ธนาคารขยะ ส่งเสริมการคัดแยกขยะ

23 ตุลาคม 2556 ภูมิปัญญา 0

ในขณะที่แต่ละประเทศกำลังพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ความเจริญทางวัตถุพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทราบไหมว่าสิ่งที่ตามมาควบคู่กันคือ ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล กลายเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่ทำให้เมืองไม่น่าอยู่ในขณะนี้ ซ้ำร้ายไปกว่านั้น การเผาทำลายขยะจำนวนมหาศาลในแต่ละครั้งคือตัวการหนึ่งที่ทำให้ภาวะโลกร้อนรุนแรงหนักขึ้น

ข้อมูลที่น่าตกใจคือปริมาณขยะวันละ ๓๘,๐๐๐ ตัน หากนำมาคัดแยกจะใช้ได้ใหม่ถึง ๔๐% แต่ปัจจุบันแยกได้เพียง ๕% เท่านั้น จึงมีขยะที่ควรนำมาใช้ได้แต่ถูกทิ้งไป ในแต่ละวันจำนวนมหาศาล คิดเป็นเงินประมาณ ๓๐ ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ระยะที่ผ่านมาองค์กรชุมชนได้รวมตัวกัน และมีรูปแบบการจัดการขยะทั้งในลักษณะการสร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญขยะเป็นเครื่องมือเสริมสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรชุมชน เป็นเครื่องมือนำไปสู่การยอมรับสถานะของชุมชนที่มีส่วนในการลดปัญหาขยะให้กับเมืองต่างๆ อย่างมหาศาล เช่น โกดังรับซื้อขยะจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเชียงใหม่พ่วงสะอาด โครงการธนาคารขยะของชุมชนต่างๆ กลุ่มซาเล้ง และโครงการขยะแห้งแลกไข่ เป็นต้น ถึงแม้การดำเนินงานของกลุ่มชุมชนเหล่านี้จะไม่สมบูรณ์ครบวงจรมากนัก แต่ก็สามารถพัฒนาไปสู่การจัดการขยะอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต อีกทั้งยังมีองค์กรชุมชนอีกจำนวนมากมีความสนใจจะนำขยะรีไซเคิลเหล่านี้ไปสู่การสร้างรายได้ให้กับสมาชิกชุมชน

tanakarnkaya

ที่ผ่านมามีองค์กรชุมชนได้ร่วมกันจัดการขยะโดยการนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดตั้งธนาคาร ขยะขึ้นในชุมชน การรณรงค์ให้ชาวบ้านนำขยะมาแลกไข่ การทำธุรกิจชุมชนในรูปของโกดังขยะ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวไม่เพียงสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชาวชุมชนเท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับเมืองอีกด้วย

ธนาคารขยะรีไซเคิล คือ รูปแบบหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริม การคัดแยกขยะมูลฝอย โดยเริ่มต้นที่เยาวชนและชุมชนเป็นหลัก และใช้โรงเรียนเป็นสถานที่ดำเนินการ เพื่อให้เยาวชนและชุมชน เกิดความเข้าใจในการคัดแยกขยะมูลฝอย

หลักการของธนาคารขยะรีไซเคิล คือให้นักเรียนสมัครเป็นสมาชิกของธนาคารขยะฯ และนำขยะมาฝากที่ธนาคาร โดยมีเจ้าหน้าที่ของธนาคาร ทำการคัดแยกและชั่งน้ำหนักขยะและคำนวนเป็นเงิน แล้วบันทึกลงสมุดคู่ฝาก โดยใช้ราคาที่ทางโรงเรียน ประสานกับร้านรับซื้อของเก่า เป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคา รายได้ของกิจกรรมมาจากผลต่าง ของราคาที่คณะทำงานของโรงเรียนกำหนด กับราคาที่สามารถขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า ซึ่งต้องมีการหักรายจ่ายอื่นๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ ติดต่อ ประสานงาน ซึ่งรายได้สามารถใช้เป็นทุนหมุนเวียน และจัดตั้งเป็นกองทุน เพื่อใช้เป็นทุนการศึกษา

