ถั่วแขก ลักษณะเหมือนถั่วฝักยาว แต่ขนาดจะสั้นกว่า ให้รสชาติหวานและกรอบ มีโปรตีนสูง อุดมด้วยธาตุเหล็ก แคลเซียมและวิตามินซี ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือด อีกทั้งวิตามินชี ยังช่วนให้ร่างกาย ดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น นิยมนำมาลวกเป็นเครื่องเคียงใสสเต๊ก ผัดน้ำมันหอย หรือลวกจิ้มน้ำพริก ฯลฯ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phaseolus vulgaris L.
วงศ์ FABACEAE
ชื่อสามัญ Snap bean, Kidney Bean, Green Bean, Haricot, Common Bean, French Bean, Fijjol, Runner Bean, String Bean, Salad Bean, Wax Bean
ถั่วแขก เป็นพืช ตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของเม็กซิโก สามารถเจริญเติบโต ได้ดีในสภาพอากาศอบอุ่น ถั่วแขกเป็นพืชฤดูเดียว ลำต้นแข็ง แตกกิ่งก้านน้อย มีการเจริญเติบโตหลายลักษณะ เช่น เป็นพุ่ม กิ่งเลื้อย หรือเลื้อย ใบเป็นแบบสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ สามารถเจริญเติบโต ได้ทุกช่วงแสง ถั่วแขกเป็นพืชผสมตัวเอง ฝักมีหลายสี เช่น เหลือง ม่วง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของถั่วแขก
ลักษณะ
ถั่วแขกเป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ง่ายไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มากนัก สามารถปลูกกับดินทุกประเถท ทุกสภาพของดินไม่ว่าจะดีหรือไม่ก็ตาม ถั่วแขกควรเก็บเกี่ยวบ่อยๆ ไม่ควรปล่อยให้ฝักแก่เพราะจะทำให้เสียรสชาติ พันธุ์เบาอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50 -60 วัน พันธุ์หนักอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 70 -80 วัน นับจากวันที่หยอดเมล็ด ถั้วแขกที่ใช้ปลูกมี 2 พันธุ์คือ พันธุ์พุ่มและพันธุ์เลื้อย สำหรับพันธุ์พุ่มจะมีความสูงประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร ส่วนพันธุ์เลื้อยมีความสูงถึง 1.80 เมตร ถ้าปลูกพันธุ์เลื้อยควรจะต้องทำค้างให้เลื้อยเหมือนถั่วฝักยาว และเมื่อต้นถั่วอายุประมาณ 15 วัน ต้องทำค้างให้เลื้อย
คุณค่าทางอาหาร
ถั่วแขกนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด โดยถั่วแขก 100 กรัม จะให้พลังงาน 27 กิโลแคลอรี โดยจะมีโปรตีน 1.9 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.5 กรัม แคลเซียม 78 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 45 มิลลิกรัม เหล็ก 3.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.07 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.09 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 32 มิลลิกรัม อีกทั้งในถั่วแขกยังสามารถช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ด้วย เพราะมีสารสำคัญอย่างสารกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ สารทริปซิน และยังมีสารพีเอชเอ ซึ่งช่วยชะลอความแก่ชรา ป้องกันโรคมะเร็งได้ด้วย และจะช่วยเร่งการสร้างสารภูมิคุ้มกันที่เรียกกันว่า อินเตอร์เฟอรอน (Interferon)
อุณหภูมิ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของถั่วแขกอยู่ระหว่าง 20-25C และอุณหภูมิดินอยู่ระหว่าง 18-30C ในช่วงที่มีฝนตกชุก อุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูงไม่เหมาะเหมาะสมต่อการปลูก ในขณะที่อุณหภูมิสูง สภาพอากาศแห้งแล้ง หรือช่วงที่มีฝนตกชุก ช่วงดอกบาน จะทำอัตราการติดฝักต่ำ ดอกร่วง โดยเฉพาะถั่วแขกค้าง ซึ่งต้องการอุณหภูมิต่ำกว่าถั่วแขกพุ่ม
ดิน สภาพดินที่เหมาะสมต่อการปลูกควรเป็นดินร่วยซุย ถ่ายเทอากาศได้ดีสภาพดินที่เหมาะสม คือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี pH 6.0-6.5 แปลงที่มีความชื้นและใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมาก จะทำให้ฝักแก่ช้า และควรได้รับแสงอย่างเต็มที่ตลอดทั้งวัน
การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของถั่วแขก
ถั่วแขก ลักษณะเหมือนถั่วฝักยาว แต่ขนาดจะสั้นกว่า ให้รสชาติหวานและกรอบ มีโปรตีนสูง อุดมด้วยธาตุเหล็ก แคลเซียมและวิตามินซี ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือด อีกทั้งวิตามินชี ยังช่วนให้ร่างกาย ดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น นิยมนำมาลวกเป็นเครื่องเคียงใสสเต๊ก ผัดน้ำมันหอย หรือลวกจิ้มน้ำพริก เป็นส่วนผสม ของไส้ไข่ยัดไส้
ถั่วเข็ม เป็นถั่วแขกขนาดเล็ก มีรสชาติหวาน นิยมนำมาลวกเป็นเครื่องเคียงในสเต๊ก หรือผัดโดยใช้ไฟแรง
การปฏิบัติดูแลรักษาถั่วแขกในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
การเตรียมกล้า นำเมล็ดถั่วแขกคลุกเชื้อไตรโคเดอร์มา บ่มผ้าอุณหภูมิ 40C ประมาณ 6 ชั่วโมง
การเตรียมดิน ไถดินตากแดดไม่ต่ำว่า 14 วัน หรือขุดพลิกดินตากแดดอย่างน้อย 7-14 วัน เก็บเศษวัชพืชให้สะอาด ขึ้นแปลงปลูก รองพื้นด้วยปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก อัตรา 1 กก./ตร.ม. และใส่ปุ๋ย ควรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนรองพื้น จะทำให้ต้นกล้าแข็งแรงขึ้น
กากปลูกและดูแลรักษา หยอดเมล็ดที่บ่มแล้ว 2-3 เมล็ดต่อหลุม ลึก 2-3 ซม. และกลบดินรดน้ำ โดยมีระยะปลูก(ต้นxแถว) 3050 ซม.
ข้อควรระวัง ไม่ควรคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันแมลง
การให้น้ำ ปลูกซ่อม 7-10 วัน หลังจากหยอดเมล็ด ใส่ปุ๋ย หลังจากปลูก 40 วัน ใส่ปุ๋ย แล้วพูนโคนต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม เน้นการกำจัดวัชพืชแล้วรดน้ำควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอช่วง 30 วันแรก หลังจากนั้นทุก 2-3 ;น ขึ้นกับระดับความชื้นในดิน การทำค้างนั้นควรทำหลังปลูกให้เสร็จก่อน 7-10 วัน ค้างสูงประมาณ 2 ม.
การเก็บเกี่ยว เมื่ออายุได้ประมาณ 45-50 วัน ควรมีการทยอยเก็บ เมื่อฝักได้ขนาดตามต้องการ สำหรับถั่วเข็มเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 5 วัน และ 10 วันหลังดอกบานทำเป็นถั่วแขกทั่วไป
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน