ถั่วพุ่ม ถั่วตรึงไนโตรเจน

12 ธันวาคม 2557 ดิน 0

ถั่วพุ่ม เป็นพืชปุ๋ยสด (พืชที่ใช้ปลูกแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด) ที่เหมาะจะปลูกในพื้นที่นาดอนให้น้ำหนักสด (เป็นปุ๋ยอินทรีย์) ประมาณ 1.6-2 ตันต่อไร่ ให้ธาตุไนโตรเจนคิดเทียบเป็นปุ๋ยยูเรียประมาณ 13 กิโลกรัมต่อไร่

ถั่วพุ่มสามารถตรึงไนโตรเจนได้จากธรรมชาติ การใส่ปุ๋ยของถั่วพุ่มจะเน้นที่พันธุ์ถั่วพุ่มใช้เมล็ด เพราะเกษตรกรนิยมปลูกเป็นแปลงใหญ่มากกว่าถั่วฝักสด

ฝักสดถั่วพุ่มรับประทานแทนผักจิ้มน้ำพริก หรือทำตำส้มแทนมะละกอได้ เมล็ดแห้ง ประกอบอาหารทั้งคาว และหวานได้ เป็นที่นิยมในอาหารประเภทชีวจิต เกษตร กรบางแห่งใช้ถั่วพุ่มปลูกเป็นพืชปุ๋ยสด แซมในไร่มันสำปะหลัง โดยปลูกแซมแถวเดียว ระหว่างกลางแถวมันสำปะหลัง และพบว่าการไถกลบพืชปุ๋ยสดแล้วปลูกมันสำปะหลังตามในพื้นที่ขุดดินยโสธร จะทำให้ได้ผลผลิตหัวมันสดเพิ่มขึ้นทุกปี ตั้ง แต่ปีที่ 1-5 โดยเฉลี่ยได้น้ำหนักหัวมันสด 2,490 กิโลกรัมต่อไร่

ถั่วพุ่มเป็นพืชปุ๋ยสดหมุนเวียนในนาข้าว โดยปลูกก่อนปักดำข้าว นาข้าวที่นาดอนและมีการระบายน้ำดี โดยปลูกปลายฤดูฝนแล้วไถกลบในภายหลัง เช่นบางพื้นที่ของจังหวัดสกลนคร มีการปลูกถั่วพุ่มและไถกลบในนาข้าว พบว่าได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 52 ถังต่อไร่ ข้อมูลจากกรมพัฒนา ที่ดินระบุว่าปริมาณธาตุอาหารที่ได้จากการปลูกถั่วพุ่ม หลังจากไถกลบแล้วจะสลายตัวภายใน 30 วัน มีเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหาร N, P, K ประมาณ 2.92, 0.45 และ 4.00.

ชื่อวิทยาศาสตร์ Vigna unguiculata (walp.) พันธุ์ที่นิยมปลูก Vigna sinensis (พันธุ์พื้นเมือง)

ลักษณะโดยทั่วไป
ลำต้นเป็นพุ่มเตี้ยคล้ายถั่วเขียว เป็นพืชทนแล้ง ปลูกก่อนฤดูฝนหรือปลายฤดูฝน อายุออกดอกประมาณ 45-50 วัน ลักษณะฝักคล้ายถั่วฝักยาว มีปริมาณโปรตีนค่อนข้างสูง เมล็ดและฝักสดนำมาใช้ประกอบอาหารได้ เศษเหลือของถั่วพุ่มนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้

