นฤทธิ์ คำธิศรี ชาวอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร พ่อแม่มีอาชีพทำนา และเขาก็มีความใฝ่ฝันว่าจะเจริญรอยตามอาชีพของพ่อแม่ แต่เพราะความเหนื่อยยากลำบากที่พ่อแม่ประสบพบเจอ พ่อแม่จึงขายนาส่งเสียให้เขาได้รับการศึกษาสูงๆ และคัดค้านความคิดที่จะมาเป็นเกษตรกรของเขา เขาจึงคว้าปริญญาตรีจากคณะประมง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาให้พ่อแม่ได้ภูมิใจ พร้อมกับทำงานเป็นนักวิจัยในระบบราชการ แต่ทำได้เพียง 6 เดือนก็ต้องลาออก เพราะไม่ชินกับระบบราชการ เลยหันไปเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฟาร์มกุ้ง ในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง อีก 6 เดือนต่อมาก็ได้เป็นที่ผู้จัดการฟาร์มกุ้ง ที่ได้รับเงินเดือนบวกเบี้ยเลี้ยงราวๆ แสนกว่าบาท
พื้นดินลูกรัง 35 ไร่ เป็นห้องทำงานที่เขาเข้าๆ ออกๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา และทดลองปลูกต้นไม่นานาชนิดเพียงคนเดียว โดยปลูกแบบขุดหลุมปลูก และปลูกแบบธรรมดาให้เขาช่วยตัวเอง เริ่มจากการปลูกพืชระยะสั้นมาก ระยะสั้น ระยะยาว และระยะยาวมาก ไม่ว่าจะเป็น กล้วย ยางพารา ไม้สัก ไม้เต็ง เป็นต้น ส่วนวิธีการปลูกพืชคือปลูกพืชให้ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่น ปลูกต้นกล้วย ปลูกต้นยางพารา ปลูกพริก ปลูกฟัก ในหลุมเดียวกัน ให้ต้นกล้วยจะช่วยบังแดดให้กับพืชด้านล่างที่ยังเล็กอยู่ เมื่อพืชอายุสั้นให้ผลผลิตตายไปก่อน แล้วยางพาราก็โตขึ้นมาแทน โดยในสวนนี้ไม่มีการกำจัดวัชพืช เพราะปล่อยให้หญ้ามันช่วยรักษาความชื้นให้กับไม้ใหญ่ จะได้ไม่ต้องเปลืองน้ำ และไม่ต้องเปลืองแรงรดน้ำ
แผนการปลูกพืช แบ่งเป็น ระยะสั้นมาก ระยะสั้น ระยะยาว และระยะยาวมาก (ไม่เห็นมีปานกลางเน๊อะ) พืชพวกระยะสั้นๆไปจนถึงปานกลาง ก็เป็นพวกพืชผัก อายุ 20-30 วัน ไปจนถึงพืชผลอายุเกือบปี เช่น กล้วย พวกระยะยาว ก็พวกต้นไม้ อย่างยางพารา และระยะยาวมากก็พวกต้นไม้ป่า ไม้สัก ไม้เต็ง อายุก็ 50 ปี ขึ้นไป พี่นฤทธิ์บอกว่า คงไม่ได้อยู่ใช้ (ผมก็ว่างั้นแหละ) แต่ลองเปิดความคิด เปิดใจให้กว้างสิ มันยังมีอะไรที่มีความหมาย และมีค่ากว่าชีวิตคนเรา
วิธีการปลูกพืช เท่าที่ดูแล้ว เป็นไปในแนวเกษตรธรรมชาติ ซึ่งอยู่บนรากฐานแห่งความยั่งยืน กล่าวคือ ปลูกพืชให้ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่น ปลูกต้นกล้วย ปลูกต้นยางพารา ปลูกพริก ปลูกฟัก ในหลุมเดียวกัน ให้ต้นกล้วยจะช่วยบังแดดให้กับพืชด้านล่าง ที่ยังเล็กอยู่ เมื่อพืชอายุสั้นให้ผลผลิตตายไปก่อน แล้วยางพาราก็โต ขึ้นมาแทน
“พืชที่นี่คนช่วยเหลือมันเพียง 20% อีก 80% ที่เหลือปล่อยให้มันหากินเอง ถ้าอยู่ไม่ได้ตายไปก็ปลูกใหม่ ที่นี่ไม่มีการจ้างคนงาน ใช้แต่แรงตัวเอง ปุ๋ยที่ใช้ก็ให้แต่ปุ๋ยคอก และให้แบบสดๆ เลย ไม่มีการเอาไปตากให้แห้งก่อน ประมาณว่ารับไม่ได้ก็ช่าง ตายซะ ปลูกใหม่ก็ได้” นฤทธิ์ เล่าถึงวิธีการปลูกพืช
นอกจากนี้ นฤทธิ์ ยังมีแนวคิด คือ ทำเกษตรจะไม่จน หากรู้จักวางแผน และการเกิดเป็นคนจะต้องมีความขยัน อดกลั้น อดทน เพื่อที่จะรอผลผลิต มีความซื่อสัตย์ และจงตระหนักไว้เลยว่างานหนักไม่เคยฆ่าคน และเกิดเป็นคนต้องรู้จักคิด รู้วางแผน เพราะการคิดการวางแผนจะนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคตข้างหน้า
และด้วยความคิดนอกกรอบ บวกกับเป็นคนขยัน จึงทำให้ นฤทธิ์ สามารถทำให้พื้นที่โล่งเตียนเป็นสวน เป็นป่าทึบที่ให้ผลผลิต และอากาศที่แสนบริสุทธิ์ เลี้ยงสัตว์หลายชนิด ได้แก่ วัวขุน วัวฝูง เป็ด ไก่ แพะ แกะ มีบ่อเลี้ยงปลา จำนวน 3 บ่อ และถ้ามีเวลาว่างเขาจะไปเป็นวิทยากรให้ความรู้กับชาวบ้านและนักเรียน นักศึกษา พร้อมทั้งประกาศว่า “เขาคือเกษตรกรผู้ไม่จน…และมีความสุขที่สุดคนหนึ่ง”
เรียกได้ว่า “นฤทธิ์ คำธิศรี” ประสบความสำเร็จในชีวิตแบบที่เขาต้องการ คือไม่ต้องรวยเงินทอง เพราะการมีเงินมากๆ ไม่ได้หมายว่าจะทำให้เรามีความสุข ความสุขแท้จริงของชีวิตก็ คือ ความมีอิสระในด้านความคิดและการกระทำ และทำงานอย่างมีความสุข โดยมีคติประจำใจว่า เพิ่มผลผลิตแบบคนไต้หวัน ขยันแบบคนเกาหลี สู้ไม่หนีแบบคนอิสราเอล หนักแน่นในใจแบบญี่ปุ่น ทดแทนแผ่นดินเหมือนคนไทย
ป้ายคำ : ปราชญ์, ห่มดิน, เกษตรประณีต