การนวดตอกเส้น เป็นวิถีทางและภูมิปัญญาในการดูแลรักษาสุขภาพของชุมชนในแถบภาคเหนือที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน และเป็นอีกองค์ความรู้ภูมิปัญญาหนึ่งที่เป็นอัตลักษณ์ ในระบบการแพทย์พื้นบ้านล้านนา
การนวดตอกเส้น เป็นวิธีบำบัดรักษาอาการทางกายอีกวิธีหนึ่งของระบบการแพทย์พื้นบ้านล้านนา ที่ได้พัฒนามาจากการเช็ด เป่า แหก เพื่อผ่อนคลายอาการปวดเมื่อย รวมทั้งรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นต่างๆ
การนวดตอกเส้น เป็นการรักษาที่คลายเส้นได้เร็วกว่าการนวดไทยเพราะมุ่งเน้นการกระตุ้นจุดหรือเส้นที่สำคัญในร่างกายของคนซึ่งหมอนวดบางคนจะใช้การตอกเส้นควบคู่กับการนวด
ผู้ทำการตอกเส้น จะต้องมีความชำนาญและฝึกฝนจนแตกฉานจึงจะสามารถทำการตอกได้ดี ผู้เป็นหมอนวดตอกเส้น จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์สำหรับการนวดตอกเส้น
การนวดตอกเส้น จะทำให้เส้นที่อยู่ลึกลงไปดีดขึ้นมา จะสามารถทำให้การรักษาเส้นเอ็นต่างๆได้ง่ายขึ้น การนวดตอกเส้น เป็นการกระตุกเส้นที่อยู่ลึกให้สะดุ้งขึ้นมาและกระตุ้นกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นให้เลือดสูบฉีดได้มากขึ้น
ความรู้สึกของผู้ถูกตอกเส้น จะเหมือนกับการมีกระแสไฟฟ้าวิ่งอยู่ภายในเส้นตามร่างกายเริ่มแรกจะมีอาการปวดประมาณ 15 20 นาที จึงหายและหลังจากนั้นความรู้สึกเหมือนมีกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านจึงหมดไป
ผู้เป็นหมอตอกเส้น
จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเส้นต่างๆโดยเฉพาะเส้นสิบ การตอกเส้นเป็นการรักษาที่คลายเส้นได้เร็วกว่านวด เพราะมุ่งเน้นการกระตุ้นจุดหรือเส้นที่สำคัญในร่างกายของคน หมอบางคนใช้การตอกเส้นร่วมกับการนวด การตอกเส้นจะตอกเส้นที่มีอาการตึงมากๆจนเส้นคลายจึงนวดการเจ็บป่วยจะหายเร็วขึ้น ก่อนทำการตอกเส้นต้องทำพิธีไหว้ครูอาจารย์ด้วยคาถาชุมนุมเทวดาทำการเสกเป่าฆ้อนและลิ่ม(สลูปหัวฆ้อน) เพื่อประสิทธิผลในการรักษา ป้องกันมิให้กล้ามเนื้อและเส้นเลือดแตกให้ทาน้ำมันว่านสมุนไพร ก่อนทำการตอกเส้นต้องซักประวัติให้ผู้ป่วยเล่าอาการเจ็บตรงไหน เป็นนานเท่าใด หมอทำการวินิจฉัยมีภาพประกอบ และทำพิธีตั้งขันครู แล้วทำการตอกเส้น ความรู้สึกขณะถูกตอกเส้นเหมือนมีกระแสไฟฟ้าวิ่งอยู่ภายในเส้นตามร่างกาย จะมีอาการปวด 15-20 นาทีจึงหายหลังจากความรู้สึกเหมือนมีกระแสไฟฟ้าวิ่งหมดไป การตอกเส้นทำให้เส้นที่อยู่ลึกลงไปดีดขึ้นมาทำให้ทำการรักษาเส้นได้ง่าย การตอกเส้นเป็นการกระตุกเส้นที่อยู่ลึกให้สะดุ้งขึ้นมาและกระตุ้นกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ให้เลือดสูบฉีดมากขึ้น จากนั้นใช้น้ำมันสมุนไพรหรือลูกประคบในการรักษา เพื่อให้ยาซึมเข้าได้ดี
เส้นเอ็นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
เส้นเอ็นทั้ง 2 เส้น มีความสัมพันธ์กัน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซีกซ้ายและซีกขวา
ประโยชน์ของการตอกเส้น: ปรับกล้ามเนื้อที่แข็งเกรงให้อ่อนนุ่ม และปรับสมดุลย์ของร่างกาย ทำให้เลือดลมเดินสะดวก ลดอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
โรคที่ตอกเส้นรักษาได้
โรคที่ห้ามตอกเส้น
เมื่อมีอาการเหล่านี้ การตอกเส้น จะทำให้อาการกำเริบ เพราะทำให้เลือดสูบฉีดมากขึ้น
การตรวจร่างกาย
อุปกรณ์ในการนวดตอกเส้น
วิธีการนวดตอกเส้น
ขั้นตอนการรักษาด้วยการนวดตอกเส้น
ข้อห้าม
ข้อห้าม สำหรับหมอตอกเส้น
ข้อห้าม สำหรับคนไข้ที่มารับการรักษา
คนไข้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของหมออย่างเคร่งครัด เช่น หมออาจแนะนำการรับประทานยาให้ตรงเวลาเพราะอาการของโรคจะได้หายเร็วขึ้น, หรือแนะนำบริหารร่างกายในท่าที่เหมาะสมโรคบางโรคคนไข้จะต้องงดของแสลงบางประเภท เช่น เครื่องในทุกชนิด, เนื้อสัตว์, ปลาดุก, หน่อไม้, อาหารทะเล, ของหมักดองและสุรา เป็นต้น เพราะเชื่อว่าหากทานเข้าไปแล้วจะทำให้โรคที่เป็นอยู่กำเริบขึ้นได้
รายละเอียด : http://sripai.com/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99/
ที่มา
งานบริหารงานวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ป้ายคำ : นวด, สุขภาพพึ่งตน