กิจกรรมดังกล่าวยังขยายไปสู่โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ในอันที่จะรณรงค์ให้เด็กๆ รักสิ่งแวดล้อมและเห็นคุณค่า ของวัตถุเหลือใช้และยังนำเงินที่ได้ไปตั้งเป็นกองทุนการศึกษาและจัดเป็นสวัสดิการให้กับเด็กและคนในชุมชนอีกด้วย

tanakarnkayafag

ธนาคารขยะรีไซเคิล คือ รูปแบบหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอย โดยเริ่มต้นที่ เยาวชนและชุมชนเป็นหลัก และใช้โรงเรียนเป็นสถานที่ดำเนินการ เพื่อให้เยาวชนและชุมชนเกิดความเข้าใจในการคัดแยกขยะมูลฝอย หลักการของธนาคารขยะ คือให้นักเรียนสมัครเป็นสมาชิกของธนาคารขยะ และนำขยะรีไซเคิลมาฝากที่ธนาคาร โดยมีเจ้าหน้าที่ธนาคาร ทำการคัดแยก ชั่งน้ำหนัก คำนวณเป็นจำนวนเงิน และบันทึกลงสมุดคู่ฝาก โดยใช้ราคาที่ทางโรงเรียนประสานกับร้านรับซื้อของเก่าเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคา รายได้ของกิจกรรมมาจากผลต่างของราคาที่คณะทำงานของโรงเรียนกำหนดกับราคาที่สามารถขายให้กับร้านรับซื้อของเก่ารับซื้อ ซึ่งต้องมีการหักค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ ติดต่อประสานงาน ซึ่งรายได้สามารถใช้เป็นทุนหมุนเวียนและจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อใช้ในการศึกษา

ผลดีที่เห็นได้ในระยะสั้นคือเยาวชนจะเกิดแนวคิดที่ดีต่อการจัดการขยะมูลฝอย และเข้าใจคุณค่าของสิ่งของ ต่างๆ ว่าวัสดุบางประเภท สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายครั้ง หรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ ฝึกนิสัยการออมทรัพย์ของเยาวชน อีกทั้งการทำธนาคารขยะรีไซเคิลยังสามารถนำเงินผลกำไรที่เกิดขึ้นมาใช้ในการส่งเสริมกิจกรรมด้านการศึกษาและอุปกรณ์การเรียนการสอน ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยลดลง ช่วยให้ลดงบประมาณในการกำจัดขยะตามไปด้วย ช่วยลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และช่วยชะลอหรือบรรเทาภาวะโลกร้อน

ทั้งนี้เพราะ การรีไซเคิลทำให้ไม่ต้องใช้พลังงานในการขุดเจาะนำวัตถุดิบที่เป็น ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ใน การผลิตใหม่ จากข้อมูลของ Grass Roots Recycling Network ปี ๒๐๐๐ กล่าวว่ากระบวนการผลิตสิ่งของด้วยกระบวนการรีไซเคิล หรือวัสดุรีไซเคิลนั้น ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นได้มากกว่ากระบวนการผลิตที่ใช้วัตถุดิบจากทรัพยากรใหม่บริสุทธิ์ที่ยังไม่ผ่านการใช้ได้ถึง ๔-๕ เท่า

