ธูปฤาษี วัชพืชบำบัดน้ำเสีย

26 พฤศจิกายน 2557 ไม้น้ำ 0

ธูปฤาษีวัชพืชล้มลุก อายุประมาณ 2 ปี สูงประมาณ 1.5 – 2 ม. เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ มีคุณสมบัติดูดซับคราบน้ำมันบนน้ำได้ดีกว่ากาบมะพร้าวกักน้ำมัน กับฟางข้าวกักน้ำมันเคลือบสารนาโน ดอกธูปฤาษี สามารถดูดซับน้ำมันได้ดีกว่าวัสดุอื่นๆ หลายเท่า หากเทียบกับน้ำหนักของตัวเอง ต้นธูปฤาษี เป็นวัชพืชที่หาง่ายพบเจอได้ทั่วไปทุกพื้นที่ในประเทศไทย

ชื่อสามัญ : Cat-tail, Elephant grass, Lesser reedmace, Narrow-leaved Cat-tail
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Typha angustifolia L.
วงศ์ : Typhaceae
ชื่ออื่นๆ : กกช้าง กกธูป เฟื้อ ปรือ หญ้าสลาบหลวง

ฤดูการออกดอก : ตลอดปี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ธูปฤาษีเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ตั้งตรง สูง 1.5-3 ม. ใบเป็นรูปแถบแบน กว้าง 1-2 ซม. ยาว 2 ม. ใบแตกสลับกันเป็นสองแถวด้านข้าง มีกาบใบ ช่อดอกเป็นสีน้ำตาล ช่อดอกรูปทรงกระบอก แยกเพศบนก้านเดียวกัน ก้านช่อดอกกลม แข็ง ช่วงดอกเพศผู้อยู่ที่ปลายช่อ ยาว 8-40 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีใบประดับ 1-3 ใบ แต่จะหลุดร่วงไป ช่วงดอกเพศเมียอยู่ด้านล่าง ยาว 5-30 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. มักแยกออกจากส่วนดอกเพศผู้ด้วยส่วนก้านช่อดอกที่เป็นหมันที่ยาว 2.5-7 ซม. ดอกมีขนาดเล็ก ไม่มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ส่วนมากมี 3 อัน มีขนล้อมรอบ ก้านเกสรเพศผู้สั้น อับเรณูยาว 1.5-2 มม. ดอกเพศเมียมีใบประดับย่อยรูปเส้นด้าย รังไข่รูปกระสวย ก้านรังไข่เรียว ยาวประมาณ 5 มม. มีขนยาวสีขาว ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-1.5 มม. มีขนแต่สั้นกว่าบนก้านรังไข่ ยอดเกสรรูปใบหอก ผลมีขนาดเล็ก รูปรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3 ซม.

toobrurseebo toobrurseedok toobrurseekae

การขยายพันธุ์
โดยการที่เมล็ดปลิวไปตามลม เมล็ดมีขนอ่อนนุ่ม มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น สำหรับประเทศไทยพบในทุกภูมิภาค ขึ้นตามพื้นที่ชุ่มน้ำ พบได้ทั่วไป

ประโยชน์

  • ยอดอ่อนสามารถนำมารับประทานได้ทั้งแบบสด และปรุงสุก
  • ใบยาวและเหนียว ใช้มุงหลังคา หรือทำเครื่องจักสาน เช่น ตะกร้า เสื่อ กระเป๋า
  • ใบและช่อดอกนำมาเป็นไม้ประดับ
  • ธูปฤๅษีสามารถนำมาใช้เป็นพืชคลุมดิน เพื่อลดการพังทลายของหน้าดิน เนื่องจากมีระบบรากที่ดี
  • ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากชุมชนหรือโรงงาน มีงานวิจัยศึกษาศักยภาพในการบำบัดน้ำเสียของธูปฤๅษี พบว่าธูปฤๅษีใบกว้างมีศักยภาพในการบำบัดน้ำเสียดีกว่าธูปฤๅษีใบแคบ และฤดูกาลมีผลต่อศักยภาพในการบำบัดน้ำเสียของธูปฤๅษี โดยจะมีศักยภาพสูงสุดในฤดูร้อน

