ถั่วฝักยาวจะอุดมไปด้วย แคลเซียม แคลเซียมมีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟัน ป้องการการเกิดโรคกระดูกพรุน ฟอสฟอรัส ฟอสฟอรัส มีส่วนช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และ โปรตีน อีกทั้งยังคอยควบคุมการทำงานของไต ช่วยเสริมสร้างเหงือกและฟัน อีกทั้งยังมีส่วนช่วยทำให้วิตามินบีทำงานได้ตามปกติ วิตามินซี วิตามินซีมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคไขหวัด ช่วยในการรักษาแผลสดให้หายไว ลดอาการเลือดออกตามไรฟัน ลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ
ถั่วฝักยาว (YARD LONG BEAN)
ตระกูลถั่ว Fabaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vigna unguiculata var. sesquipedalis
ชื่ออื่น : ภาคกลางเรียกว่า ถั่วขาว ถั่วนา ถั่วฝักยาว ภาคเหนือเรียกว่า ถั่ว
ถั่วฝักยาว เป็นพืชตระกูลถั่ว มีลำต้นเป็น เถาเลื้อยมีมือจับ การปลูกถั่วฝักยาว โดยการทำค้าง จะให้ผลผลิตสูง ถั่วฝักยาวเป็นผัก ที่ลูกง่าย โตเร็ว ปลูกได้ตลอดปี ในดินแทบ ทุกชนิด ถั่วฝักยาวเป็นผัก ที่ใช้ฝักสดบริโภค มีความนิยม บริโภคกันมาก ในเมืองไทย สามารถ ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ต้ม ผัด แกง จิ้มน้ำพริก กินกับส้มตำ ทำส้มตำ ถั่วฝักยาว นอกจากจะ เป็นผักที่มีคุณค่า ทางอาหารแล้ว การปลูกถั่วฝักยาว ยังสามารถช่วย ปรับปรุงดินให้ดีขึ้นอีกด้วย เพราะรากของ ถั่วฝักยาว สามารถตรึง ไนโตรเจน จากอากาศไว้ในดิน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเลื้อย อายุปีเดียว ลำต้นยาว 2-4 เมตร มีระบบรากที่พัฒนาดี ลำต้นบิดเลื้อยพัน มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม
การใช้ประโยชน์
รับประทานฝักสดเป็นอาหาร หรือ นำไปปรุงให้สุกเพื่อเป็นกับข้าวชนิดต่างๆ
ประโยชน์ทางสมุนไพร
คุณค่าทางอาหาร
ส่วนที่รับประทานได้หนัก 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 89 กรัม โปรตีน 3 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.2 กรัม เส้นใย 1.3 กรัม เถ้า 0.6 กรัม แคลเซียม 64 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 54 มิลลิกรัม เหล็ก 1.3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 167 IU วิตามินบี1 0.07 มิลลิกรัม วิตามินซี 28 มิลลิกรัม พลังงาน 125 กิโลจูล เมล็ดจำนวน 1,000 เมล็ด หนักประมาณ 150-250 กรัม
การขยายพันธุ์
ถั่วฝักยาวมีลำต้นเป็นเถาเลื้อย ไม่มีเนื้อไม้ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด พันธุ์ที่ปลูก ได้แก่ พิจิตร 1 เขียวดก ลำน้ำชี ลำน้ำมูล ลำน้ำพอง
ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ไม่มีการตอบสนองต่อความยาวของช่วงวัน แต่บางสายพันธุ์อาจมีการตอบสนองต่อช่วงวันสั้น ชอบแสงแดดจัดและอาจปลูกในสภาพมีร่มเงาเพียงเล็กน้อยได้ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตในช่วงกลางวันคือ 25-35 องศาเซลเซียส กลางคืนไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้บนพื้นที่ราบจนถึงที่ความสูง 700 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชอบอากาศชื้นมีปริมาณน้ำในดินมากตลอดอายุของการเจริญเติบโต แต่ดินปลูกต้องมีการระบายน้ำได้ดี ถ้าปลูกในฤดูร้อนที่แห้งแล้งต้องมีการให้น้ำอย่างเพียงพอ ไม่ชอบน้ำท่วมขัง และต้นกล้าไม่ ทนทานต่อแรงกระแทกของฝนที่ตกหนัก สามารถเติบโตได้ในดินทรายจนกระทั่งดินที่เหนียวจัด ค่า pH 5.5-7.5 มีความสามารถทนทานต่อดินกรดได้เล็กน้อย
สภาพดินฟ้าอากาศ
ถั่วฝักยาวสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย สามารถเติบโตได้ในดินแทบทุึกชนิด แต่ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรด-ด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.0 ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ชอบอากาศค่อนข้างร้อน ถ้าอากาศหนาวเกินไปจะทำให้ชงักการเจริญเติบโตผลผลิตต่ำ ฝักไม่สวย ถั่วฝักยาวจะใ้ห้ผลผลิตดีในช่วงฤดูฝน อุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติืบโตอยู่ในช่วง 15-30 องศาเซลเซียส
การเตรียมดิน
ยกร่องแปลงกว้าง 1-1.20 เมตร ความยาวแล้วแต่สภาพแปลง ตากดินไว้ 7-10 วัน เพื่อทำลายไข่แมลง และศัตรูบางชนิดแล้ว ไถคราด ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก เพื่อปรับสภาพโครงสร้างดิน
การปลูกถั่วฝักยาว
ทำหลุมปลูกหลังปรับร่องแปลงให้ขุดหลุมปลูกระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะระหว่าง 80 เซนติเมตร รองกันหลุมด้วยปุ๋ยหมัก อัตรา 1/2 กก. ต่อหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน แล้วหยอดเมล็ดลงไปหลุมละ 2-3 เมล็ด กลบหลุมด้วยปุ๋ยคอกหนา เพียงเล็กน้อย แล้วรดน้ำทุกวัน วันละครั้ง
การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้น้ำ ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอและเีพียงพอ การให้น้ำในระยะอาทิตย์แรกหลังหยอดเมล็ด ควรให้น้ำทุกวัน อย่าให้ดินแห้งแต่อย่าให้มากเกินไปเพราะจะทำให้เมล็ดอาจเน่าได้ ส่วนระยะการเจริญเติบโต และติดดอกออกผลอย่าให้ขาดน้ำเป็นอันขาด ควรให้น้ำทุกวันๆ 2 ครั้งในช่วงเช้าเย็น เพราะจะทำให้ดอกร่วง และไม่ติดฝัก หรือฝักอาจไม่สมบูรณ์
การปุ๋ยถั่วฝักยาว
การพรวนดินกำจัดวัชพืช ทำทุกครั้งเมื่อมีการใส่ปุ๋ย
การทำค้าง เนื่องจาก ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องอาศัยค้างเพื่อยึดเกาะพยุงลำต้น ดังนั้นควรทำไม้ค้างให้เพื่อจะได้ผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพสูง โดยใช้ไม้ไผ่ยาว 2-2.5 เมตร การปักอาจปักแบบกระโจมเข้าหากัน แล้วรวบปลายไม้เข้าหากันหรืออาจจะปักตรงๆ แต่ละต้นก็ได้ หลังปักค้างเสร็จจับเถาถั่วพันรอบไม้ค้าง ต้องคอยทำทุกๆ 2-3 วัน
การเก็บเกี่ยว
ถั่วฝักยาว หลังหยอดเมล็ดแล้วประมาณ 50-60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเฉพาะฝักที่ขนาดพอดี ไม่อ่อนเกินไป ควรเลือกเก็บในเวลาเข้าหรือเย็นๆ หลังเก็บเกี่ยวเสร็จควรรีบเก็บเข้าร่มทันทีเพื่อมิให้ถั่วฝักยาวเหี่ยว และฝ่อเร็ว การเก็บให้ทยอยเก็บ 2-3 วัน/ครั้ง
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน