ถั่วลายเป็นพืชอายุหลายปี ลำต้นเลื้อยพัน เป็นอาหารสัตว์สำหรับโค กระบือ เป็นพืชคลุมดิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centrosema pubescens Benth.
วงศ์ : Leguminosae-Papilionoideae
ชื่อสามัญ : Butterfly pea
ชื่ออื่น : ถั่วลาย (กรุงเทพฯ) ถั่วสะแดด (ปราจีนบุรี)
ลักษณะ
ถั่วลายเป็นพืชอายุหลายปี ลักษณะลำต้นเลื้อยพัน (twining) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 1.46-1.86 มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวเข้มปนน้ำตาล มีขนสั้น ๆ สีน้ำตาลแดงปกคลุมปานกลาง
ใบมี 3 ใบย่อยและมีก้านใบ (pinnately trifoliate) ใบรูปไข่ ใบบนยาว 4.49-7.69 เซนติเมตร กว้าง 3.25-4.15 เซนติเมตร ใบข้างยาว 4.35-5.43 เซนติเมตร กว้าง 2.34-3.3 เซนติเมตร ผิวใบค่อนข้างหยาบ สีใบเขียวอมเหลือง หน้าใบ หลังใบมีขนสั้น ๆ จำนวนปานกลาง ซึ่งเปรียบเทียบกับถั่วลายดอกสีม่วง (commercial centro) ที่มีขนสั้น ๆ ละเอียดจำนวนมากกว่าทั้งหน้าใบและหลังใบ ลักษณะหูใบ (stipule) เป็นรูปหนาม หรือแหลม (spinose or filiform) มีสีน้ำตาล ช่วงออกดอกปลายเดือน ตุลาคม กันยายน ซึ่งเร็วกว่าถั่วลายดอกสีม่วงประมาณหนึ่งเดือน
ดอกแบบช่อกระจะ (raceme) เกิดจากซอกข้อ ความยาวช่อดอก 5.32-8.04 เซนติเมตร ดอกเดี่ยวรวมเป็นพวงขนาดเล็ก ความยาวของดอก 1.32-2.58 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาวอมเหลืองอ่อน ๆ ฝักแก่สีน้ำตาล รูปฝักค่อนข้างแบน รอยคอดระหว่างข้อฝักไม่ชัดเจน ฝักยาว 9.53-11.37 เซนติเมตร กว้าง 0.53-0.61 เซนติเมตร
คุณค่าทางอาหาร อายุประมาณ 90 วัน มี
โปรตีน 22.42 เปอร์เซ็นต์
เยื่อใย 28.33 เปอร์เซ็นต์
ไขมัน 1.65 เปอร์เซ็นต์
เถ้า 9.36 เปอร์เซ็นต์
NFE 38.24 เปอร์เซ็นต์
เยื่อใยส่วน ADF 35.57
เปอร์เซ็นต์ NDF 51.48 เปอร์เซ็นต์
ลิกนิน 8.87 เปอร์เซ็นต์
ป้ายคำ : อาหารสัตว์