ไม้ล้มลุกสองปี เหง้ากลม แทงหน่อขึ้นเป็นระยะสั้นๆ ใบเดี่ยวเรียงสลับระนาบเดียว รูปแถบ ยาวประมาณ 2 ม.
แผ่นใบด้านบนโค้งเล็กน้อย ส่วนด้านล่างแบน ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ดอกมีจำนวนมาก ติดกันแน่น สีน้ำตาล ลักษณะคล้ายธูปดอกใหญ่ ก้านช่อดอกกลม แข็ง ดอกแยกเพศ แบ่งเป็นตอนเห็นได้ชัด กลุ่มดอกเพศผู้อยู่ปลายก้าน รูปทรงกระบอก กลุ่มดอกเพศเมียรูปทรงกระบอกเช่นกันแต่ใหญ่กว่ากลุ่มดอกเพศผู้ ดอกแก่จะแตกเห็นเป็นขนขาวฟู ผลเล็กมากเมื่อแก่แตกตามยาว ใบยาวและเหนียวนิยมใช้ทำเครื่องจักสาน เช่น เสื่อ ตะกร้า ใช้มุงหลังคา และทำเชือก ดอกแก่จัดมีขนปุยนุ่ม มือลักษณะคล้ายปุยนุ่นจึงนิยมใช้แทนนุ่นยอดอ่อนกินได้ทั้งสดและทำให้สุก ช่อดอกปิ้งกินได้ แป้งที่ได้จากลำต้น ใต้ดินและรากใช้บริโภคได้เช่นกัน ในอินเดียเคยใช้ก้านช่อดอกทำปากกา และเชื่อว่าลำต้นใต้ดินและรากใช้เป็นยาบำบัดโรคบางชนิด เช่น ขับปัสสาวะ เยื่อ (pulp) ของต้นกกช้างนำมาใช้ทำใยเทียม (rayon) และกระดาษได้มีเส้นใย (fibre) ถึงร้อยละ 40 เส้นใยนี้มีความชื้นร้อยละ 8.9 เซลลูโลส (cellulose) ร้อยละ63 เฮมิเซลลูโลส(hemicellulose) ร้อยละ 8.7 ลิกนิน (lignin) ร้อยละ 9.6 ไข (wax) ร้อยละ1.4 และเถ้า (ash) ร้อยละ 2 เส้นใย มีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อนนำมาทอเป็นผ้าใช้แทนฝ้ายหรือขนสัตว์

toobrurseed

แม้ว่าธูปฤาษีจะก่อให้เกิดโทษอย่างมากมายมหาศาล แต่ก็ยังมีประโยชน์อยู่บ้างซึ่งหลายๆ คนอาจมองข้ามไป

  • ธูปฤาษีช่วยป้องกันการพังทลายของดิน เนื่องจากธูปฤาษีมีระบบรากที่ดี
  • ธูปฤาษีอาจช่วยทำให้วัฏจักรของแร่ธาตุอาหารในดินสมบูรณ์ขึ้นซึ่งเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าในองค์ประกอบของส่วนต่างๆ ของธูปฤาษีจะมีแร่ธาตุอาหารชนิดต่างๆ ที่เกิดจากการดูดซึมเข้าไปเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต และเมื่อธูปฤาษีตายลง หรืออาจแก่ตาย หรือเกิดจากการกำจัดก็ตาม ก็จะมีการย่อยสลาย (decomposition) จะทำให้แร่ธาตุอาหารกลับสู่ดิน ทำให้สามารถเพาะปลูกได้
  • ซากของธูปฤาษี สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุคลุมผิวดิน (mulching) เพื่อลดการสูญเสียความชื้นออกจากผิวดิน หรือลดการปะทะของน้ำฝนที่ตกลงมาก วิธีเป็นการปฏิบัติในแปลงปลูกพืชยืนต้น พวกไม้ผลชนิดต่างๆ
  • ธูปฤาษีที่ขึ้นตามธรรมชาติ อาจนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้
  • ธูปฤาษีช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน องค์ประกอบของธูปฤาษีนอกจากจะมีแร่ธาตุอาหารหลายชนิดแล้ว องค์ประกอบอื่นๆ สามารถให้ประโยชน์แก่ดินในแง่ของอินทรียวัตถุ (organic matter) ได้ การไถกลบเศษซากธูปฤาษี หรือการที่วัชพืชถูกกำจัดโดยเกษตรกรในช่วงแรกของการแก่งแย่งแข่งขันในพืชปลูก ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่พืชปลูกโดยตรง ประโยชน์ของธูปฤาษีในแง่ของการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินนี้ก็เป็นกระบวนการเหมือนกับการทำปุ๋ยพืชสด (green manure) โดยการไถกลบดิน

