อ.ธีระ วงศ์เจริญ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ริเริ่มก่อตั้งศูนย์กสิกรรมโป่งแรด ภายใต้พื้นที่ราว 5 ไร่ ที่แม้จะมีพื้นที่เพียง 5 ไร่ในการทำสวนผลไม้และตลอดเวลามีรายได้ค่อนข้างสูงจากการปลูกทุเรียน มังคุด และลองกอง โดยการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้สักพัก อ.ธีระ ก็เริ่มตระหนักถึงผลเสียจากการใช้สารเคมีเป็นเวลานาน เมื่อดินในสวนเริ่มมีปัญหา และต้นทุเรียนก็ทยอยยืนต้นตายไปเกือบหมด
มีปัญหาค่อนข้างมาก เพราะนอกจากต้นทุนจะสูงแล้ว ที่สำคัญคือผลเสียที่เกิดขึ้นกับดินที่ใช้สารเคมี เมื่อดินเริ่มมีปัญหา ผลไม้ที่ปลูกก็เริ่มที่จะมีปัญหาตามไปด้วย การเจริญเติบโตช้าลง ผลผลิตที่เคยให้ผลดก ก็เริ่มที่จะติดบ้าง ไม่ติดบ้าง ส่งให้รายได้ที่ค่อนข้างดีในช่วง 2-3 ปีแรก ก็เริ่มลดน้อยลง จนในที่สุดเริ่มเข้าสู่ภาวะการขาดทุน
หนึ่งในคนซึ่งเข้าร่วมขบวนการคืนชีวิตให้แผ่นดิน โดยยอมเหนื่อยยาก ทุ่มเทสร้าง คน ในฐานะประธานเครือข่ายมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ อ. ธีระ วงศ์เจริญ ผู้ซึ่งเดินเข้าร่วมขบวนการเพราะศรัทธาในแนวทางพระราชดำรัส ตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นหัวหน้างานวิชาการเกษตร โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี
ทว่า อ.ธีระบอกว่า หลังจากได้ไปศึกษาเรียนรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์จาก อ.วิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตข้าราชการผู้ทำงานเดินตามรอยเท้าพ่อในโครงการพระราชดำริมานานกว่า 16 ปี ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ จ.ชลบุรี ทำให้ตัวเขาเองหันมาสนใจและเริ่มต้นทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจังในปี 2542 โดยปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตในพื้นที่ทั้งหมดเป็นระบบเกษตรอินทรีย์ โดยงดใช้สารเคมีอย่างสิ้นเชิง และหันมาใช้วิธีธรรมชาติในระบบการผลิตแทน เช่น การใช้ปุ๋ยคอกจากการเลี้ยงหมูหลุม การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และน้ำหมักชีวภาพ ที่ทำจากเศษอาหารและเศษพืช การใช้พืชสมุนไพรเป็นสารไล่แมลง รวมไปถึงการใช้พลังงานทดแทนอย่างไบโอดีเซล และไบโอแก๊ส
ก็พยายามเรียนรู้ระบบการผลิตสู่การเป็นเกษตรอินทรีย์ ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ กว่าจะเข้าที่เข้าทางต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะต้องค่อยเป็นค่อยไป
อ.ธีระ บอกถึงความพยายามตลอดระยะเวลาของการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตสู่เกษตรอินทรีย์ที่แม้จะต้องใช้เวลาถึง 6 ปี จึงประสบความสำเร็จ แต่ผลที่ได้รับก็คุ้มค่า เพราะดินในสวนกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ต้นมังคุด ลองกองที่ปลูกก็งอกงามดี ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ แม้ปริมาณผลผลิตจะไม่มากเท่าการใช้สารเคมี แต่ต้นทุนการผลิตที่ลดลงมากก็ทำให้สวนมีรายได้เพิ่มขึ้น
ที่สำคัญความสำเร็จนี้ อ.ธระ บอกว่า จึงเป็นที่มาของการ ก่อตั้งเป็นศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จ.จันทบุรี ซึ่งต่อมาได้เป็นตัวอย่างความสำเร็จ และได้เผยแพร่ความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ และระบบเกษตรพอเพียงให้กับเกษตรกรอื่นๆ ได้เข้ามาเรียนรู้
หนึ่งในเกษตรกรที่เคยผ่านการอบรม และทำเกษตรอินทรีย์ในปัจจุบัน เธอคือ กัลยา สำอางค์ ผู้ประสานงานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด กล่าวว่า ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรดเป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ และเกษตรพอเพียงที่มีเกษตรกรจากทั่วประเทศมาดูงาน และฝึกอบรม โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้โครงการศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ในการจัดฝึกอบรมเกษตรกรและผู้สนใจ เพื่อให้เกิดการพึ่งตนเองและดำเนินการผลิตทางการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักสูตรที่ฝึกอบรมทั้งเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ การเลี้ยงหมูหลุม การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำสารไล่แมลงจากพืชสมุนไพร การทำพลังงานทดแทน การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย การทำผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อใช้ในครัวเรือน อาทิ แชมพู สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์เรื่องการงดเหล้าให้คนในพื้นที่ด้วย ที่สวนของกัลยาเองก็ทำเกษตรอินทรีย์
