกมา แต่ตัวเบียนบางตัวจะปล่อยสารพิษออกมาก่อนเพื่อจะให้เหยื่อเป็นอัมพาตจะได้วางไข่ได้ง่ายขึ้น และอาจนำเหยื่อที่มันวางไข่บนตัวแล้วมาใส่ไว้ในรังที่มันสร้างขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าตัวอ่อนที่ฟักออกมาจะมีทั้งอาหารและที่อยู่อาศัย ปลอดภัยจากศัตรูตัวอ่อนของแมลงตัวเบียนเมื่อฟักออกจากไข่แล้วจะกินแร่ธาตุอาหารจากตัวเหยื่อ โดยเหยื่อก็จะยังคงมีชีวิตต่อไปเรื่อย ๆ พร้อมกับตัวเบียนก็เจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อแมลงตัวเบียนเติบโตเต็มที่แล้วจะเข้าดักแด้อาจเข้าดักแด้ภายในหรือภายนอกตัวแมลงซึ่งถึงขณะนี้แมลงที่เป็นเหยื่อจะถูกดูดกินไปหมดแล้ว อาจเหลือเพียงเปลือกผนังลำต้นเท่านั้น จากนั้นตัวเบียนก็จะเจริญเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งมีชีวิตอยู่เป็นอิสระกินน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหาร
ในธรรมชาติมีแมลงตัวเบียนหลายชนิดช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชอยู่แล้ว แต่มนุษย์เราก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น มีการผลิตแตนเบียนหลายชนิด แล้วนำไข่ไปปล่อยในแปลงปลูกพืช เช่นแตนเบียนฝอยไตรโคแกรมม่า ซึ่งเป็นแตนเบียนไข่ของหนอนผีเสื้อหลายชนิด ในประเทศไทย ได้มีการผลิตแตนเบียนชนิดนี้ในไข่ของผีเสื้อข้าวสาร แล้วนำไปปล่อยในแปลงอ้อย เพื่อใช้กำจัดหนอนกอทำลายอ้อย นอกจากนี้มีการนำแตนเบียนจากที่หนึ่งไปปราบแมลงซึ่งกำลังระบาดอีกที่หนึ่ง ทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายและจำหน่ายแตนเบียนที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรหลายชนิดด้วย
แตนที่เป็นตัวเบียนส่วนใหญ่ตัวไม่ใหญ่มาก มีสีดำหรือน้ำตาล โดยมันจะวางไข่ในตัวแมลงชนิดอื่น แตนบางชนิด จะวางไข่ในแมลงบางชนิดเท่านั้น แตนบางชนิดวางไข่ในไข่แมลงอื่น หรือไข่แตนด้วยกันเอง แตนเบียนที่วางไข่ในไข่แมลงอื่น เรียกว่าเป็นแตนเบียนไข่แมลง (insect eggs parasite wasps) แตนเบียนที่วางไขในไข่แตนด้วยกันเอง เรียกว่า แตนคุกคู(cuckoo wasps)
ในธรรมชาติมีแมลงตัวเบียนหลายชนิดช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชอยู่แล้ว แต่มนุษย์เราก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น มีการผลิตแตนเบียนหลายชนิด แล้วนำไข่ไปปล่อยในแปลงปลูกพืช เช่น แตนเบียนฝอยไตรโคแกรมม่า ซึ่งเป็นแตนเบียนไข่ของหนอนผีเสื้อหลายชนิด ในประเทศไทย ได้มีการผลิตแตนเบียนชนิดนี้ในไข่ของผีเสื้อข้าวสาร แล้วนำไปปล่อยในแปลงอ้อย เพื่อใช้กำจัดหนอนกอ ทำลายอ้อย นอกจากนี้มีการนำแตนเบียนจากที่หนึ่งไปปราบแมลงซึ่งกำลังระบาดอีกที่หนึ่ง ทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายและจำหน่ายแตนเบียนที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรหลายชนิดด้วย
แมลงที่เป็นตัวเบียน มีทั้งหมดประมาณ 167 ชนิด
ตัวเบียนและเพื่อนบ้านที่มันอาศัย
ตัวเบียน | เพื่อนบ้านที่มันเกาะอาศัย |
แมลงวันก้นขน | หนอนผีเสื้อ หนอนด้วง มวน |
แมลงวันหลังลาย | แมลงชนิดต่างๆ |
ต่อเบียน (Ichneumons) | หนอนผีเสื้อ ตัวอ่อนต่อเบียน แตนเบียน |
แตนเบียน (Broconids) | หนอนผีเสื้อ หนอนแมลงวัน แตนเบียน |
แตนเบียนฝอย (Chalcidid) | หนอนผีเสื้อ หนอนแมลงวัน |
แตนเบียนไตรโคแกรมม่า (Trichogramma) | ไข่ของแมลงชนิดต่าง ๆ |
เอกสารประกอบ การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติควบคุมแมลงศัตรูผัก
ที่มา
กรมส่งเสริมการเกษตร กรุงเทพมหานคร
ป้ายคำ : เกษตรอินทรีย์