tanakarnkayabanche

ช่วยกันแยก ช่วยกันลด หมดปัญหาขยะ

การแยกขยะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลดังต่อไปนี้

  • สามารถลดปริมาณขยะลงได้ เพราะเมื่อแยกวัสดุส่วนที่ยังมีประโยชน์ออกไป เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ ก็จะเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกำจัดหรือทำลายน้อยลง
  • สามารถประหยัดงบประมาณลงได้ เพราะในเมื่อเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกำจัดหรือทำลาย น้อยลงจึงใช้งบประมาณ น้อยลงในการเก็บขนและกำจัดหรือทำลายขยะ ปัจจุบัน กทม. ต้องเก็บขนและทำลายขยะวันละเกือบ ๙,๐๐๐ ตัน ต้องใช้งบประมาณถึงประมาณ ๒,๐๐๐ ล้านบาท/ต่อปี ในการจัดการเก็บขนและทำลายขยะ ใช้เจ้าหน้าที่กว่า ๑๐,๐๐๐ คน ใช้รถเก็บขนขยะกว่า ๒,๐๐๐ คัน ใช้เรือเก็บขนขยะหลายสิบลำ ใช้ถังขยะนับหมื่นใบ ต้องจ้างฝังกลบขยะในราคาตันละกว่า ๑๐๐ บาท และใช้เงินเป็นเงินเดือนเจ้าหน้าที่อีกมหาศาล ถ้าปริมาณขยะลดลง งบประมาณ ก็สามารถเหลือนำไปพัฒนางานด้านอื่นได้ เช่น ซ่อมแซมถนน สร้างสวนสาธารณะ และการรักษาพยาบาล
  • สามารถได้วัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่เรียกว่า Recycle เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ เช่น กระดาษ ๑ ตัน ได้มาจากการตัดต้นไม้ใหญ่ถึง ๑๗ ต้น เพื่อมาใช้ทำเยื่อกระดาษ
  • สามารถสงวนทรัพยากรธรรมชาติ และประหยัดพลังงาน จากข้อ ๓ จะได้ผล เป็นการสงวน ทรัพยากรธรรมชาติ และประหยัดพลังงาน เพราะนอกจากจะลดการใช้วัสดุที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังไม่ต้องใช้พลังงานในการขุดค้น เช่น ในการผลิตอุปกรณ์ที่เป็นพลาสติกนั้น แทนที่จะต้องใช้เม็ดพลาสติกใหม่ ซึ่งกว่าจะได้ต้องใช้พลังงานมากมาย ก็ใช้พลาสติกที่ผ่านการใช้แล้วนำมาหลอมใช้ใหม่
  • สามารถช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เพราะในเมื่อขยะน้อยลง สิ่งแวดล้อมก็จะต้องดีขึ้น สะอาดขึ้น ปลอดภัย ต่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งผลประโยชน์ที่กล่าวมาทั้ง ๕ ประการก็เป็นผลประโยชน์ของเราทุกคนร่วมกัน เราจะช่วยแยกขยะกันอย่างไรบ้าง

เพื่อให้ปัญหาขยะลดลง เราสามารถช่วยได้โดยตรงโดยร่วมมือกันในบ้านก่อนเป็นอันดับแรก แม้จะไม่มี ข้อบัญญัติเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวแต่การปฎิบัติของหลายประเทศที่ คำนึงถึงปัญหาขยะเป็นเรื่องสำคัญในสังคม ล้วนน่าสนใจและนำมาประยุกต์ใช้ในครัวเรือนได้ อย่างเช่น

  • ขยะในครัว สะเด็ดน้ำออกก่อนใส่ถุงโปร่งแสง
  • น้ำมันจากการทอดอาหาร ใช้กระดาษ หรือผ้าชุบให้ชุ่มทั้งหมดก่อนนำไปทิ้งในถุงขยะ เพราะถ้าทิ้งลง ท่อระบายน้ำอาจทำให้ท่อตัน จับตัวเป็นก้อน
  • ขยะพวกพลาสติกเช่นของเล่น วิดีโอเทป ทิ้งรวมกันในถุงเดียวกัน ไม่รวมกับขยะเปียกเพราะถือเป็น ขยะรีไซเคิล
  • ผ้าอ้อม ต้องนำของเสียทิ้งลงโถส้วมก่อน แล้วจึงห่อม้วนผ้าอ้อมให้เป็นขนาดเล็ก จึงนำไปทิ้งในถุงขยะ
  • กิ่งไม้ ตัดให้มีขนาดเล็กแล้วมัดรวมกันใส่ถุงขยะ
  • กระดาษ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร มัดรวมกันด้วยเชือกไม่ปนกับขยะเปียก เพราะถือเป็นขยะรีไซเคิล