ประโยชน์ของธูปฤาษีนอกเหนือการเกษตร

  • ใช้ธูปฤาษีเป็นวัสดุเชื้อเพลิง
  • ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องใช้ต่าง เช่น นำมามุงหลังคาบ้าน ทำฝาบ้าน การสานชนิดต่างๆในทางหัตถกรรมพื้นบ้าน อุตสาหกรรมครัวเรือน
  • ใช้ทำเยื่อกระดาษดังที่ได้กล่าวมาในเว็ปนี้
  • ใช้เป็นปุ๋ยพืชสด หรือทำปุ๋ยหมักบำรุงดินได้
  • ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง

การขยายพันธุ์ :
เมล็ดมีขนอ่อนนุ่มปลิวไปตามลมได้ง่าย

toobrursees

ดอกธูปฤาษี มีคุณสมบัตินาโน ที่เส้นใยของดอกสามารถใช้ดูดซับคราบน้ำมันได้อย่างดีเยี่ยม โดย ดอกธูปฤาษีที่แกะออกจากก้าน แล้วขยี้ให้เป็นปุย ก่อนนำมาบรรจุในถุงผ้าตาข่ายขนาดเล็ก ซึ่งน้ำหนักดอกธูปฤาษี 100 กรัม สามารถซับเก็บน้ำมันได้มากกว่า 1 ลิตร (ดอกธูปฤาษี 1 ดอกมีน้ำหนักประมาณเกือบ 100 กรัม) และคุณสมบัติดอกธูปฤาษียังสามารถแยกน้ำมันออกจากน้ำ และซับออกจากผิวน้ำ โดยไม่มีน้ำปนมาด้วยระหว่างขั้นตอนจัดเก็บอีกด้วย ซึ่งน่าจะเป็นอีก 1 แนวทาง ที่อาจช่วยบรรเทาเหตุการณ์ท่อส่งน้ำมันรั่วในทะเล บริเวณท่าเรือมาบตาพุด จังหวัดระยองได้

toobrurseenam

ธูปฤาษีสามารถกำจัดไนโตรเจนจากน้ำเสียในที่ลุ่มต่อไร่ได้ถึง 400 กก. ต่อปี และสามารถดูดเก็บโพแทสเซียมต่อไร่ได้ถึง 690 กก. ต่อปี จึงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่จะมีบทบาทเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคต
ลำต้นใต้ดิน และราก ใช้เป็นยาบำบัดโรคบางชนิด เช่น ขับปัสสาวะ เยื่อ (pulp) ของต้นกกช้างนำมาใช้ทำใยเทียม (rayon) และกระดาษได้ มีเส้นใย (fiber) ถึงร้อยละ 40 เส้นใยนี้มีความชื้นร้อยละ 8.9 เซลลูโลส (cellulose) ร้อยละ 63 เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) ร้อยละ 8.7 ลิกนิน (lignin) ร้อยละ 9.6 ไข (wax) ร้อยละ 1.4 และเถ้า (ash) ร้อยละ 2 เส้นใยมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน นำมาทอเป็นผ้าใช้แทนฝ้ายหรือขนสัตว์

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้น้ำ

แสดงความคิดเห็น