ต้นกล้าข้าวสาลีอ่อน ประกอบด้วย สารออกฤทธิ์หลายชนิด โดยเฉพาะเอนไซม์ที่เป็นสารอาหารที่ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นสารแคตาลิส (สารเร่งปฏิกิริยา) พูดได้ว่าถ้าไม่มีเอนไซม์จะไม่มีชีวิต เมื่อเรามีอายุมากขึ้นการผลิตเอนไซม์ของร่างกายก็ลดลง การเสริมร่างกายโดยเอนไซม์ สามารถทำให้กิจกรรมของเซลล์ดียิ่งขึ้นและสามารถเพิ่มปริมาณเอนไซม์ของร่างกาย SODเป็นเอนไซม์ที่มีความสำคัญมากซึ่งอยู่ในต้นข้าวสาลี เพราะว่าสามารถต่อต้านอนุมูลอิสระ เมื่อระดับSOD ของร่างกายลดลง อนุมูลอิสระจึงเพิ่มขึ้น ดังนั้นทำให้เซลล์ในร่างกายสึกหรอ และไม่สามารถซ่อมแซมด้วยตัวเองได้ SOD ไม่ใช่แค่ทำหน้าที่ป้องกันโรคต่างๆ ได้ แต่ยังสามารถชะลอความชราได้ นอกจากสามารถต่อต้านอนุมูลอิสระได้ เอนไซม์ที่อยู่ในต้นข้าวสาลี ยังสามารถย่อยสลายโปรตีนและไขมันส่วนเกิน ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
คลอโรฟิลที่อยู่ในต้นข้าวสาลี (Wheatgrass)
ต้นข้าวสาลีมีคลอโรฟิลสูง โครงสร้างโมเลกุลของคลอโรฟิลคล้ายๆ กับฮีโมโกลบิล ร่างกายจึงสามารถเปลี่ยนคลอโรฟิลเป็นฮีโมโกลบิลได้ มีงานวิจัยโดย ดร.A.Zin, Hughes และ Latner รับรองว่า คลอโรฟิลสามารถเพิ่ม ฮีโมโกลบิลในร่างกายได้ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับรักษาโรคโลหิตจาง คลอโรฟิลยังสามารถทำให้ร่างกายต่อต้านสารก่อมะเร็ง ทำให้ตับแข็งแรงขึ้นและกำจัดสารพิษออกจากร่างกายได้
สารอาหารที่สำคัญ ทีมีอยู่ในต้นข้าวสาลี (Wheatgrass)
ต้นข้าวสาลีอ่อน ประกอบด้วยสารอาหารหลากหลายที่ร่างกายมนุษย์ต้องการ เช่น วิตามินเอ, ซี, อี และบี, กรดอะมิโน 17 ชนิด แร่ธาตุหลายชนิด เช่น ธาตุเหล็ก โซเดียม โปรแตสเซียม แมกกานีสแม็กนีเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี แคลเซียม โคลบอล และซัลเฟอ สารอาหารเหล่านี้ ถูกย่อยง่าย และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างง่าย
สรรพคุณหลัก ของต้นข้าวสาลี (Wheatgrass)
สำหรับในเมืองไทยก็ได้รับความสนใจไม่แพ้กันโดยนำต้นข้าวสาลีอ่อนมาคั้นเป็นน้ำผักเพื่อสุขภาพที่ให้คุณประโยชน์อย่างสูงต่อร่างกายของเรา นอกจากต้นข้าวสาลีอ่อนเป็นพืชที่มีคลอโรฟิลล์ถึง 70 % และน้ำคั้นจากต้นกล้าข้าวสาลีอ่อน สามารถนำมาดืมเพื่อ Detox ร่างกายโกยไม่มีผลเสียใด ๆ แล้ว คุณสมบัติของต้นข้าวสาลีอ่อนยังมีมากมาย เช่น
วิธีการเพาะข้าวสาลี
1. นำเมล็ดข้าวสาลีแช่น้ำ 1 คืน จากนั้นนำไปหว่านบนวัสดุเพาะในกระถางหรือตะกร้าที่สามารถระบายน้ำได้ วัสดุเพาะต้องระบายน้ำได้ดี และไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี
2. รดน้ำบางๆแบบพ่นฝอย โดยอาจใช้กระบอกฉีดพ่น พอชื้น แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปิดไว้
3. วันรุ่งขึ้น เปิดกระดาษหนังสือพิมพ์ รดน้ำแบบวันแรกแล้วปิดกระดาษหนังสือพิมพ์ไว้ดังเดิม ทำเช่นนี้ทุกวันจนเห็นใบอ่อนข้าวสาลีงอกออกมา จึงเอากระดาษหนังสือพิมพ์ออก