สำหรับกรุงเทพมหานครแบ่งขยะออก เป็น ๓ ประเภท คือ

  • ขยะเศษอาหาร พืช ผัก ผลไม้ หรือที่แต่เดิม กทม. เรียกว่า ขยะเปียก
  • ขยะยังใช้ได้หรือเรียกว่าขยะรีไซเคิล หรือที่แต่เดิม กทม. เรียกว่า ขยะแห้ง ได้แก่ พวก แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก เศษผ้า
  • ขยะมีพิษ ขยะที่มีพิษภัยอันตราย กทม. ได้ตั้งถังสีเทาฝาสีส้มไว้สำหรับให้ประชาชนนำขยะที่มีพิษภัย อันตรายซึ่งเกิดจากบ้านเรือนมาทิ้ง โดยตั้งไว้ตามสถานีบริการน้ำมัน และสถานที่อื่นๆ ซึ่งขยะพวกนี้ ได้แก่ หลอดไฟ และหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เสียแล้ว แบตเตอรี่รถยนต์ และถ่านไฟฉายที่หมดอายุ กระป๋องยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืช ภาชนะใส่แลกเกอร์ และทินเนอร์ ภาชนะใส่น้ำมันเครื่อง และน้ำมันเบรก น้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ ยารักษาโรคที่เสื่อมคุณภาพ ฯลฯ รวมทั้งได้จัดให้มีวันทิ้งของเหลือใช้ เพื่อให้ประชาชนนำขยะประเภทนี้มาทิ้ง จากนั้นก็จะจ้างบริษัทเอกชนนำไปทำลายอย่างถูกหลักวิชาการต่อไป

การแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ก็เท่ากับเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยลดความร้อนแรงของสภาวะโลกร้อน และแม้จะเป็น รูปธรรมมากขึ้น โดยสามารถหวังผลได้ในระยะยาว แต่มนุษย์ อย่างเราๆ ก็ควรจะมีจิตสำนึกและช่วยกัน ปลูกฝังการทิ้งให้ถูกที่ถูกทางเสียตั้งแต่วันนี้ รู้จักคัดแยกขยะมีพิษ ขยะแห้ง ขยะเปียก รวมทั้งพยายามลดการเพิ่มปริมาณขยะโดยไม่จำเป็น เพื่อให้เมืองที่เราและลูกหลานของเราต้องดำเนินชีวิตต่อไปน่าอยู่ยิ่งขึ้น

โครงการธนาคารขยะในชุมชน
ธนาคารขยะ คือโครงการที่จัดตั้งขึ้น เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนคัดแยกขยะมูลฝอย สร้างกลไกการเรียนคืนขยะมูลฝอย และเป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่จะต้องนำไปฝังกลบอีกด้วย

ขั้นตอนการดำเนินงานธนาคารขยะ
ขั้นตอนการตั้งคณะทำงาน
คณะทำงาน หน้าที่ของคณะทำงาน

  • ผู้จัดการธนาคาร รับผิดชอบดำเนินงาน ในภาพรวมของธนาคาร
  • เจ้าหน้าที่จดบันทึก รับผิดชอบการจดบันทึกรายละเอียด เกี่ยวกับสมาชิก ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล เลขที่ ประเภท และปริมาณวัสดุรีไซเคิล เพื่อส่งต่อให้เจ้าหน้าที่
  • เจ้าหน้าที่คัดแยก รับผิดชอบการคัดแยกขยะ และชั่งน้ำหนัก เพื่อจัดเก็บในสถานที่เก็บ
  • เจ้าหน้าที่คิดเงิน รับผิดชอบการเทียบกับราคาที่กำหนด และคิดจำนวนเงินของสินค้า ที่สมาชิกนำมาฝาก พร้อมทั้งรับผิดชอบการฝาก – ถอนเงินของสมาชิก

การเปิดธนาคารขยะรีไซเคิล
รับสมัครสมาชิกของธนาคาร โดยให้ผู้ที่สนใจกรอกรายละเอียดใบสมัคร

  • เจ้าหน้าที่ธนาคารให้เลขที่สมาชิก พร้อมสมุดคู่ฝาก โดยธนาคารจะเป็นผู้เก็บรวบรวมสมุดคู่ฝากไว้ สมาชิกสามารถขอดูได้ในวันที่ธนาคารเปิดทำการ
  • เจ้าหน้าที่ธนาคารลงรายละเอียด สมาชิกในทะเบียนลูกค้า
  • เมื่อสมาชิกนำขยะรีไซเคิลมาฝาก ที่ธนาคาร เจ้าหน้าที่จะทำการคัดแยกประเภทและช่างน้ำหนัก
  • คิดเป็นจำนวนเงิน โดยเทียบกับใบราคาที่ได้มาจากร้านรับซื้อของเก่า ลงบันทึกในใบนำฝาก
  • เจ้าหน้าที่บันทึกรายละเอียด เลขที่สมาชิก ประเภทขยะรีไซเคิล จำนวนเงิน ลงในเอกสารใบสรุปการนำฝาก
  • บันทึกลงในสมุดคู่ฝาก เพื่อเก็บเป็นหลักฐานการฝากถอนของสมาชิก
  • ถ้าสมาชิกต้องการถอนเงิน ให้เขียนรายละเอียด ใบถอนเงินแล้วให้กับเจ้าหน้าที่
  • ภายหลังเปิดธนาคารเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ต้องทำการรวบรวมรายรับ รายจ่าย และทะเบียนคุมเจ้าหนี้ของธนาคารในแต่ละวัน เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ การลงค่าใช้จ่าย การซื้อ ขายขยะรีไซเคิล ลงในสมุดเงินสด เพื่อสามารถตรวจสอบการขาดทุน กำไร
  • ควรมีการสรุปการดำเนินงาน ในแต่ละเดือน และแจ้งแก่สมาชิกของธนาคาร โดยการจัดบอร์ดนิทรรศการ บริเวณที่ทำการ

ขั้นตอนการฝากขยะรีไซเคิลกับธนาคาร
ผู้ที่ต้องการนำขยะรีไซเคิลมาฝากกับธนาคาร จะต้องเปิดบัญชีกับธนาคารขยะเสียก่อน ซึ่งวิธีการเปิดบัญชีก็เหมือนกับธนาคารทั่วไป และจะได้รับบัญชีสะสมแต้มธนาคารขยะ หลังจากเปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว สมาชิกสามารถนำขยะมาฝากเป็นคะแนนได้ และรวมคะแนนไว้ ในสมุดบัญชีธนาคาร

tanakarnkayacoup

ขั้นตอนการถอน
วิธีการถอนของธนาคารขยะสามารถถอนได้ 3 วิธี ได้แก่

  • ถอนเป็นของรางวัล – คือการสะสมแต้มให้เพียงพอกับของรางวัลที่มีอยู่ในธนาคาร
  • ถอนเป็นเงิน – คือ การนำบิลเงินสดที่ซื้อสินค้าอะไรก็ได้ มาเปลี่ยนจากแต้มที่ท่านมี เป็นเงินสดได้เลย
  • ถอนเป็นของรางวัลที่ต้องการ – คือ การนำโบชัวร์สินค้าที่ต้องการ มาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ จากนั้น เจ้าหน้าที่จะซื้อสินค้ามาให้ท่าน

tanakarnkayalak

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ภูมิปัญญา

แสดงความคิดเห็น