taopoombai

ถั่วพุ่ม (Cowpea : Vigna unguiculata L. Walp) เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ทนแล้ง และปลูกง่าย สามารถปลูกได้ทั้งใน สภาพไร่และสภาพนา (หลังเก็บเกี่ยวข้าว) เป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้เอนกประสงค์ ใช้บริโภคทั้งในรูปฝักสดและเมล็ดแห้ง เมล็ดถั่วพุ่มมีคุณค่าทางโภช
นาการสูง ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรท 50-67 % และโปรตีน 23-25 % (Bressani, 1985) สามารถใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ ส่วนต้นและใบของถั่วพุ่มหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะยังคงมีสีเขียวสด และมีโปรตีนค่อนข้างสูง สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะสัตว์เคี้ยวเอื้อง
(เมธา, 2529) หรือใช้ไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน จะให้ธาตุไนโตรเจนประมาณ 6-13 กก./ไร่ (Tarawali et al., 1997) ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับพืชที่ปลูกตามถั่วพุ่ม
ถั่วพุ่มเป็นพืชที่มีการปลูกอยู่เกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยปลูกมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทั้งพันธุ์ที่ใช้เพื่อบริโภคฝักสดและเมล็ดแห้ง ถั่วพุ่มใช้เมล็ดมีหลายสี แต่เมล็ดสีดำเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด และขายได้ราคาดี (25-30 บาท/กก.) ซึ่งถั่วพุ่ม ใช้เมล็ดที่เกษตรกรปลูกโดยทั่วไป เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ให้ผลผลิตต่ำ และอ่อนแอต่อโรคใบไหม้ (bacterial leaf blight) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. phaseoli ดังนั้น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร โดยศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี จึงได้ปรับปรุงพันธุ์ถั่วพุ่มเมล็ดดำ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง และต้านทานต่อโรคใบไหม้ สำหรับแนะนำให้เกษตรกรปลูกทดแทนพันธุ์พื้นเมืองต่อไป

ประวัติการปรับปรุงพันธุ์
ถั่วพุ่มพันธุ์อุบลราชธานี (สายพันธุ์ CP4-2-3-1) เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ( International Rice Research Institute, IRRI) ประเทศฟิลิปฟินส์ ในช่วงแรกได้นำมาปลูกเพื่อศึกษาการปรับตัวและการให้ผลผลิตที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานีพบว่าเป็นสายพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดีและให้ผลผลิตสูง จึงได้เริ่มพัฒนาสายพันธุ์ให้บริสุทธิ์ด้วยการคัดเลือกพันธุ์ ระหว่างปี 2540-2541 รวม 4 ฤดูปลูก จนกระทั่งได้ สายพันธุ์บริสุทธิ์ที่มีลักษณะประจำพันธุ์ตรงตามพันธุ์แล้ว จากนั้นจึงประเมินผลผลิตเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ และพันธุ์พื้นเมือง ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่และสถานีทดลองพืชไร่ต่างๆ ตลอดจนในสภาพไร่นาของเกษตรกร ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งสิ้น 8 แปลงทดลอง 5 แปลงทดสอบ ตั้งแต่ปี 2540-2544 และได้รวบรวมข้อมูลเพื่อขอแนะนำพันธุ์ในปี 2545 ซึ่งได้ผ่านมติคณะอนุกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2546

taopoomtai

วิธีการปลูก ปลูกแบบหว่านเมล็ดเพื่อการไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดหรือปลูกเป็นหลุมในแถวระยะ 30 x 50 ซม.

อัตราเมล็ดที่ใช้ปลูก หว่านเพื่อไถกลบ อัตราเมล็ด 8-10 กิโลกรัมต่อไร่

การใช้ประโยชน์

  • เพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ควรทำการไถกลบเมื่ออายุ 40 วัน จะให้ผลผลิตน้ำหนักสดประมาณ 4 ตัน/ไร่ ให้ธาตุไนโตรเจน ประมาณ 14.18 กก. /ไร่
  • เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ ใช้ระยะปลูก 50 x 100 ซม.อายุเก็บเกี่ยว 80-150 วัน ได้ผลผลิตประมาณ 70 กก. /ไร่

ปริมาณธาตุอาหารที่ได้ หลังจากไถกลบแล้วจะสลายตัวภายใน 30 วัน มีเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหาร N, P, K ประมาณ 2.92, 0.45 และ 4.00 ตามลำดับ

ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ดิน

แสดงความคิดเห็น

Niño Polla Xxx Folla Con Su Padre KetoSex - الفلم الخالد... اجمل نيك طيز عربي 1 -xnxx سكس مترجم - سكس العرب jav subthai phim sex vietsub xnxx hd Desi Indian Hot Bengali Couple Sex Scene