เธอเล่าว่า ก่อนหน้านี้สวนมังคุดและลองกอง 36 ไร่ของเธอ ผลิตโดยใช้สารเคมีมาโดยตลอด และมีต้นทุนการผลิตสูงปีละหลายแสนบาท ปัญหาที่เธอพบนอกจากต้นทุนการผลิตสูงก็คือ การตกค้างของสารเคมี ซึ่งเมื่อเธอได้ไปอบรมเรื่องเกษตรอินทรีย์เธอจึงหันมาปรับวิธีการทำเกษตรใหม่โดยเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด และผลที่ได้รับก็คือต้นทุนการผลิตที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากที่ต้องจ่ายค่าปุ๋ยและสารเคมีปีละหลายแสน ต้นทุนลดลงเหลือเพียงหลักหมื่นเท่านั้น แม้ราคาผลผลิตจะเท่าเดิม และปริมาณผลผลิตอาจลดลงเล็กน้อย แต่เธอก็มีรายได้มากขึ้นเพราะต้นทุนการผลิตที่ลดลง
เกษตรอินทรีย์และการทำเกษตรแบบพอเพียง พึ่งตนเอง สามารถช่วยเกษตรกรได้จริง แต่เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนความคิด ต้องมาเรียนรู้ให้เข้าใจ และลงมือทำจริงๆ การจะทำเกษตรอินทรีย์ต้องปรับเปลี่ยน 100 เปอร์เซ็นต์ จะทำแบบครึ่งๆ ไม่ได้ บางคนอาจมองว่าไม่มีเงินลงทุน แต่เรากำลังเดินตามรอยเท้าพ่อ เราเชื่อที่ท่านบอกว่าการขาดแคลนไม่ใช่ปัญหา ถ้ามีปัญญาและความอดทน ซึ่งเกษตรกรจำนวนไม่น้อยก็สามารถปรับเปลี่ยนและทำเกษตรอินทรีย์ได้สำเร็จ ฐานะความเป็นอยู่ก็ดีขึ้นจริงๆ
แม้จะมีพื้นที่เพียง 5 ไร่ และมีรายได้ค่อนข้างสูงจากการปลูกทุเรียน มังคุด และลองกองโดยการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเวลาผ่านไปอ.ธีระ วงษ์เจริญ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ริเริ่มก่อตั้งศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จังหวัดจันทบุรี ก็เริ่มตระหนักถึงผลเสียจากการใช้สารเคมีเป็นเวลานาน เมื่อดินในสวนเริ่มมีปัญหา และต้นทุเรียนก็ทยอยยืนต้นตายไปเกือบหมด แต่หลังจากได้ไปศึกษาเรียนรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์จาก อ.วิวัฒน์ ศัลยกำธรอดีตข้าราชการผู้ทำงานเดินตามรอยเท้าพ่อในโครงการพระราชดำริมานานกว่า 16 ปี ทำ ให้อ.ธีระ วงษ์เจริญ หันมาสนใจ และเริ่มต้นทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจังในปี 2542 โดยปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตในพื้นที่ทั้งหมดเป็นระบบเกษตรอินทรีย์ โดยงดใช้สารเคมีอย่างสิ้นเชิง และหันมาใช้วิธีธรรมชาติในระบบการผลิตแทน เช่น การใช้ปุ๋ยคอกจากการเลี้ยงหมูหลุมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ ที่ทำจากเศษอาหารและเศษพืช การใช้พืชสมุนไพรเป็นสารไล่แมลง รวมไปถึงการใช้พลังงานทดแทนอย่างไบโอดีเซลและไบโอแก๊ส ซึ่ง ตลอดระยะเวลาของการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตสู่เกษตรอินทรีย์ที่แม้จะต้องใช้ เวลาถึง 6 ปีจึงประสบความสำเร็จ แต่ผลที่ได้รับก็คุ้มค่า เพราะดินในสวนกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ต้นมังคุด ลองกองที่ปลูกก็งอกงามดี ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ แม้ปริมาณผลผลิตจะไม่มากเท่าการใช้สารเคมีแต่ต้นทุนการผลิตที่ลดลงมากก็ทำ ให้สวนมีรายได้เพิ่มขึ้น และความสำเร็จนี้ก็เป็นที่มาของการก่อตั้งเป็นศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จังหวัดจันทบุรี เพื่อเป็นตัวอย่างความสำเร็จและเผยแพร่ความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ และระบบเกษตรพอเพียงให้กับเกษตรกรอื่นๆ
เป็นอีกหนึ่งคำยืนยันจากเกษตรกรตัวจริงเสียงจริง เกษตรกรอื่นๆ ที่สนใจอยากเรียนรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ และแนวทางการทำการเกษตรแบบพอเพียง สามารถไปดูงาน และศึกษาเรียนรู้ได้ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด อ.เมือง จ.จันทบุรี โทรศัพท์ 0-3943-9496 หรือ 08-5019-8692 และกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร. 0-2629-8972, 0-2281-3958
ป้ายคำ : ปราชญ์, เกษตรอินทรีย์