4. รดน้ำบางๆแบบพ่นฝอย ทุกวัน แต่อย่าให้ชื้นมากเพราะจะทำให้เกิดเชื้อราได้
5. เมื่อข้าวสาลีออกใบที่ 2 หรือสูงประมาณ 8 นิ้ว (ใช้เวลาประมาณ 10 วัน) สามารถตัดใบไปทำน้ำคั้นได้ โดยใช้กรรไกรสะอาดตัดเหนือดินประมาณ 1/2 นิ้ว
6. รดน้ำบางๆแบบพ่นฝอย ต่อทุกวัน อีกประมาณ 5-7 วัน สามารถตัดใบไปทำน้ำคั้นรุ่นที่ 2 ได้อีกครั้ง
ข้าวสาลีปลูกแต่ละรุ่น สามารถตัดใบไปทำน้ำคั้นได้ 2 รุ่น โดยใช้เมล็ดพันธุ์ 25 กรัม / คน / ครั้ง แต่สำหรับผู้ป่วยเพิ่มเมล็ดพันธุ์เป็น 50-100 กรัม / คน / ครั้ง
กรรมวิธีการคั้นน้ำและปริมาณที่จะบริโภค
การคั้นน้ำไม่ควรใช้เครื่องปั่นไฟฟ้าเพราะความเร็วของใบมีดจะทำให้เกิดขบวนการออกซิเดชั่น ซึ่งจะลดความเป็นประโยชน์ของน้ำคั้นข้าวสาลี ขณะนี้มีการนำเข้าเครื่องคั้นน้ำข้าวสาลี
ใบอ่อนข้าวสาลีที่ตัดแล้วสามารถเก็บในถุงพลาสติคในตู้เย็นได้ประมาณ 3 วัน แต่ถ้าคั้นน้ำแล้วควรรับประทานทันทีหรือไม่เกินครึ่งชั่วโมงหลังคั้นน้ำ
ปริมาณบริโภค วันละ 1/4 – 1/3 แก้ว 1 ครั้ง ก่อนอาหาร สำหรับคนธรรมดา และ วันละ 1/4 – 1/2 แก้ว 2-3 ครั้ง ก่อนอาหาร สำหรับคนป่วย ถ้าไม่ชอบกลิ่นอาจเติมน้ำมะนาวหรือน้ำผึ้งก็ได้
ข้อควรระวัง อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ถ้าบริโภคมากเกินไป และไม่แนะนำสำหรับสตรีมีครรภ์
คุณประโยชน์ของน้ำคั้นต้นข้าวสาลีอ่อน
จากรายงานของต่างประเทศ พบว่า น้ำคั้นต้นข้าวสาลีอ่อนอุดมด้วยเอ็นไซม์ วิตามิน และคลอโรฟิลล์ มีคุณค่าทางอาหารสูง ไม่มีอันตราย เพราะเป็นของธรรมชาติ ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทันที ต้นข้าวสาลีอ่อน 30 มิลลิลิตร มีคุณค่าเทียบเท่าผักสดทั่วไปน้ำหนัก 1 กิโลกรัม น้ำคั้นต้นข้าวสาลีอ่อนมีคลอโรฟิลล์มากถึง 70% ซึ่งคลอโรฟิลล์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายฮีโมโกลบิน จึงมีออกซิเจนมาก ช่วยให้สมองและเนื้อเยื่อของร่างกายมีออกซิเจนเพียงพอ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มี superoxide dismutase (SOD) ซึ่งเป็นสารต้านมะเร็งสูง ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทันที ทำให้ช่วยป้องกันและต่อต้านโรคมะเร็ง ลดโคเลสเตอรอล ช่วยในเรื่องระบบการไหลเวียนของโลหิต ระบบการย่อยอาหาร ลดความดัน รวมทั้งช่วยในการขับสารพิษออกจากร่างกาย ได้ด้วย
ส่วนประกอบที่พบในน้ำคั้นต้นข้าวสาลีอ่อน
น้ำคั้นต้นข้าวสาลีอ่อนมีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ไม่ต่ำกว่า 90 ชนิด ตั้งแต่ แคลเซียม แมกนีเซียม โปแตสเซียม เหล็กและโซเดียม มีกรดอะมิโนไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด และมีเอนไซม์ไม่ต่ำกว่า 30 ชนิด ดังนี้
ที่มา ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง
ป้ายคำ : สุขภาพพึ่งตน